ไก่ชนไทย
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   พระเครื่อง     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

เว็บบอร์ด ซื้อ-ขายไก่ชน


การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ สำหรับคนที่ไม่มีความชำนาญ ไม่เคยเลี้ยงไก่มาย่อมจะเป็นเรื่องหนักใจอยู่มิใช่น้อย แต่สำหรับผู้ที่เคยเลี้ยงมาแล้วจะไม่รู้สึกลำบากใจเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ดี ย่อมจะขึ้นกับหลักดังได้กล่าวข้างต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมีทุนด้วย มิฉะนั้นจะพบกับความลำบากหลายประการ เป็นต้นว่าโรงเรือน เงินสำหรับซื้อไก่ และอาหารไก่ การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ เริ่มได้หลายทาง คือ
1. ซื้อไก่มาฟักเอง หรือจ้างเขาฟัก
2. ซื้อลูกไก่คัดเพศแล้ว หรือลูกไก่คละเพศมาเลี้ยง ถ้าต้องการแม่ไก่ 10 ตัว จะต้องซื้อลูกไก่คละเพศมาเลี้ยงเป็นจำนวน 25 ตัว
3. ซื้อไก่รุ่นอายุประมาณ 8-10 อาทิตย์มาเลี้ยง
4. ซื้อแม่ไก่ไข่มาเลี้ยง การซื้อแม่ไก่มาเลี้ยงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ไม่ค่อยจะชำนาญในการเลี้ยงไก่ เพราะจะพบอุปสรรคน้อย ให้ผลเร็ว จะทำให้เกิดการเอาจริงเอาจังขึ้น
วิธีเลี้ยง
1. แบบเลี้ยงปล่อย เลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง เช่น ใต้ถุนบ้าน ลานบ้าน มักนิยมเลี้ยงตามชนบท โดยให้กินเศษอาหาร คุ้ยเขี่ยหากินเอง การเลี้ยงแบบนี้ส่วนมากถือเป็นงานอดิเรกเท่านั้น และมักจะมีอันตรายจากสัตรูและโรค ซึ่งอาจติดต่อโรคได้โดยง่าย
2. เลี้ยงแบบครึ่งปล่อยครึ่งกัก การเลี้ยงแบบนี้ คือเลี้ยง ในลาน แต่มีรั่ว มีเล้าให้อยู่อาศัย ให้ออกกำลังกายได้ การเลี้ยงแบบนี้จะต้องให้อาหารพอดี
3. เลี้ยงแบบขึ้นคอน ไม่มีลาน ไก่อยู่บนพื้นมีคอนให้นอน มีรางอาหาร รางน้ำอยู่ในเล้าเสร็จ อาหารจะต้องหามาให้ โดยให้กินอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การเลี้ยงแบบนี้ ควรจะให้น้ำมันตับปลาด้วย เพื่อให้ไก่แข็งแรง โตเร็ว
โรงเรือน
โรงเรือนโดยทั่วไป ควรมีลักษณะดังนี้
1. กันลม แดด ฝนได้ดี
2. อากาศ ระบายได้สะดวก เย็นสบาย ไม่อับ มีกันสาดกันฝน
3. ป้องกันศัตรูต่างๆได้ดี
4. รักษาความสะอาดง่าย ไม่เป็นที่น้ำขัง พื้นไม่แฉะ ไม่รกรุงรัง
5. ห่างจากที่ชุมนุมชน พอสมควร มีการขนส่งสะดวก อาหารหาง่าย
แบบของโรงเรือน
1. แบบเพิงหมาแหงน เป็นแบบประหยัดและสร้างง่ายที่สุด แต่ถ้าหันหน้าไปทางแนวของมรสุม ฝนจะสาดเข้ามา ควรหันทิศทางให้ดี
2. แบบหน้าจั่ว แบบนี้กันแดดและฝนได้ดี แต่สร้างยากกว่า ค่าวัสดุ และค่าแรงสูงกว่าแบบเพิงหมาแหงน
3. แบบจั่วสองชั้น เปลืองแรงงาน และสร้างยากกว่าแบบหน้าจั่วธรรมดา แต่อากาศถ่ายเทได้ง่าย
4. แบบจั่วกลาย แบบนี้จะดีกว่า เพราะระบายอากาศได้ดีกว่า กันฝนและค่าก่อสร้างถูกกว่า
พื้นคอก

พื้นคอกสำหรับไก่ จะเป็นพื้นดินธรรมดาหรือดินปนทรายก็ได้ ถ้าเป็นธรรมดา ทำความสะอาดยาก มักจะเปียกแฉะ แต่อากาศเย็นสบาย ควรโรยด้วยปูนขาวบ้าง ในอัตรากิโลกรัมละ 4-10 ตารางเมตร เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค สำหรับพื้นคอนกรีต ทำความสะอาดง่าย แต่เปลืองเงินมาก
โรงเรือนสำหรับไก่เล็ก
