ไก่ชนไทย
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   พระเครื่อง     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

เว็บบอร์ด ซื้อ-ขายไก่ชน

      การผสมไก่ให้ได้ผล     การฟักไข่การปฏิบัติต่อแม่ไก่ขณะฟักไข่     ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่

         ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ
         อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้างและให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่ การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย

           3.1 วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้
           3.2 แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความอบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม
         3.3 หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10-50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกกแล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน
         3.4 ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน
         3.5 ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย

การเลี้ยงหรืออนุบาลลูกไก่
ปัญหาการเลี้ยงไก่ แล้วลูกไก่มักจะตายมากกว่าการรอด การเลี้ยงไก่ชนนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด การอนุบาลลูกไก่โดยเฉพราะหน้าฝน เป็นช่วงที่เลี้ยงลูกไก่ยากมากเพราะลูกไก่มักจะเป็นหวัด แล้วโรคอื่นๆจะแทรกประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนทำให้เชื้อโรคทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเชื้อ แบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่างๆ แพร่กระจายได้รวดเร็วที่สุด การเลี้ยงหรืออนุบาลลูกไก่มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1. ต้องให้ความอบอุ่นเพียงพอในกรณีที่เลี้ยงเอง ไม่ได้ให้แม่ของมันเลี้ยง โดยการกกไฟและอยู่ในสุ่มไม่ให้ถูกละอองฝน
2. หากให้แม่มันเลี้ยงต้องขังสุ่ม ไว้ในที่ไม่โดนฝน หากให้แม่มันเลี้ยงแล้วปล่อยให้แม่ของมันพาไป ตากลมตากฝน ก็มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย
3. ต้องมีการทำวัคซีน ให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด คือ
- ทำนิวคลาสเซิล เมื่อลูกไก่ได่ 3-7 วัน โดยการหยอดจมูก หรือตาของลูกไก่จำนวน 2-3 หยด เมื่อครบ 3 เดือนทำอีกครั้งหนึ่ง
- ทำวัคซีนหลอดลม เมื่อลูกไก่อายุได้ 7-15 วัน โดยการหยอดจมูกหรือตา จำนวน 2-3 หยด
- ทำวัคซีนหวัดหน้าบวม เมื่อลูกไก่อายุได้ 2 เดือน โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 0.5 ซีซี
- ทำวัคซีนอหิวาต์ เมื่อลูกไก่อายุได้ 3 เดือน โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 1.0 ซีซี
อนึ่งในการทำวัคซีนมีข้อปฏิบัติที่ควรระมัดระวัง เพราะบางทีการทำวัคซีนป้องกัน กลับกลายเป็นการเติมเชื้อให้ไก่ไปเลยก็ม่ คือ
- การทำวัคซีนทุกครั้ง โดยเฉพาะเชื้อเป็น ควรทำในที่ร่มอย่าทำในที่แดดจ้า เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อม
- การทำวัคซีนทุกครั้ง โดยเฉพาะเชื้อเป็น ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง หากเกินกำหนดวัคซีนจะเสื่อม
- อย่าเทวัคซีนที่เหลือลงพื้นดิน เพราะจะทำให้เชื้อนั้นเจริญเติบโตได้ในที่ชื้นแฉะ กลายเป็นเชื้อโรคแพร่ระบาดต่อไป
- วัคซีนต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เกิน 5-8 C มิฉะนั้นวัคซีนจะเสื่อม
- การทำวัคซีนต้องทำกับไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรง หากทำในไก่ที่ไม่สบายเช่นเป็นหวัด ถือเป็นข้อห้ามเพราะเท่ากับไปเพิ่มเชื้อโรคในไก่ ทำให้ไก่อ่อนแอ บางครั้งถึงตายได้
- การทำวัคซีน ไก่บางตัวจะแพ้ โดยเฉพาะไก่รุ่น, ไก่ใหญ่ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาตั้งแต่เล็กจะมีการแพ้ ดังนั้นควรให้กินยาพาราเซทตามอล สักครึ่งเม็ดหลังจากทำวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีนนิวคลาสเซิล ชนิดที่แทงปีกหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง รวมทั้งชนิดเชื้อตายด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com
 
เนื้อหาสาระ - วิชาการ
เริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
ไข้หวัดนกและบทความ
ตำนานไก่ชนกับพระนเรศวร
การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การเพาะพัฒนาพันธุ์ไก่ชน

ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่
ไก่ตัวเมียและแม่ไก่
การดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
การฟักไข่

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
อาหารที่ดีของไก่ชน
การเลี้ยงลูกไก่ชน
การดูแลลูกไก่ชน
การผสมไก่ให้ได้ผล
การเลี้ยงไก่ให้ได้ผล
เทคนิคการฝึกไก่ชน
วิธีเลี้ยงไก่สำหรับชน
ข้อควรทำในการเลี้ยงไก่ชน
โรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก - น.สพ.วีระชัย
ไข้หวัดนก-ในใจ
ทำไมต้องใช้วัคซีน
"แอ๊ด" โวยโดนปิดบ่อนไก่ชน
"แอ๊ด" บุกทำเนียบป้องไก่ชน
เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน
การดูลักษณะไก่ชน
สารพันทางเทคนิค
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่ามีดีอย่างไร
การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
การเลี้ยงไก่ออกชน
การเปรียบไก่
การดูบาดแผลและการแก้ไข
การดูแลไก่ชน หลังชนมา
ลักษณะไก่เก่งตอนเล็ก
เทคนิคเซียน
สีของไก่ชน
แม่ไม้เชิงไก่
เกล็ดและแข้ง
นิ้วงามตามตำรา
เกล็ดนั้นสำคัญไฉน
ลักษณะไก่ที่ใช้ไม่ได้
การดูการวางแข้ง
การดูแผลตี
ทีเด็ดลูกตี
เลือกซื้อไก่หนุ่ม(มือใหม่)
เลี้ยงปล้ำให้เจ๋งเพื่อชนะ
เทคนิคการวางไก่
เทคนิคเซียนไก่
รู้เหลี่ยมกลโกง
ยอดมือน้ำ
เรื่องโรคและการป้องกัน
เรื่องของสมุนไพร
สารพันสาระน่ารู้
โรคระบาดไก่ชน
วัคซีนฝีมือคนไทย
ข้อปฏิบัตให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน
โรคของไก่กับการป้องกัน
หมอไก่
เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน
สมุนไพรและสรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าแตงกวาน้ำผึ้ง
รูปภาพสมุนไพร
การพัฒนาพันธุ์ไก่ชน
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่า
เรื่องของไก่แพ้
การดูแลไก่หลังชน
รู้เหลี่ยมกลโกง