ในการฟักไข่จะให้ได้ผลนั้นมีปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกันอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน การประเมินผลของการฟักไข่ หรือประสิทธิภาพของการฟักไข่จะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ประกอบคือ
อายุของพ่อแม่ไก่
อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
การเก็บและคัดไข่
ตู้ฟักไข่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
|
พ่อแม่ที่มีอายุมากจะทำให้อัตราการผสมติดและการฟักออกต่ำกว่าไก่ที่มีอายุน้อยอัตราการผสมติดและการฟักออกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับแต่ไข่ไก่ฟองแรกไปสูงสุดเมื่อไก่ไข่ไปได้ 14-16 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงในทางปฏิบัติไข่ไก่ระยะ 1-3 สัปดาห์แรก จะไม่นำไปฟักเพราะไข่ยังฟองเล็กเกินไป แต่จะเก็บไข่ฟักหลังจาก 3 สัปดาห์ ไปแล้ว และเช่นกันไก่ที่ไข่ครบปีแล้วจะไม่เก็บไข่เข้าฟัก เพราะอัตราการผสมติดจะฟักออกต่ำ ดังนั้นจะเก็บเฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ 4 ถึง สัปดาห์ที่ 52 อาหารไก่พันธุ์จะแตกต่างกันกับอาหารไก่ไข่ที่เราผลิตไข่เพื่อบริโภคจะต่างกันในส่วนของไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของตัวอ่อนในไข่ฟัก เช่นไวตามินบี2และบี12และไวตามินอีซึ่งถ้าหากไวตามินเหล่านี้ไม่พอกับความต้องการของร่างกายและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแล้ว จะมีผลกระทบต่อการผสมติด เช่น ขาดไวตามิน จะทำให้การผสมติดและตัวอ่อนตายในระยะอายุ 18 วัน มากกว่าปกติ ถ้าหากขาดไวตามินบี 1 จะทำให้ตัวอ่อนตายในระยะ 7-10 วันมาก โดยเฉพาะขาดไวตามินบี 2 หรือที่เรียกว่าไรโบฟลาวิลแล้วลูกไก่จะตายระยะสุดท้ายมากคือตายโคมมาก ตัวอ่อนจะพัฒนาจนสมบูรณ์ทุกอย่าง ไข่แดงดูดซึมเข้าท้องทุกตัว และมีขนขึ้นเต็มตัวแต่ไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ออกได้ ดังนั้นในการพิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมการฟักไข่จึงให้ผลต่ำกว่ามาตรฐาน จึงใคร่ขอให้คำนึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงแม่พันธุ์ด้วย การใช้อาหารไก่ไข่ที่ใช้ในการผลิตไข่บริโภคมาเลี้ยงไก่แม่พันธุ์ แล้วจะทำให้การฟักออกต่ำ จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มไวตามิน เอ, ดี, อี และบีให้มากขึ้นและอาหารจะต้องใหม่สดอยู่เสมอเพราะอาหารเก่าเก็บไว้นานไวตามินจะเสื่อมสลายทำให้ไข่ขาดไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการผสมติดและฟักออกสำหรับอาหารไก่พ่อพันธุ์จะแตกต่างกับอาหารแม่พันธุ์ตรงที่มีธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ต่ำกว่า การฟักไข่โดยปกติจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจุได้ตั้งแต่ 1,000-10,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่น ๆโดยรวบรวมไข่ให้ได้มาก ๆ จึงนำเข้าตู้ฟักครั้งหนึ่งในทางปฏิบัติเราจะรวบรวมเข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-7 วัน โดยการเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่ปรับอากาศที่มีอุณหภูมิ 65 องศา F (18.3 องศา C) ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% หรือเท่ากับอุณหภูมิตุ้มเปียก 55-58 องศา F
