ไก่ชนไทย
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   พระเครื่อง     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

เว็บบอร์ด ซื้อ-ขายไก่ชน

เทคนิคการวางไก่การวางไก่คือการที่ไก่ทั้ง 2 ตัวตกลงว่าจะชนกันแน่แล้ว
เจ้าของไก่ทั้งสองจะปล่อยไก่ให้ออกไปชนกัน การปล่อยไก่เจ้าของจะต้องรู้ว่าควรจะเข้าสังเวียนเวลาใด เข้าก่อนหรือหลังคู่ต่อสู้ และเมื่อเข้าสังเวียนแล้วจะต้องเลือกที่นั่งในตำแหน่งไหน หันหน้าไปทางไหนจึงจะถูกต้องตามตำรา นอกจากนั้นจะต้องดูทิศในการปล่อยไก่ เลือกสีของคู่ต่อสู้ที่จะตีด้วยให้สัมพันธ์หรือเข้ากับวันข้างขึ้นข้างแรม เพราะตำราโบราณมีกล่าวไว้ว่า สีของไก่ในแต่ละวันนั้นหากเลือกไม่ดีจะทำให้สีข่มกัน อันส่งผลถึงการทำให้แพ้ได้ง่าย ผู้เล่นจะต้องรู้ว่าวันไหนจะตีกับสีอะไรจึงจะได้เปรียบ ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวมานี้จะต้องประกอบเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เกิดมงคล ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับหรือความเชื่อที่ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งจากตำราสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้กล่าวไว้ว่า

  • วันอาทิตย์ ห้ามหันไปสู่ทิศมิศพายัพ
  • วันจันทร์ ห้ามหันไปสู่ทิศบูรพา
  • วันอังคาร ห้ามหันไปสู่ทิศอิสาน
  • วันพุธ ห้ามหันไปสู่ทิศอุดร
  • วันพฤหัสบดี ห้ามหันไปสู่ทิศทักษิณ
  • วันศุกร์ ห้ามหันไปสู่ทิศประจิม
  • วันเสาร์ ห้ามหันไปสู่ทิศอาคเนย์
นอกจากนี้ยังมีตำราที่กล่าวถึงหลักในการปล่อยไก่ก่อนชนให้เป็นมงคลโดยต้องหันหน้าไก่ให้ถูกทิศ ถือเป็นเคล็ดลับดังนี้
  • วันจันทร์และวันเสาร์ ห้ามหันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก
  • วันศุกร์และวันอาทิตย์ ห้ามหันหน้าไปสู่ทิศตะวันตก
  • วันอังคารและวันพุธ ห้ามหันหน้าไปสู่ทิศเหนือ
  • วันพฤหัสบดี ห้ามหันหน้าไปสู่ทิศใต้
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันอีกว่าในการปล่อยไก่นั้นไม่ว่าจะหันไปในทิศทางใดก็ตาม แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ทิศนั้นๆจะต้องไม่ตรงกับประตู เพราะเชื่อว่าจะทำให้ไก่ไม่สู้ ถอดใจหนีได้ง่าย อีกทั้งการปล่อยไก่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์หรือทานตะวัน ยังมีผลทำให้ไก่ตาพร่ามัวมองคู่ต่อสู้ไม่ถนัด อาจพลาดท่าเสียทีได้ง่าย