ควรสร้างให้ดีกว่าโรงเรือนไก่ใหญ่ เพราะลูกไก่ยังมีสุขภาพอ่อนแอ ต้องการความดูแลมาก ต้องการความอบอุ่น ป้องกันศัตรูมาทำร้าย ถ้าพื้นคอกเป็นซีเมนต์จะสะดวกและทำความสะอาดได้ง่าย รักษาความสะอาดให้แห้งอยู่เสมอ ฟากของโรงเรือนนั้นข้างล่างควรจะปิดทึบเพื่อป้องกันศัตรูและให้ความอบอุ่น ส่วนข้างบนควรโปร่งมีลวดตาข่าย หรือหน้าต่างบานเลื่อน ปิด-เปิดกันละอองฝนได้ ลูกไก่ควรเลี้ยงควรเลี้ยงอยู่ในโรงนี้ 1-2 เดือน จึงนำไปยังโรงเลี้ยงไก่รุ่นต่อไป
โรงเรือนเลี้ยงไก่รุ่น
คล้ายกับเลี้ยงไก่เล็ก แต่กว้างกว่า การระบายอากาศมากกว่า พื้นคอกจะเป็นดินหรือคอนกรีตก็ได้ ถ้าเป็นคอนกรีตจะสะดวกกว่า พื้นที่เฉลี่ยสำหรับไก่รุ่นอายุ 2-3 เดือน เฉลี่ยตารางเมตรละ 8-10 ตัว และไก่อายุ 3-5 เดือน ตารางเมตรละ 5-6 ตัว ในโรงไก่รุ่นควรมีภาชนะใส่น้ำและรางอาหารเพิ่มขึ้น ไม่มีเครื่องกก มีคอนให้นอนสูงจากพื้นประมาณ 40-60 เซนติเมตร ไม่ควรให้ถี่จนเกินไป จะทำให้ไก่เสียสุขภาพ
การรักษาคุณภาพอาหารไก่
1. เมื่อผสมอาหารให้ไก่ ไม่ควรผสมมากเกินไป เพราะจะเสื่อมคุณภาพถ้าเก็บไว้นานเกินไป ควรผสมให้กินหมดภายใน 3-5 วัน เมื่อหมดแล้วจึงค่อยผสมใหม่ จะได้อาหารที่มีคุณภาพตามที่เราต้องการอยู่เสมอ
2. อาหารที่ผสมไว้ ควรจะเก็บให้ดี สะอาดเรียบร้อย อย่าให้แดดส่องนานๆ หรือเก็บไว้ใกล้ความร้อน จะทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ หรือเก็บไว้ในที่อับเกินไป และชื้นแฉะไม่มีอะไรรองรับ อาหารก็จะเสียและเสื่อมคุณภาพได้
3. อาหารที่ซื้อมาจากร้านค้า ควรจะพิถีพิถันสักหน่อย ควรตรวจดูว่าอาหารเก่า ใหม่แค่ไหน ถ้าเห็นว่าเก่าเกินไป หรือกลิ่นผิดปกติ ไม่ควรซื้อไปให้ไก่กิน
ในเรื่องอาหารไก่นี้ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นตามสูตรหรืออาหารเสริม ถ้าให้ไม่ถูกต้องก็จะเป็นผลร้ายขึ้นได้ โดยเฉพาะคุณภาพของอาหาร ควรจะระวังให้หนัก ถ้าอาหารมีคุณภาพไก่กินเข้าไปก็จะเติบโตเร็ว คุ้มค่ากับเงินทองที่เสียไป แต่ถ้าให้อาหารที่มีคุณภาพต่ำ ผลร้ายจะเกิดขึ้นทันที
การฟักไข่
วิธีฟักไข่แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

1. ฟักด้วยใช้แม่ไก่กก
2. ฟักด้วยเครื่องฟัก โดยการซื้อเครื่องฟักมาฟัก มีทั้งเครื่องฟักที่ใช้ไฟฟ้า และเครื่องฟักที่ใช้ความร้อนจากแสงสว่างของตะเกียง
การฟักไข่ด้วยตนเอง
การฟักไข่ด้วยตนเอง โดยใช้ ตู้ฟัก เป็นประโยชน์สำหรับนักเลี้ยงไก่ เพราะจะได้เกิดความชำนาญในการฟัก ประหยัดเงินที่จะซื้อลูกไก่อื่นมาเลี้ยง ถ้าเราฟักเองก็จะได้ลูกไก่เลี้ยงจากพันธุ์ที่ดีและแน่นอน
วิธีเลือกไข่สำหรับฟัก
เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะลูกไก่จะฟักออกเป็นตัว หรือสุขภาพของลูกไก่จะเป็นอย่างไร ตลอดถึงเปอร์เซนต์การออกเป็นตัวของไก่ ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกไข่ที่จะฟักทั้งสิ้น หลักของการเลือกไข่ฟักมีดังนี้
1. เลือกไข่จากพ่อ-แม่ที่แข็งแรงว่องไว และไม่มีโรค เพื่อลูกที่เกิดมาจะได้แข็งแรงไม่อ่อนแอ เลี้ยงง่าย
2. เลือกไข่จากพ่อ-แม่ไก่ที่ดี จากพันธุ์ ที่ดีเสมอมา
3. ไข่ที่ใช้ฟักควรจะมีรูปร่างปกติ ไม่บิดเบี้ยว ไม่กลม ไม่ยาวจนผิดปกติ เปลือกไข่เรียบไม่ขรุขระ ไม่มีรอยร้าว และไม่แตกง่ายผิดไข่ธรรมดา ไข่ที่สกปรก หรือเปื้อนไม่ควรใช้ฟัก