ก่อนที่จะนำไข่เข้าเก็บในห้องเย็นควรจะคัดไข่ไม่ได้ขนาดออกไป ควรเก็บเฉพาะไข่ขนาด 50-65 กรัม/ฟอง ใหญ่หรือเล็กกว่านี้คัดออกพร้อมนี้ได้คัดไข่บุบ ร้าวผิวเปลือกบาง ขรุขระ และรูปร่างผิดปกติออกหลังจากคัดไข่แล้วจะต้องรมควันฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเปลือกไข่รมควันก่อนนำเข้าเก็บในห้องเย็นทุกครั้งการรมควันควรทำในตู้ไม้ปิดฝาสนิทที่จัดสร้างไว้เป็นพิเศษตามความเหมาะสมกับ ปริมาณไข่ไก่ที่จะรมควันในแต่ละแห่งเป็นตู้ไม้ที่มีฝาปิด-เปิดได้ ภายในตู้โล่ง เป็นที่สำหรับวางถาดไข่ที่วางเรียงซ้อนกันได้ หรือแบ่งเป็นชั้น ๆ แต่พื้นเจาะรูให้ควันผ่านได้ การรมควันให้ใช้ด่างทับทิม จำนวน 17 กรัม ใส่ลงบนถ้วยแก้วหรือถ้วยกระเบื้อง (ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ) แล้วเติมด้วยยาฟอร์มาลิน 40% จำนวน 30 ซีซี. ลงไปในถ้วย ชั่วครู่จะมีควันเกิดขึ้นและรีบปิดฝาตู้ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วจึงเปิดฝาและทิ้งไข่ไว้อีกนาน 20-30 นาที จึงนำไปเข้าห้องเก็บไข่ ส่วนผสมของด่างทับทิมและฟอร์มาลิน 40% ดังกล่าวใช้สำหรับรมควันตู้ขนาด 100 ลูกบาศก์ฟุต ถ้าหากท่านมีตู้รมควันเล็กกว่านี้ก็ให้ลดน้ำยาและด่างทับทิมลงตามส่วน การเก็บไข่ไว้ในห้องเย็นควรจะเรียงไข่ไว้บนถาดใส่ไข่ที่เป็นพลาสติกที่สามารถซ้อนกันให้สูงเป็นตั้ง ๆ ได้ เพื่อป้องกันลมในห้องไม่ให้ผ่านไข่มากเกินไป และสะดวกต่อการกลับไข่ การกลับไข่โดยการใช้มือเขย่าถาดไข่ทั้งตั้งให้เคลื่อนไหวเบา ๆ ทำทุก ๆ วัน ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดอัตราการตายของตัวอ่อนระยะ 1-7 วันได้มาก
ก่อนที่จะนำไปเข้าฟักจะต้องนำไข่ออกผึ่งไว้ในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือผึ่งอากาศนอกห้องเย็นไว้หนึ่งคืนก่อนจึงนำเข้าตู้ฟัก ตู้ฟักไข่ไก่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นตู้ฟักไข่ไฟฟ้า มีขนาดบรรจุแตกต่างกันตั้งแต่ 100 ฟอง จนถึง 100,000 ฟอง/ตู้ แต่โดยหลักการและวิธีการแล้วทุกตู้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน 4 ชนิดดังนี้ พัดลม ทำหน้าที่กระจายความร้อนในตู้ให้สม่ำเสมอพร้อมกันนี้จะทำหน้าที่ดูดอากาศดีเข้าไปในตู้ และอีกด้านหนึ่งจะเป่าอากาศเสียออกจากตู้ โดยจะรักษาอากาศที่ดีมีอ๊อกซิเจน 21% ไว้ในตู้ให้มากที่สุด และลดระดับ อากาศคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ให้ต่ำกว่า 0.5% ความเร็วของลมประมาณ 750-1400 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับขนาดของใบพัด และรักษาการเคลื่อนไหว ของพัดลมผ่านไข่ในถาดไม่ให้เร็วเกินไป ส่วนใหญ่แล้วลมจะพัดผ่านไข่ด้วยความเร็ว 7 ชม. ต่อวินาที ในขณะที่เดินเครื่องพัดลมจะเป่าอากาศออกและดูดอากาศเข้าตลอดเวลาและต้องการอากาศหายใจเป็นทวีคูณตามอายุของการฟักไข่ เช่น ไข่ 1,000 ฟอง ต้องการอากาศหายใจเมื่ออายุ 1 วัน 18 วัน และ 21 วัน เท่ากับ 2-3, 143 และ 216 ลูกบาศก์ฟุตต่อชั่วโมงตามลำดับซึ่งมากกว่าถึง 100 เท่าของระยะแรก ๆ