การให้น้ำไก่ที่กำลังชนและขั้นตอนต่างๆที่ต้องทำในระหว่างพัก
  • 1. ในการให้น้ำไก่ในแต่ละครั้งต้องให้น้ำให้ทั่วตัวยกเว้นปีก และหาง นอกนั้นต้องให้เปียกหมด การให้น้ำก่อนชนต้องรอกรรมการจะบอกให้กราดน้ำไก่ได้ ภายใน 15-20 นาที ต้องให้เสร็จพอดี อย่ากราดน้ำนานเพราะจะทำให้ไก่หนาว ไม่อยากที่จะตีไก่ กว่าที่ขนจะแห้งไก่ของเราก็อาจถูกตีไปเยอะ ในการให้น้ำไก่จะช่วยไม่ให้ไก่หอบเร็วและเหนื่อยได้ช้า
  • 2. การให้น้ำขั้นตอนแรกต้องให้ที่ขนคอหรือสร้อยคอก่อนให้เปียก แล้วถึงให้ตัวจนหมดทั่วตัวยกเว้นปีก เพราะจะทำให้ไก่หอบเร็วในเวลาชน ถ้าไก่หอบเร็วจะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ ในการให้น้ำต้องให้เปียกน้อยๆ อย่าให้ถึงกับแฉะมากเกินไป จะทำให้ไก่ไม่ค่อยบิน ต้องให้เปียกพอดีๆ
วิธีการให้น้ำไก่กำลังชน
ไก่ชนหมดยกแรกต้องรีบนำไก่ออกจากสนามโดยเร็ว เพื่อต้องการช่วยให้ไก่ได้หายจากอาการหอบโดยเร็ว และจะได้มีเวลาพักผ่อนได้มาก พอไก่หายจากอาการหอบแล้วค่อยเอาข้าวให้กิน แล้วเคี้ยวตะไคร้ให้ละเอียดให้กิน 1 ก้อน เสร็จแล้วควรให้ไก่นอนพักผ่อนสัก 5 นาที เอาผ้าคลุมหัวไก่นอนครบ 5 นาที ตื่นขึ้นมาก็ประคบกระเบื้องอุ่นๆ ลูบหน้า ลูบตัว ปั้นขา แล้วพยายามนวดตามลำคอจากหัวถึงโคนคอ จากโคนคอถึงโคนหาง นวดนิ้วทุกนิ้วเพื่อทำให้เส้นหย่อนไม่ตึงมาก จากบริเวณหัวตั้งแต่ใต้หงอนลงไปถึงโคนคอให้ทำในลักษณะขยี้เบาๆ เพื่อให้เส้นหย่อนเพื่อได้คล่องตัวในการต่อสู้ยกต่อไป พยายามทำให้ทุกยก
การให้น้ำไก่หลังการซ้อมทุกครั้งควรให้น้ำกลั่นผสมยางข่อย 1 หยด หยดตาไก่ทุกครั้งก่อนนอน เพื่อเป็นการล้างตาไก่ให้แจ่มใส การให้น้ำไก่เวลาไม่มีแดดไม่ควรให้ เพราะถ้าขนไก่ไม่แห้งจะทำให้ไก่ปีกผุได้ง่าย บางตัวอาจเป็นไข้หวัดก็ได้ การให้ไก่กินกระชายแช่น้ำผึ้ง ควรให้กินหน้าฝนหรือหน้าหนาวเท่านั้นเพราะกินเข้าไปแล้วจะร้อน
การให้น้ำไก่ได้ที่แล้ว ก่อนชนต้องพัก 2-3 นาที เป็นการคลายตัว ในการคลายตัวไก่ต้องใช้น้ำซาวข้าวเท่านั้นที่จะทำให้ไก่คืนตัวได้เหมือนเดิม พอแดดออกตอนเช้าให้น้ำข้าวคืนตัวตากแดดให้ขนแห้ง ไม่ต้องให้ไก่หอบ เอาขนไก่แหย่คอเพื่อเขี่ยเสลดออกจากลำคอ แล้วนำไก่ไปปล่อยที่เล้า ที่มีที่คลุกฝุ่นไก่จะได้คลายเส้นทุกเส้นขน แล้วพอบ่าย 2 โมง ใช้น้ำเย็นธรรมดาล้างตัวให้หมดเหมือนกราดน้ำปกติ ตากแดดให้แห้งอย่าให้หอบ เสร็จแล้วนำเข้าร่ม แหย่คอ หาข้าวให้กิน ตามด้วยบอระเพ็ด ยาบำรุงและยาอื่นๆ