วิธีรักษาไข่สำหรับฟัก
ไข่สำหรับฟักควรจะรักษาให้ดีมิฉะนั้นเชื้ออาจจะตายและฟักไม่ออก วิธีรักษาไข่ทำดังนี้
1. เก็บไข่ไว้ในที่เย็น ปล่อยให้อากาศผ่านได้สะดวก ที่เก็บต้องไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้าเก็บไว้ในอากาศร้อน เชื้อที่เริ่มเป็นตัวอาจตายเสียก่อนที่จะนำไปฟัก ไข่ที่มีเชื้อนั้น จะเห็นได้ว่าไข่บางฟองที่เราต่อยจนแตกจะเห็นเส้นเลือดอยู่ในไข่นั้น แสดงว่าไข่มีเชื้อแล้ว
2. ภาชนะที่เก็บไข่ ควรจะใช้ลังเป็นรูปกะบะสี่เหลี่ยมตื้นๆ พอวางไข่ตามขวางได้เพียงชั้นเดียว ที่กั้นกะบะเอาแกลบหรือขี้เลื้อยแห้งๆรอง เพื่อกันไม่ให้ไข่แตก
3. พยายามกลับไข่วันละ 2 ครั้ง กลับตอนเช้า - เย็นทุกๆวัน จนกว่าจะถึงกำหนดฟัก การกลับไข่ควรใช้มือกลิ้งให้ไข่กลับ การกลับไข่มีความจำเป็นมาก เพราะถ้าไม่กลับ เชื้อลูกไก่ในไข่อาจจะเกาะติดกับเปลือกไข่และตายก็ได้
4. ก่อนที่จะเก็บไข่เข้าฟัก ควรเลือกไข่เสียก่อน โดยเอาไข่ที่จะไม่ฟักออกเสีย เก็บไว้แต่ไข่ที่เลือกแล้วว่าจะทำการฟัก
ระยะที่ควรจะฟักไข่
ควรฟักไข่ในฤดูหนาวดีกว่าการฟักในฤดูร้อน ไข่ใหม่ฟักออกดีกว่าไข่เก่า ถ้าไข่ยิ่งใหม่เปอร์เซนต์ที่จะออกมาเป็นตัวมีมากขึ้น ไม่ควรเก็บไข่ไว้นานๆ อย่างมากไม่ควรเก็บไว้เกิน 10 วันในฤดูร้อน และไม่ควรเกิน 14 วันในฤดูหนาว ความจริงแล้วไม่ควรให้เกิน 6 วัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการพ้นอายุฟัก เวลาเก็บไข่ออกจากรังควรใช้ดินสอดำเขียนวันที่ฟักไว้ด้วย
กำหนดฟักไข่ออกเป็นตัว

ไก่ อย่างเร็ว 19 วัน อย่างช้า 23 วัน ธรรมดา 21 วัน
เป็ด อย่างเร็ว 26 วัน อย่างช้า 32 วัน ธรรมดา 28 วัน
ห่าน อย่างเร็ว 27 วัน อย่างช้า 33 วัน ธรรมดา 30 วัน
ไก่ต๊อก ไก่งวง อย่างเร็ว 26 วัน อย่างช้า 30 วัน ธรรมดา 28 วัน
กำหนดระยะการฟักออกเป็นตัวนี้ ไม่ว่าจะฟักด้วยเครื่องหรือฟักด้วยแม่ไก่ ย่อมจะปรากฏผลเสมอกัน เมื่อถึงกำหนดมันจะออกมา ถ้าตัวไหนแข็งแรงก็จะออกมาก่อน ถ้าตัวที่อ่อนแอก็จะออกทีหลัง จากตัวแรกถึงตัวสุดท้ายอาจจะห่างกัน 24-36 ชั่วโมงก็ได้
ฤดูที่เหมาะสำหรับฟักไข่
ฤดูที่เหมาะที่สุดก็คือต้นฤดูหนาว เริ่มต้นราวเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมพาพันธ์ ในระหว่างนี้อากาศเย็น แม่ไก่จะไข่ดกกว่าฤดูอื่น ทำให้ได้ไข่ฟักจำนวนมาก ผู้ที่ฟักเป็นอาชีพหรือต้องการจำนวนมากๆ ควรจะเริ่มฟักในฤดูนี้ เหมาะกว่าฤดูอื่นๆ
ประโยชน์ของการฟักไข่ด้วยแม่ไก่
1. สะดวก ประหยัดเงิน
2. ง่ายเพราะการฟักไข่ โดยวิธีนี้ ปล่อยธุระไว้ให้แม่ไก่แทบทั้งหมด
3. การหัดเลี้ยงใหม่ๆหรือผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการฟักไข่ การฟักด้วยแม่ไก่จะให้ลูกไก่มากกว่าฟักด้วยเครื่องฟัก
4. ลูกไก่ที่ฟักด้วยแม่ไก่จะแข็งแรงดี เป็นโรคน้อย และเลี้ยงรอดมากกว่าฟักด้วยเครื่อง
วิธีเลือกแม่ไก่สำหรับฟัก
1. เลือกจากแม่ไก่ที่แสดงว่าอยากจะฟัก คือ กกอยู่ในรัง แม้จะออกข้างนอกก็กลับเข้าไปในรังอีก
2. ถ้าลักษณะอย่างอื่นดีเหมือนกัน ให้เลือกแม่ไก่ที่มีรูปร่างใหญ่ดีกว่าที่มีรูปร่างเล็ก เพราะแม่ไก่ที่รูปร่างใหญ่จะฟักไข่ได้มากกว่า
3. เลือกแม่ไก่ที่มีรูปร่างปกติ สุขภาพสมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
4. เลือกแม่ไก่ที่เคยฟักไข่มาแล้วจะดีกว่าแม่ไก่สาว
5. เลือกแม่ไก่ที่เคยฟักไข่ออกดีมาแล้ว และเลี้ยงลูกดี
6. เลือกแม่ไก่ที่มีนิสัย ใจคอดี ขยัน และรักลูกมาก
7. เลือกแม่ไก่ตัวที่เชื่อง เพราะจะมีนิสัยฟักไข่ดีกว่า
รังสำหรับฟักไข่
ควรทำให้ดีและเหมาะสม เพราะแม่ไก่ต้องใช้เวลาฟักถึงประมาณ 21 วัน ซึ่งเป็นเวลานานไม่ใช่น้อย จึงควรทำให้ดีและมิดชิด ถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสควรมีขนาดกว้างยาวด้านละ 40 เซนติเมตร ลึก 15 เซนติเมตร ทั้งนี้ก็แล้วแต่ขนาดของไก่ด้วย ก้นรังควรมีวัตถุอ่อนนุ่มรองเพื่อกันไข่แตก จะเป็นฟางหรือหญ้าแห้งก็ได้ เวลาใส่วัตถุรองรับ พยายามทำให้มีรูปร่างคล้ายกับก้นกะทะลาดๆ กะดูพอให้ไข่กลิ้งออกไปรอบๆในขณะที่แม่ไก่ย่างเข้าไปในรัง แต่อย่าให้ถึงกับเทกองเป็นกลุ่ม ขณะที่แม่ไก่ออกไปจากรัง
ที่ตั้งรังไข่
รังไข่ฟัก ควรตั้งไว้ในที่ ๆเย็นสบายให้ลมระบายได้สะดวก และสูงกว่าพื้นดินราวหนึ่งศอก ถ้าตั้งรังไข่สูงแม่ไก่จะขึ้นลงลำบาก และโอกาสที่ไก่จะเหยียบไข่แตกก็มีมากขึ้น
วิธีป้องกันไร
ไก่ที่กำลังฟักไข่นั้น ไรเป็นศัตรูสำคัญอย่างหนึ่ง มันอาจจะรบกวนแม่ไก่ให้เกิดความรำคาญ และอาจจะทิ้งรังไปก็ได้ วิธีกำจัดไรมีดังนี้
1. ก่อนที่จะฟักไข่ประมาณ 7 วัน ควรเอายาฆ่าไรใส่แม่ไก่เสียก่อนทุกวัน ยาที่ถูกและหาง่ายที่สุดได้แก่ ยาฉุนบดให้ละเอียดเหมือนแป้งผัดหน้า วิธีใส่ยาให้จับแม่ไก่ให้นอนหงายแล้วเอายาโรยตามท้อง ใต้ปีกและที่อื่นๆจนทั่ว แล้วถูไปมาให้ยาเข้าใต้ผิวหนัง
2. ในระหว่างที่ฟักหมั่นตรวจดู ถ้ามีไรมากให้ใส่ยาให้แม่ไก่อีก และเผาวัตถุที่รองรังเสีย แล้วทำความสะอาดบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
3. ในระหว่างฟัก จงทำที่เกือกฝุ่นไว้ให้แม่ไก่และในฝุ่นนั้นเอาผงยาสูบโรยลงไปด้วย ก็จะทำให้หายไปหรือเบาลงได้
4. วัตถุที่รองรังนั้น เมื่อลูกไก่ออกแล้วควรเผาเสีย
5. ควรรักษาบริเวณรังให้สะอาดอยู่เสมอ และมีแสงแดดเข้าถึงได้เป็นการฆ่าเชื้อโรค
6. ประมาณ 3-4 วัน ก่อนจะถึงกำหนดลูกไก่ออกจากไข่ จงงดใช้ยาฆ่าไร เพราะยาบางอย่างมีอำนาจพอที่จะฆ่าลูกไก่ให้ตายได้
การปฏิบัติแม่ไก่ขณะที่ฟัก
1. เมื่อเลือกที่ฟักได้แล้ว จงย้ายแม่ไก่ไปใส่รังฟักในเวลากลางคืน แม่ไก่จะได้ไม่ตกใจและยอมอยู่ในรังง่ายๆ ถ้าย้ายกลางวันจะลำบาก แม่ไก่อาจจะตกใจแล้วไม่ยอมนอนรังก็ได้
2. ในคราวหนึ่งๆถ้าเกิดไก่ฟักหลายแม่ การดูแลอาจไม่สะดวก ควรให้ฟักคราวหนึ่งประมาณ 2-3 แม่ก็พอ
3. เตรียมหาน้ำ อาหาร และก้อนกวาด ถ่าน เตรียมไว้และปล่อยให้แม่ไก่ออกหากินอาหาร และเกือกฝุ่น วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อาหารแม่ไก่ฟักควรให้ข้าวโพด ข้าวเปลือก หรืออาหารจำพวกแป้ง เพื่อจะได้ไปทำความร้อนสำหรับฟักไข่ อาหารป่นไม่ควรให้ เพราะอาจจะทำให้ท้องระบาย และจะทำให้ไข่สกปรก
4. เมื่อครบกำหนด ขณะที่ลูกไก่กำลังจะออกจากไข่ ถ้าเห็นลูกไก่ตัวไหนออกจากไข่แล้วก็ควรเก็บเปลือกทิ้ง เพื่อไม่ให้เกะกะลูกไก่ที่ออกมาทีหลัง
5. เมื่อลูกไก่ออกหมดแล้ว ควรทิ้งไว้ในรัง 24 ชั่วโมง จึงค่อยเอาลงจากรัง
แม่ไก่ 1 ตัวควรให้ไข่สำหรับฟัก 10-12 ฟอง แล้วแต่ขนาดของแม่ไก่และฤดู ในฤดูร้อนจะฟักออกได้น้อยกว่าฤดูหนาว วิธีที่จะทราบว่าไก่ตัวไหนฟักได้กี่ฟอง ให้ลองเอาไข่ใส่ให้มันลองหมอบดู และให้มิดอกเมื่อเวลากก ถ้าไข่ล้นอกให้เอาออกเพราะจะทำให้ไข่เสียได้และพาฟองอื่นให้เสียไปด้วย