การคลุมปากไก่ คือ คลุมเพื่อป้องกันไม่ให้ปากไก่หลุด อย่าคลุมให้ตึงมาก ถ้าตึงมากจะทำให้ไก่ไม่ตี เพราะจะตีไม่ถนัด การคลุมควรคลุม 3 เปราะ หรือ 3 ชั้น
การเข้าปากไก่ คือ เข้าปากที่หลุดแล้ว ควรเข้าให้ตึงมากกว่าคลุมปากเล็กน้อย ถ้าตึงมากไปไก่ก็จะไม่ตีเหมือนกัน การเข้าปากที่หลุดควรเข้า 4-5 เปราะ เพื่อป้องกันการหลุดระหว่างชน ควรเตรียมปากไก่ไว้สัก 2-3 ชุด ทั้งปากล่างและปากบน ส่วนมากจะหลุดปากบนมากกว่า
การดูฤกษ์ยามวันนำไก่ออกชน
คนโบราณจะถือกันมากในการดูฤกษ์ยาม และก็เป็นความเชื่อของเขาจริงๆ อย่างเช่นการนำไก่เข้าไปนั่งในสังเวียน คนโบราณก่อนออกจากบ้านเขาจะไปมองแม่ไก่ที่กำลังฟักไข่อยู่ ว่าแม่ไก่ที่กำลังฟักไข่อยู่นั้นหันหน้าไปทางไหน เวลาเขาจะปล่อยไก่ให้ชนในสังเวียนเขาก็จะนั่งหันหน้าไปตามทางที่แม่ไก่นอนฟักอยู่ทุกครั้ง และทุกครั้งก็ไม่เคยผิดหวังเลย
การนำไก่ออกชนในสมัยโบราณ จะเอาสีของไก่เป็นหลักในการเลี้ยง ต้องดูด้วยว่าวันที่ตีไก่นั้นตรงกับวันขึ้นกี่ค่ำ แรมกี่ค่ำ แต่ละวันจะมีสีของไก่ประจำอยู่ทุกวัน อย่างเช่นขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ จะเอาไก่สีอะไรไปตีกับไก่สีอะไร จึงจะชนะเร็ว ถ้าเผื่อเลือกไม่ได้จริงๆก็เอาสีที่ชนะช้าหน่อยก็ได้ ขอให้ดูกำลังวันที่น้อยๆเอาไว้ก่อนก็แล้วกัน แต่ถ้ากำลังวันมากขึ้นก็ชนะช้าหน่อย คือ ชนมากยกหน่อยจึงจะชนะ
การดูฤกษ์ยามในวันชนไก่
ข้างขึ้นหรือข้างแรม ไก่คู่ต่อสู้ กำลังวัน ไก่ของเราเอง กำลังวัน ไก่คู่ต่อสู้ กำลังวัน
1 ค่ำไก่ด่าง 0ไก่สีทองอ่อน 7ไก่สีเขียว5
2 ค่ำ ไก่สีทองอ่อน 0 ไก่สีเขียว7 ไก่สีเหลือง 5
3 ค่ำไก่สีเขียว0 ไก่สีเหลือง 7ไก่สีประดู่(เข้ม) 5
4 ค่ำไก่สีเหลือง0ไก่สีประดู่(เข้ม)7ไก่ด่าง 5
5 ค่ำไก่สีประดู่(เข้ม)0ไก่ด่าง7ไก่เหลือง 5
6 ค่ำไก่ด่าง0ไก่ทองอ่อน 7ไก่เหลือง 5
7 ค่ำไก่สีทองอ่อน0ไก่เขียว7ไก่เหลือง5
8 ค่ำไก่สีเขียว 0ไก่สีเหลือง7 ไก่ประดู่(เข้ม) 5
9 ค่ำไก่สีเหลือง 0ไก่ประดู่ 7 ไก่ด่าง 5
10 ค่ำไก่ประดู่ 0ไก่ด่าง 7 ไก่สีเหลือง 5
11 ค่ำไก่ด่าง 0ไก่สีทองอ่อน 7 ไก่สีเขียว 5
12 ค่ำไก่สีทองอ่อน 0ไก่สีเขียว 7 ไก่สีเหลือง 5