สาเหตุที่ทำให้การฟักไม่ได้ผลดี
1. มีไข่ที่ไม่มีเชื้อปนอยู่มาก เรียกว่าไข่ลม
2. เป็นไข่ที่มีเชื้ออ่อนแอ
3. เก็บไข่ไว้ไม่ดี
4. ไข่เก่าเกินควร
5. มีไรรบกวนแม่ไก่
6. แม่ไก่ทิ้งรังบ่อยๆและครั้งละนานๆ การทิ้งรังบ่อยๆทำให้อุณหภูมิในการฟักเปลี่ยนไป จึงฟักไม่ได้ผล
7. การเลี้ยงดูแม่ไก่ไม่ถูกต้อง เช่นปล่อยให้อดอาหาร กินอาหารไม่เพียงพอ ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร
วิธีส่องไข่ฟัก
ระยะที่ควรจะส่องดูไข่ คือหลังจากวันที่ 7 เมื่อนำไข่ฟัก และวันที่ 17 อีกครั้งหนึ่ง ควรจะส่องแดดหรือส่องไฟดู วิธีส่องไข่นั้น ทำได้โดยง่าย คือเอาไฟไว้ในหีบซึ่งเจาะรูเป็นรูปไข่ ให้แสงลอดออกมา เมื่อเอาไข่ไปยังรู แสงจะสะท้อนเข้าไปในไข่ ทำให้มองเห็นข้างในได้ตลอด หรือมิฉะนั้นใช้กระดาษหรือกระบอกไม้ไผ่ ทำเป็นรูปกล้อง แล้วเอาฟองไข่ปิดปากกล้อง แล้วหันไปทางแสงอาทิตย์ ก้จะเห็นข้างในของไข่เช่นเดียวกันกับส่องไฟ
ไข่ที่มีเชื้อดี มีชีวิต จะเห็นมีเส้นเลือดสีแดงแผ่ไปตามด้านในเปลือกคล้ายกับใยแมงมุม และจะเห็นเชื้อลูกไก่ลอยขึ้นลอยลง ดิ้นไปดิ้นมาได้ถนัด ไข่ที่มีลักษณะนอกจากนี้เป็นไข่เสีย ควรคัดออก
วิธีสังเกตไก่สาวเริ่มไข่
1. หงอน เมื่อไก่สาวตั้งต้นไข่ หรือแม่ไก่เริ่มไข่อีก หงอนจะขยายตัวโตเต่งขึ้นกว่าเก่าเป็นอันมาก มีสีแดงเข้มและอุ่นจัด และหน้าก็จะแดงด้วย หงอนไก่สาวที่ยังไม่เริ่มไข่จะเล็กสีแดงแต่ไม่เข้ม และไม่อุ่นจัด
2. เสียงร้อง ไก่ยังไม่สาวมักจะร้องต๊อกๆๆไม่เป็น เมื่อมันจะไข่มันจึงจะร้องเป็น และเที่ยวหารังไข่
3. รูปร่าง รูปร่างของไก่สาว ตอนท้องกางออกทำให้ดูเป็นรูปสามเหลี่ยม และท้องยานลงหาดิน
4. คลำดูไข่ โดยใช้นิ้วชี้แหย่เข้าไปในช่องทวารหนักของไก่ ถ้าไก่เริ่มไข่นิ้วก็จะกระทบไข่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปราวครึ่งองคุลี เป็นก้อนแข็งกลมและรู้สึกว่าเป็นรูปไข่
วิธีทำรังไข่
1. รังไข่กล เมื่อไก่เข้าไปแล้วออกไม่ได้มีประโยชน์สำหรับบอกให้รู้ว่าไก่ตัวไหนไข่ ไม่ไข่ เราจะรู้ได้เพราะแม่ไก่ถูกขังอยู่ในรังกลตลอดเวลา
2. รังไข่ธรรมดา มีประโยชน์สำหรับให้ไก่เข้าไปอาศัยอยู่ได้สำหรับไข่ และเมื่อไก่ไข่แล้วก็ออกมาได้เอง
การผสมพันธุ์ไก่
ไก่เมื่อได้อาหารสมบูรณ์และมีสูตรอาหารที่ถูกต้องตามที่ร่างกายต้องการแล้ว มันจะไข่ให้เจ้าของได้อย่างเต็มที่หรือเต็มความสามารถของมัน
หลักการผสมพันธุ์
ตัวผู้เป็นหัวใจของการผสมพันธุ์ ในการผสมพันธุ์หรือการบำรุงพันธุ์ให้ดีขึ้นนั้น ตัวผู้ที่คุมฝูงเป็นปัจจัยสำคัญ เป็นตัวผู้ใหญ่เป็นพ่อของฝูง ลูกทุกตัวที่เกิดมาในชั่วแรกจะมีเลือดของตัวผู้ครึ่งหนึ่ง ดังนั้นถ้าตัวผู้มีเลือดดี เลือดของมันก็จะถ่ายให้แก่ลูกฝูงทั่วๆไป ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงควรหาตัวผู้ที่มีเลือดดีมาคุมฝูง ลูกในฝูงก็จะดีตามไปด้วย
ความสำคัญของตัวเมีย คือแม่พันธุ์นั้นย่อมมีความสำคัญในการผสมพันธุ์ให้มีเลือดดีขึ้น เพราะถ้าตัวผู้มีเลือดดี มีลักษณะดี ตัวเมียก็มีเลือดดีตระกูลดี ลูกเกิดมาจะดียิ่งขึ้น ถ้าตัวผู้ดีตัวเมียเลว ลูกที่เกิดมา ก็จะมีคุณสมบัติปานกลาง เนื่องจากความเลวของตัวเมียคอยถ่วงความดีของตัวผู้ไว้
หลักการคัดเลือก
1. ตระกูลหรือเลือด
2. บุคลิคลักษณะ
3. ความสามารถ
ตระกูลหรือเลือด
นี้มีอยู่ 2 สายคือ สายพ่อสายหนึ่ง สายแม่สายหนึ่ง นับถอยหลังไปชั่วหนึง สัตว์ตัวหนึ่งจะมีบรรพบุรุษเป็นสองตัวคือ สายพ่อหนึ่ง สายแม่หนึ่ง
นับถอยหลังไปอีกชั่วที่สองบรรพบุรุษจะเป็น 4 สาย คือสายพ่อสอง สายแม่สอง ถ้านับถอยหลังไปอีกบรรพบุรุษจะทวีขึ้นเป็น 8 ในชั่วที่สาม เป็น 16 ในชั่วที่สี่ เป็น 32 ในชั่วที่ห้า ทวีขึ้นเป็นลำดับ ผลของการทดลอง ในการผสมพันธุ์สัตว์ สัตว์ที่มาจากตระกูลหรือเลือดดี หมายถึงบรรพบุรุษดีจะให้ลูกดีกว่าสัตว์ที่มาจากตระกูลหรือสายเลือดเลว มีบางครั้งที่สัตว์ที่มาจากตระกูลดีอาจจะให้ลูกเลว แต่โอกาสมีน้อยมาก
การที่เราจะรู้ว่าสัตว์มีตระกูลเป็นอย่างไรนั่น ต้องอาศัยการดูประวัติ นักเลี้ยงสัตว์ที่ดี จะต้องทำประวัติสัตว์แต่ละตัวเอาไว้อย่างละเอียด ว่ามีบรรพบุรุษมาจากไหน เป็นต้นว่าไก่ตัวนี้พ่อแม่มีเลือดเป็นอย่างไร จะต้องบันทึกไว้อย่างละเอียด มีเบอร์แต่ละตัวด้วย นี่เรียกว่าประวัติ
บุคลิกลักษณะ
หมายถึงลักษณะประจำตัว ที่แสดงออกของสัตว์ เช่น รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก สี อายุ ความสามารถของสัตว์เป็นตัวๆไป สัตว์ที่มาจากตระกูลดี มิใช่จะดีทุกตัวไป ต้องอาศัยบุคลิกลักษณะประจำตัวของมันอีกด้วย
ความสามารถ
ความสามารถเป็นสิ่งสำคัญในการคัดเลือกในการคัดเลือกไก่ทำพันธุ์ เมื่อคัดเลือกจากตระกูลที่ดีและบุคลิกที่ดีแล้ว ความสามารถจะต้องดีด้วย เลือกแม่พันธุ์ก็ทำนองเดียวกัน ถ้าเราต้องการทราบว่า มันให้ลูกเก่ง ตรงกับความคาดคะเนของเรา หรืออยากรู้ว่ามันให้ลูกดีไหม ต้องสังเกตดูลูกของมันทุกตัว ดูต่อไปเราก็จะทราบได้ว่าแม่ไก่ให้ลูกดีหรือไม่ดี
การเปลี่ยนพ่อฝูง
การเปลี่ยนพ่อฝูงนั้น มีความจำเป็นเหมือนกันเพราะพ่อฝูงบางตัวมีสุขภาพไม่แข็งแรง ไม่มีสมรรถภาพควรแก่จะคุมฝูงต่อไป ฉะนั้นควรเปลี่ยนทุกๆปี หรือทุกๆ 2 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการผสมระหว่างพ่อกับลูก ซึ่งอาจจะทำให้ลูกในฝูงต่อไปเกิดอ่อนแอ หรือมีขนาดเล็กลง
พ่อฝูงที่หามาใหม่จะต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน แต่ควรจะมีตระกูล บุคลิก ลักษณะ ตลอดจนความสามารถดีกว่าเดิมเสมอพ่อฝูงนั้น
วิธีแก้ไก่จิกไข่
ไก่บางตัวมีนิสัยไม่ดีคือจิกไข่ หรือกินไข่ตัวเอง วิธีป้องกันคือ หาวัตถุดำๆ เช่นเปลือกถั่วเขียวรองรังและทำให้รังมิดชิดหน่อย เมื่อไข่แตกมันจะมองไม่เห็น วัตถุรองรังควรให้หนา เพื่อป้องกันไข่แตก ตามพื้นที่มีไข่ตกอยู่ ควรรีบเก็บอย่าให้ทันไก่มีโอกาสกินได้ ถ้าไก่ได้กินและรู้จักรสเสียแล้ว วิธีแก้ไขคือ หาไข่ปลอมมาวางทิ้งในเล้าหลายๆใบ เมื่อไก่ไปจิกมันจะเจ็บปากและเข็ดไปเอง วิธีนี้เป็นวิธีแก้นิสัยแม่ไก่ที่ชอบกินไข่ของตัวเองได้ดี
เปรียบเทียบความสำคัญของตัวผู้และตัวเมีย พูดถึงความสำคัญในการให้ลูกแล้ว ตัวผู้ให้ลูกได้มากกว่าตัวเมียเพราะตัวผู้สามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว และลูกทุกๆตัวย่อมมีลูกจากตัวผู้ครึ่งหนึ่ง สัตว์ตัวผู้ทำการสืบพันธุ์ได้เรื่อย ไม่เหมือนตัวเมียซึ่งต้องเสียเวลาในการอุ้มท้อง ลักษณะตัวผู้ย่อมถ่ายไปเร็วกว่าตัวเมีย ดังนั้นตัวผู้จ่าฝูง ย่อมสำคัญกว่าตัวเมียในฝูงมาก