13 ค่ำไก่สีเขียว 0ไก่เหลือง 7 ไก่ประดู่(เข้ม) 5
14 ค่ำไก่สีเหลือง 0ไก่สีประดู่(เข้ม) 7 ไก่ด่าง 5
15 ค่ำไก่ประดู่(เข้ม)0ไก่ด่าง 7 ไก่เหลือง 5

ถ้าจะไปชนไก่ในวันไหน วันนั้นเป็นวันข้างขึ้น ข้างแรมกี่ค่ำ ให้ดูตามที่บอก ถ้าสีเหมือนกันในวันนั้นให้หลีกเลี่ยงเสีย พยายามให้สีตรงตามกำลังวันให้ได้ สีไก่ที่กำลังวันมากจะชนะสีไก่ที่กำลังวันน้อย เช่น กำลังวัน 7 จะชนะกำลังวัน 5 และกำลังวัน 0 ถ้ากำลังวัน 7 ชนกับกำลังวัน 0 ไก่กำลังวัน 7 จะชนะง่ายๆเลย แต่ถ้ากำลังวัน 7 ชนกับกำลังวัน 5 ไก่กำลังวัน 7 ก็จะชนะแต่หลายยกหน่อย การดูวันที่ไก่ออกชน ว่าขึ้นกี่ค่ำ แรมกี่ค่ำ เราก็เลือกเอาไก่ที่มีตรงกับกำลังวันออกชน และก็เลือกชนที่มีกำลังวันเป็น 0 ไก่เราก็จะชนะเร็วขึ้น
การเลือกสถานที่ตั้งในสนามชน
การเลือกสถานที่ตามความเชื่อจะต้องหาสถานที่พักไก่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสนาม เมื่อได้คู่ชนแล้วจะได้นำไก่เข้าสังเวียนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เหยียบหัวนาคเข้าไปเป็นการข่มขู่คู่ต่อสู้ ตามความเชื่อของคนโบราณ
การเลือกที่ตั้งซุ้มในบริเวณสนามชนเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างที่จะสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ การเลือกที่ตั้งนั้นต้องมีความสะดวกรวดเร็วในการนำไก่เข้า ออกสังเวียน อย่าเลือกที่ตั้งห่างจากสังเวียนมากนัก เพราะเวลาที่เรานำไก่ออกจากสังเวียนไปพัก จะไม่เสียเวลาในการตกแต่งไก่ สถานที่ตั้งต้องเป็นที่แดดส่องไม่ถึง หลบฝนได้ และเป็นที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเป็นบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่แออัด
เมื่อเลือกสถานที่แล้วต้องมีการจำกัดบริเวณ ไม่ให้คนเดินพุ่งพร่าน บริเวณที่เก็บไก่ต้องปูด้วยพรม หรือกระสอบที่เตรียมมา อย่าให้ไก่จิกพื้นดินเป็นอันขาด สุ่มควรจะมีมุ้งครอบ อย่าให้คนให้อาหารหรือวางยาไก่ได้
คาถาปล่อยไก่ (คาถาโคซ่อนลูก)
    ก่อนปล่อยไก่ให้บอกแม่ธรณี พระภูมิเจ้าที่ เสียก่อนทุกอัน วิธีทำ เอาผ้าให้น้ำไก่บีบลงพื้นดินเล็กน้อย เอานิ้วชี้จิ้มลงพื้นดินวนไปเรื่อยๆจนกว่าจะว่าคาถาจบลง แล้วกลั้นใจกดดินเอาไปป้ายที่หัวตรงปลายหงอนตกพอดี แล้วนำไก่เข้าชนได้เลย คาถาว่าดังนี้
  • ตั้งนะโม 3 จบ
  • ว่า"โอมแม่ธรณีเจ้าเอ๋ย อยู่แล้วหรือยัง