การฟักด้วยเครื่องฟัก
มี 2 วิธีคือ 1. เครื่องฟักแบบน้ำร้อน
2. เครื่องฟักไฟฟ้า
ขนาดเครื่องฟักตามความเหมาะสมและความจำเป็น เครื่องฟักต้องมีส่วนสัมพันธ์ดังนี้
1. ตู้และถาดไข่
2. ความร้อน เช่นตะเกียง ไฟฟ้า
3. เครื่องบังคับความร้อน ปุ่มปรับความร้อนหรือการขยายตัว
4. ช่องระบายอากาสหรือพัดลม
5. ที่ให้ความชื้น ทำเป็นจานโลหะตื้นๆ วางอยู่ใต้ถาด
เครื่องฟักแบบน้ำร้อน
เป็นเครื่องฟักที่อาศัยความร้อนของน้ำเป็นเกณฑ์
สัปดาห์แรก ขนาดความร้อน 102.5 ฟาเรนไฮท์
สัปดาห์ที่สอง " 101 "
สัปดาห์ที่สาม " 100 "
การกลับไข่
กลับไข่วันละ 3-5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ 2-18 วัน หลังจากนี้แล้วไม่ต้องกลับไข่ เมื่อครบ 10 วัน ลูกไก่จะฟักออกเป็นตัว คือออกจากเปลือกไข่ เมื่อออกจากเปลือกไข่แล้วให้นำไปกกจนครบ 21 วัน ก่อนที่จะนำไข่ฟักอีก ควรจะรมตู้เพื่อฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นจึงเปิดช่องระบายออกให้หมด
เครื่องฟักแบบไฟฟ้า
มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ ชนิดมีถาดไข่ชั้นเดียว และชนิดมีถาดไข่หลายชั้น ถ้ามีถาดไข่ชั้นเดียวคงใช้วิธีเดียวกับเครื่องฟักแบบน้ำร้อน การใช้เครื่องฟักแบบไฟฟ้าสะดวกกว่าการใช้เครื่องฟักแบบน้ำร้อน คือไม่ต้องทำความสะอาดขูดเขม่าทุกวัน
เครื่องฟักที่มีถาดหลายชั้น มีพัดลมหรือที่ปรับอากาศหรือเครื่องปรับอุณหภูมิในตู้เครื่องฟัก อุณหภูมิมีดังนี้
ความร้อน 99.5-100 องศาฟาเรนไฮท์ใน 18 วันแรก
ความร้อน 98-99 " ใน 3 วันหลัง
การกลับไข่ ถ้ากลับด้วยมือควรกลับวันละ 3-4 ครั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 ที่นำไข่เข้าฟัก ถ้ากลับด้วยเครื่องอัตโนมัติ ก็ต้องกำหนดระยะเวลาของการกลับไข่ วันละ 24-48 ครั้ง
วิธีรมยาตู้
ใช้เคมีรมเพื่อทำให้ตู้ฟักสะอาดก่อนที่จะฟักใหม่ เพื่อความปลอดภัยของลูกไก่ที่ออกมาภายหลัง และเพื่อมิให้เปอร์เซนต์จำนวนสูง
อัตราส่วนของสารเคมีต่อปริมาณตู้ หรือ เครื่องฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต
ด่างทับทิม 1.25 กรัม
ฟอร์มาลิน 30-35 ซี.ซี. ถ้าเครื่องฟักมีขนาดเล็ก ควรลดอัตราเคมีลงตามส่วน
วิธีผสม
ตวงฟอร์มาลิน ลงในภาชนะ นำด่างทับทิมใส่ลงในจานเคลือบหรือจานดินเผา เอาจานข้าววางกลางเครื่องฟัก เทฟอร์มาลินลงในด่างทับทิม แล้วปิดฝาหรือเครื่องฟักและช่องอากาศไว้ประมาณ ? - 1 ชั่วโมง จึงค่อยเปิดช่องอากาศตามปกติ นำเครื่องรมนี้ออกมาทำความสะอาดและเก็บไว้ใช้ในคราวต่อไป
ในการรมยาครั้งหลัง เป็นภายหลังที่ลูกไก่ออกจากไข่ฟักใหม่ๆแล้วต้องรมในขณะที่ลูกไก่ยังขนเปียกอยู่ อย่ารมในขณะที่ลูกไก่ขนแห้งแล้ว มิฉะนั้น ลูกไก่จะเป็นอันตรายให้นำลูกไก่ที่ขนแห้งออกเสียก่อนจึงค่อยรม
การเจริญเติบโตของลูกไก่ในเปลือก
เมื่อนำไก่เข้าฟักภายใน 24 ชั่วโมงหรือ 1 วันแรก ลูกไก่จะเริ่มมีชีวิตอยู่ในลักษณะท่าขวางของไข่ เริ่มจะเป็น หัว หาง ตุ่ม ปีก ขา ประสาท หัวใจ ปาก โดยชีพจรจะเริ่มเดินเมื่อชั่วโมงที่ 30-36 เมื่อระยะฟักนานเข้า จะเจริญเติบโตจนหันด้านหัวหรือปากไปทางด้านป้านของไข่
วันที่ 6-7 เริ่มเป็นรูปร่างของลูกไก่ ตุ่ม ปีก ขา และศีรษะจะโตกว่าตัว
วันที่ 8 เริ่มมีขุมขนตามผิวหนัง