  • สังขารตังโลกังกะวิทรู พระแม่ธรณีเอ๋ย อยู่แล้วหรือยัง อยู่แล้วเจ้าข้า ขอให้คุ้มหัว คุ้มหู คุ้มตา คุ้มปาก คุ้มตัว คุ้มทุกอย่างในร่างกาย
  • หรือ ว่า "วะโรวะรัญญู วะระโท วะราทะโร เป็นคาถาแคล้วคลาด คือ ไม่ตีเรา ตีเราไม่ถูก ไม่เจ็บ
คาถาเปรียบไก่
  • ก่อนจับไก่คู่ต่อสู้ ให้จับไก่ของเราก่อน
  • ตั้งนะโม 3 จบ
  • ว่า "โอมหนังถึง" แล้วจับไก่คู่ต่อสู้ว่า "ถึงหนังอม"
คาถาบอกเดือย
  • ตั้งนะโม 3 จบ
  • ว่า "นะปุปุ โมปุปุ พุทปุปุ ทาปุปุ ยะปุปุ (ว่าคาถาจบใช้นิ้วดีดที่เดือย เป็นการบอกเดือย)
คาถาเป่าแข้ง
  • ก่อนปล่อยไก่เข้าสังเวียน ให้ว่าคาถาเป่าแข้ง ดังนี้
  • ตั้งนะโม 3 จบ
  • ว่า "จะฉะชะยะ" แล้วเป่าไปที่แข้งของไก่ แล้วปล่อยชนได้เลย
คาถาเสกให้ไก่มีลำหักลำโค่น
  • ให้ใช้คาถาเสกทำน้ำมนต์อาบไก่และให้ไก่กินก่อนจะเข้าสังเวียน
  • ว่า นะโมพุทธายะ นะธนู นะกาโรโหติ
  • สัมภะโว ปะถะมังพินธุ กังชาตัง
  • นะรา มะระหิตังเทจัง
  • นะรากาเวหิ ปูชิตัง
  • นะรานัง กามะปังเกหิ
คาถาสมานแผล
  • โลกะปะรา จตุเทวาวะนะ
  • เสละกัง อุทธังสุมุนติโน
  • ปัตตะ อะธิษธาเนนะ
  • เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ
  • โหตุเต ชะยะมัง คะจานิ เสกเป่าบาดแผลจะทุเลาไม่เจ็บปวด
คาถาแคล้วคลาด
  • ปะถะมังพินธุ กังชาตัง ตรีนิภัควา
  • นะนะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
  • นะรา นะระหิตัง เทวัง
  • นะระ เทวะ หิปูธิตัง
  • นะรานัง กามะปิเกหิ
  • นะมามิ สุคะตังธินัง เป็นคาถากำบังตัว ทำให้คู่ต่อสู้ตีไม่ถูก ถูกไม่เจ็บ เสกเป่าขณะไก่ชน
คาถาข่มขัวญคู่ต่อสู้
  • นะเมตตา นะมหาราชา สัพพะนิ
  • เสหาจะปูชิโต ปิโยเทวะมนุสสานัง
  • ปิโยพรหมา นะมุตตะโมปิโยนาคะ
  • สุปัณฌานัง ปิณันทริยัง นะมามิหัง ให้เสกคาถาเป่าที่หัวและแข้งไก่ก่อนปล่อยชน ใช้มือดีดที่เดือย ทำให้คู่ต่อสู้โดนจิก โดนตี แล้วขยาดไม่สู้
การดูฤกษ์ผานาทีในการตีไก่
ก่อนวันไก่จะออกชน มือน้ำจะต้องดูฤกษ์ ดูยามในรูปแบบต่างๆ เช่น ดูตำราวันขึ้น-แรม ดูเวลาการชนไก่ โฉลกการแต่งกายไปชนไก่ คาถาอาคมต่างๆ
วันใดตรงกับวันกี่ค่ำให้ดูตาม ตำราวันขึ้น-แรมค่ำ ให้ออกไก่สีนั้นๆจะชนะ สีไก่หมายถึง สีพื้นตัวและสีสร้อยไก่
เวลาชนไก่ ในวันหนึ่งแบ่งเป็น 5 เวลา คือ
เวลาหนึ่ง ขาว -เหลือง06.01 - 08.24 น.
เวลาสอง ดำ -เข้ม08.25 - 10.28 น.
เวลาสาม ขาว -ด่าง10.29 - 13.12 น.
เวลาสี่ แดง -เข้ม13.13 - 13.26 น.
เวลาห้า ประดู่ -อ่อน13.27 - 18.00 น. การชนตามเวลาจะดูประกอบกับวันขึ้น-แรม ถ้าให้เวลา สีชนะตามเวลาตรงกับวันขึ้น-แรมด้วยแล้ว จะชนะขาดเลย เช่นไก่เหลืองหางขาว ออกชนวันอาทิตย์ แรม 5 ค่ำเป็นวัน ขาว-เหลืองพอดี จะต้องเริ่มชนเวลา 06.01-08.24 น. ซึ่งตรงกับสีชนะขาว-เหลืองพอดีการไล่สีพื้นตัวไก่
เริ่มที่ ดำไป ดำขาว ไป ขาวแดง แล้วไล่วนเป็นวงเวียน ขาวแดง -ดำ -ดำขาว
เริ่มที่ วัน 1 ค่ำ เป็นต้นไป หมุนวนไปเรื่อยๆจนถึง 15 ค่ำ เช่น
ดำ วัน 1 ค่ำ ตรง ดำ-แดง
ดำขาว วัน 2 ค่ำ ตรงขาว-นวล-เทา
ขาว-แดง วัน 3 ค่ำ ตรง ขาว-แดงคล้ำ
ดำ วัน 4 ค่ำ ตรง ดำ-แดง
ดำ วัน 5 ค่ำ ตรง ขาว-เหลือง
ขาว-แดง วัน 6 ค่ำ ตรง ขาว-แดง-ทอง
ฯลฯ
ถ้าไล่วันมาช่วงตรงกัน จะถือว่าดี เช่น
วัน 3 ค่ำ ขาว-แดง ตรง ขาว-แดง จะดี
วัน 5 ค่ำ ดำ-ขาว ตรง ขาว-เหลือง จะไม่ดี
ส่วนสีอื่นๆ ให้ดูเทียบเคียงกับ 3 สี ดังกล่าว เช่น เทา ก็เทียบได้เคียงกับขาว
การเดินทางออกไปชนไก่
เวลา 1 เช้า ตกเท้า(ดิน) เหนื่อย-อด
เวลา 2 สาย ตกปาก(น้ำ) สบาย-อิ่ม
เวลา 3 บ่าย ตกตา(ลม) รู้-เห็น
เวลา 4 เย็น ตกหลัง(ไฟ) ลำบาก-ยาก
ให้นำไปเทียบกับเวลาข้างต้นด้วย ไก่จะตกอะไร ควรออกเดินทางตอนไหน และให้นำไปดูประกอบกับยามอุบากอง
โฉลกการแต่งกายไปชนไก่
วันอาทิตย์ แต่งกาย ชมพู - แดง ห้ามแต่ง ฟ้า
วันจันทร์ แต่งกาย น้ำเงิน - ดำ ห้ามแต่ง แดง
วันอังคาร แต่งกาย แดง - ดำ ห้ามแต่ง เหลือง - ขาว
วันพุธ แต่งกาย เขียว - ขาว ห้ามแต่ง ชมพู
วันพฤหัสบดี แต่งกาย แดง - ฟ้า ห้ามแต่ง ม่วง -ดำ - น้ำเงิน
วันศุกร์ แต่งกาย ขาว - น้ำเงิน ห้ามแต่ง เทา
วันเสาร์ แต่งกาย ม่วง - เทา ห้ามแต่ง เขียว
เคล็ดลับการปล่อยไก่เข้าสังเวียน
วัน 1 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 2 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน ก่อน
วัน 3 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 4 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 5 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน ก่อน
วัน 6 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 7 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง-ก่อนก็ได้
วัน 8 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 9 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 10 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน ก่อน
วัน 11 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 12 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง
วัน 13 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน ก่อน
วัน 14 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน ก่อน