วันที่ 9 เป็นรูปร่างของลูกไก่เต็มตัว มีจงอยปากค่อยแหลมขึ้นและแข็งแรงพอที่จะใช้เจาะเปลือกเวลาออก
วันที่ 10-14 เริ่มมีขนชัดขึ้น มีเล็บเท้าและเกล็ดแข้งแข็งขึ้น
วันที่ 15-16 ไข่แดงเริ่มใช้มากขึ้นในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของลูกไก่ ให้มีจงอยปาก เล็บ เกล็ด แข้งสมบูรณ์ ในระยะนี้ ไข่ขาวถูกใช้เกือบหมด
วันที่ 17 น้ำหล่อเลี้ยงถุงหุ้มลูกไก่เริ่มจะหมดไป
วันที่ 18-19 ถุงไข่แดงเริ่มเข้าช่วงท้อง ปากลูกไก่จะหันไปทางช่องอากาศ จะเริ่มเจาะช่องอากาศนี้โดยสัญชาตญาณ ระยะนี้ปอดทำงานได้เต็มที่ และจะเจาะเปลือกไข่เรื่อยไป
วันที่ 20 เมื่อปอดเริ่มทำงาน ระบบการหายใจของอวัยวะพิเศษในตัวลูกไก่ก็หมดไป
วันที่ 21 ลูกไก่จะออกเปลือกหมด ศีรษะของไก่จะอยู่ด้านทางป้านของไข่ใต้ปีกขวา ขาจะตั้งชันขึ้นเมื่อใช้ปากจิกเปลือกจนเกือบรอบเปลือกไข่แล้ว มันจะดันศีรษะออกมาก่อนและเมื่อออกพ้นเปลือกแล้วยังจะนอนอ่อนเพลียอยู่สักพักหนึ่ง จนกว่าขนของมันจะแห้งจึงขยับลุกขึ้น และเดินเหินได้เล็กน้อย

เริ่มต้นเลี้ยงไก่อย่างละอียด(ต่อ)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com
 
เนื้อหาสาระ - วิชาการ
เริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
ไข้หวัดนกและบทความ
ตำนานไก่ชนกับพระนเรศวร
การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การเพาะพัฒนาพันธุ์ไก่ชน

ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่
ไก่ตัวเมียและแม่ไก่
การดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
การฟักไข่

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
อาหารที่ดีของไก่ชน
การเลี้ยงลูกไก่ชน
การดูแลลูกไก่ชน
การผสมไก่ให้ได้ผล
การเลี้ยงไก่ให้ได้ผล
เทคนิคการฝึกไก่ชน
วิธีเลี้ยงไก่สำหรับชน
ข้อควรทำในการเลี้ยงไก่ชน
โรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก - น.สพ.วีระชัย
ไข้หวัดนก-ในใจ
ทำไมต้องใช้วัคซีน
"แอ๊ด" โวยโดนปิดบ่อนไก่ชน
"แอ๊ด" บุกทำเนียบป้องไก่ชน
เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน
การดูลักษณะไก่ชน
สารพันทางเทคนิค
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่ามีดีอย่างไร
การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
การเลี้ยงไก่ออกชน
การเปรียบไก่
การดูบาดแผลและการแก้ไข
การดูแลไก่ชน หลังชนมา
ลักษณะไก่เก่งตอนเล็ก
เทคนิคเซียน
สีของไก่ชน
แม่ไม้เชิงไก่
เกล็ดและแข้ง
นิ้วงามตามตำรา
เกล็ดนั้นสำคัญไฉน
ลักษณะไก่ที่ใช้ไม่ได้
การดูการวางแข้ง
การดูแผลตี
ทีเด็ดลูกตี
เลือกซื้อไก่หนุ่ม(มือใหม่)
เลี้ยงปล้ำให้เจ๋งเพื่อชนะ
เทคนิคการวางไก่
เทคนิคเซียนไก่
รู้เหลี่ยมกลโกง
ยอดมือน้ำ
เรื่องโรคและการป้องกัน
เรื่องของสมุนไพร
สารพันสาระน่ารู้
โรคระบาดไก่ชน
วัคซีนฝีมือคนไทย
ข้อปฏิบัตให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน
โรคของไก่กับการป้องกัน
หมอไก่
เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน
สมุนไพรและสรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าแตงกวาน้ำผึ้ง
รูปภาพสมุนไพร
การพัฒนาพันธุ์ไก่ชน
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่า
เรื่องของไก่แพ้
การดูแลไก่หลังชน
รู้เหลี่ยมกลโกง