วัน 15 ค่ำ ให้นำไก่เข้าสังเวียน หลัง-ก่อนก็ได้ในกรณีที่เรานำไก่เข้าสังเวียนไม่ทัน เช่น ต้องเข้าก่อนแต่เราเข้าสังเวียนไม่ทันฝ่ายตรงข้าม ให้เอาเคล็ดปล่อยเข้าชนก่อน คือ เวลากรรมการตบมือเรียกให้ปล่อยไก่เข้าชน ให้เรารีบเสือกดันไก่เข้าก่อนในกรณีเข้าไปนั่งเตรียมปล่อยไก่ ถ้าเลือกทิศทางตรงกันกับฝ่ายตรงข้าม คือ แย่งที่กัน ให้เรานั่งด้านขวา ถ้ายังแย่งกันด้านขวาอีก ก็ให้ถือลมปราณเราขณะนั้น คือ การหายใจเข้าออกทางจมูก ถ้าลมหายใจทางรูจมูกด้านไหนคล่อง ให้นั่งตรงข้ามกับทางคล่องลมปราณ เช่น
- หายใจคล่องทางรูจมูกด้านซ้าย ให้นั่งปล่อยไก่ทางด้านขวา
- หายใจคล่องทางรูจมูกด้านขวา ให้นั่งปล่อยไก่ทางด้านซ้าย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com
 
เนื้อหาสาระ - วิชาการ
เริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
ไข้หวัดนกและบทความ
ตำนานไก่ชนกับพระนเรศวร
การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การเพาะพัฒนาพันธุ์ไก่ชน

ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่
ไก่ตัวเมียและแม่ไก่
การดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
การฟักไข่

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
อาหารที่ดีของไก่ชน
การเลี้ยงลูกไก่ชน
การดูแลลูกไก่ชน
การผสมไก่ให้ได้ผล
การเลี้ยงไก่ให้ได้ผล
เทคนิคการฝึกไก่ชน
วิธีเลี้ยงไก่สำหรับชน
ข้อควรทำในการเลี้ยงไก่ชน
โรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก - น.สพ.วีระชัย
ไข้หวัดนก-ในใจ
ทำไมต้องใช้วัคซีน
"แอ๊ด" โวยโดนปิดบ่อนไก่ชน
"แอ๊ด" บุกทำเนียบป้องไก่ชน
เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน
การดูลักษณะไก่ชน
สารพันทางเทคนิค
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่ามีดีอย่างไร
การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
การเลี้ยงไก่ออกชน
การเปรียบไก่
การดูบาดแผลและการแก้ไข
การดูแลไก่ชน หลังชนมา
ลักษณะไก่เก่งตอนเล็ก
เทคนิคเซียน
สีของไก่ชน
แม่ไม้เชิงไก่
เกล็ดและแข้ง
นิ้วงามตามตำรา
เกล็ดนั้นสำคัญไฉน
ลักษณะไก่ที่ใช้ไม่ได้
การดูการวางแข้ง
การดูแผลตี
ทีเด็ดลูกตี
เลือกซื้อไก่หนุ่ม(มือใหม่)
เลี้ยงปล้ำให้เจ๋งเพื่อชนะ
เทคนิคการวางไก่
เทคนิคเซียนไก่
รู้เหลี่ยมกลโกง
ยอดมือน้ำ
เรื่องโรคและการป้องกัน
เรื่องของสมุนไพร
สารพันสาระน่ารู้
โรคระบาดไก่ชน
วัคซีนฝีมือคนไทย
ข้อปฏิบัตให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน
โรคของไก่กับการป้องกัน
หมอไก่
เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน
สมุนไพรและสรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าแตงกวาน้ำผึ้ง
รูปภาพสมุนไพร
การพัฒนาพันธุ์ไก่ชน
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่า
เรื่องของไก่แพ้
การดูแลไก่หลังชน
รู้เหลี่ยมกลโกง