การตั้งพัดลมจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป่าลมไปกระทบไข่โดยตรง ด้านหน้าพัดลมจะมีลวดร้อนไฟฟ้าให้ความร้อนแก่ตู้ฟัก พัดลมจะพัดผ่านความร้อนแล้วนำความร้อนไปกระทบผนังตู้ก่อนแล้วจึงกระจายไปบนไข่ไก่ด้วยแรงสะท้อนจุดตรงที่ลมกระทบผนังนี้จะเจาะรูไว้สำหรับให้อากาศออกส่วนด้านตรงข้ามของรูออกจะเป็นตำแหน่งเจาะรูสำหรับอากาศดีเข้าตู้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับและพัดลมไหม้จะทำให้อากาศภายในตู้ร้อนจัด และไม่มีอากาศหมุนเวียน ลูกไก่จะตายหมดดังนั้นในด้านปฏิบัติจึงต้องเปิดฝาตู้ฟักไข่ไว้จนกว่าไฟฟ้าจะมาหรือซ่อมพัดลมเสร็จ การเปิดฝาตู้ฟักขึ้นอยู่กับอายุของไข่ในตู้ถ้าหากไข่อายุน้อยเปิดเพียงแง้มตู้ไว้เป็นพอแต่ถ้าไข่อายุมาก จะต้องเปิดกว้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายในร้อนจัด ซึ่งเป็นความร้อนที่เกิดจากการหายใจของลูกไก่จุดวิกฤตที่จะต้องเอาใจใส่อย่างยิ่งคือช่วงสุดท้ายของการฟักไข่คือระหว่าง 18-21 วัน ถ้าหากไฟฟ้าดับพัดลมไม่เดินลูกไก่จะตายภายใน 10-20 นาที เพราะลูกไก่ขาดอากาศ จึงต้องคอยระวังอย่างใกล้ชิดและเปิดฝาตู้ทันทีที่ไฟดับ ลวดร้อนไฟฟ้าเป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ตู้ฟักจะวางอยู่หน้าพัดลมหรือใกล้ ๆ พัดลม ลวดร้อนมีขนาดตั้งแต่ 100 วัตต์ ถึง 1,500 วัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ ตู้บรรจุ 10,000 ฟอง ใช้ลวดร้อนประมาณ 750-1,000 วัตต์ ในตู้หนึ่ง ๆ อาจจะวางลวดร้อนไฟฟ้าไว้หลายแห่งตามจำนวนพัดลมที่ใช้
การทำงานของลวดร้อนจะถูกควบคุมด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ จุดที่ต้องสนใจของลวดร้อนไฟฟ้าคือระวังอย่าให้ถูกน้ำจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และช๊อตเป็นอันตรายและถ้าหากเดินเครื่องแล้วอุณหภูมิตู้ไม่สูงขึ้น อาจจะเนื่องมาจากสายลวดร้อนขาดหรือไม่ก็สะพานไฟหรือสายไฟที่ต่อเข้าลวดร้อนขาดตอนบางแห่ง หรือไม่ก็อุปกรณ์ที่ควบคุมลวดร้อนเสีย เครื่องควบคุมความร้อนอัตโนมัติ การควบคุมอุณหภูมิของตู้ฟักไข่ให้อยู่ระดับที่ต้องการและรักษาระดับให้สม่ำเสมอเหมาะกับความต้องการฟักไข่นั้น ในปัจจุบันมีอยู่ 2
ระบบที่หนึ่งเป็นระบบที่ควบคุมด้วยเทอร์โมมิเตอร์ที่มีคุณสมบัติวัดอุณหภูมิภายในตู้ และทำหน้าที่เป็นตัวตัดไฟเข้าลวดร้อนไฟฟ้าผ่านการทำงานของ Selenoi ระบบที่สองเป็นระบบที่ควบคุมความร้อนด้วยเวเฟอร์และไมโครสวิช ระบบควบคุมด้วยเทอร์โมมิเตอร์ มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 4 ชิ้น คือ เทอร์โมมิเตอร์แผงอิเล็คทรอนิค Selenoi และลวดร้อนไฟฟ้าเทอร์โมมิเตอร์ จะถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิ 99 องศา F หรือ 100 องศา F หรือ 98.8 องศา F หรือ 86 องศา F เลือกได้ตามต้องการ เทอร์โมมิเตอร์นี้ราคาแพงประมาณอันละ 2,400-3,200 บาท และเป็นวัตถุทำด้วยแก้วบางแตกได้ง่ายถ้าไม่ระวังเทอร์โมมิเตอร์มีปลอกตะกั่วอยู่ 2 แห่งภายในปลอกตะกั่วจะมีลวดแพลตินัมแข็งเชื่อมระหว่างปรอทภายในเทอร์โมิเตอร์กับตะกั่วรอบนอก ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟฟ้า Selenoi(ซีลีนอย)ทำหน้าที่เป็นสวิชปิดเปิดไฟแรงสูงไปยังลวดร้อนไฟฟ้าสวิชมีความทนทานต่อความร้อนที่เกิดจากการไฟฟ้ากระโดดจากขั้วหนึ่งไปขั้วตรงกันข้ามอันเนื่องมาจากลวดร้อนกินไฟมากการปิดหรือเปิดสวิชของ Selenoi จะสั่งการโดยเทอร์โมมิเตอร์อีกขึ้นหนึ่งตัว Selemoi ส่วนมากจะใช้ไฟกระแสตรง DC 24 V แผงอิเล็คทรอนิค เป็นส่วนประกอบที่ช่วยลดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเทอร์โมมิเตอร์ไม่ให้กระโดด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้แถบปรอทบาง ๆ ขาดหรือไหม้ใช้การไม่ได้
การที่เครื่องฟักไข่ไม่ทำงานตามปกติเกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความร้อนและความชื้น สาเหตุเนื่องมาจากแผงอิเล็คทรอนิคไหม้การจากเทอร์โมมิเตอร์ไปยัง Selenoi ถูกตัดขาดด้วยแผงอิเล็คทรอนิคจึงทำให้เครื่องฟักไข่ไม่ทำงานแผงอิเล็คทรอนิคนี้อยู่ใกล้ ๆ กับ Selenoi เป็นแผ่นบาง ๆ รูปสีเหลี่ยมขนาดประมาณ 4 + 5 ที่มี Transistor และ Resister เป็นส่วนประกอบ ถ้าหากแผงนี้ไม่ทำงานและไหม้จำเป็นจะต้องเปลี่ยนใหม่ โดยปกติแล้วแผงนี้มีอายุการใช้งานได้นานหลายปีถ้าหากไม่มีเหตุไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น บางครั้งแผงไม่ทำงานอาจเนื่องมาจากขั้วเสียบไฟฟ้าของแผงหลวมไฟฟ้าเดินไม่สะดวกก็เป็นได้ ดังนั้นก็ทดลองขยับและเสียบให้แน่นก็ช่วยแก้ปัญหาได้ ลวดร้อนไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดความร้อนในตู้ฟักไข่ใช้ไฟ 220 V กินไฟฟ้าตั้งแต่ 100-1500 วัตต์ มีรูปร่างต่างกันตามแต่ผู้ผลิตตู้ฟักกำหนดส่วนใหญ่แล้วมี 2 แบบคือแบบเส้นลวดขดเป็นวงกลม เช่น ลวดร้อนของเตาไฟฟ้าที่ใช้หุงต้มกันในบ้าน ลวดร้อนนี้จะถูกยืดออกให้ยาวเพื่อไม่ให้เกิดความร้อนจัดจนออกสีแดง ชนิดนี้มีจุดอ่อนคือถ้าหากมือของเราจับพลาดไปถูกเส้นลวดเข้าจะถูกไฟช๊อต และบางครั้งลวดร้อนจะขาด เนื่องจากใช้งานนานหรือไฟฟ้าลัดวงจร ลวดร้อนแบบที่สองเป็นขดลวดรูปตัวยู ภายในใส้กลางจะบรรจุลวดร้อนไฟฟ้ารอบ ๆ ลวดร้อนอัดด้วยสารประเภทซิลิก๊อนไม่เป็นฉนวนไฟฟ้า จึงทำให้ไฟฟ้าไม่ช๊อตเมื่อมือของเราสัมผัสลวดร้อนชนิดนี้ใช้งานได้ทนทานและไม่ค่อยจะขาด เนื่องมาจากไฟไม่ลัดวงจรลวดร้อนทั้งสองแบบทำงานโดยการควบคุมของ Selenoi จะเป็นตัวปิดหรือเปิดกระแสไฟฟ้าให้ผ่านลวดร้อน
อุปกรณ์ที่ควบคุมอุณหภูมิตู้ฟักไข่ชนิดที่สอง ที่เป็นแบบเวเฟอร์และไมโครสวิชเป็นวิธีการง่ายที่สุดและใช้งานได้ดีไม่ค่อยมีปัญหาเช่นวิธีการควบคุมด้วยเทอร์โมมิเตอร์ อุปกรณ์นี้มีส่วนประกอบ 3 ชิ้นด้วยกันคือเวเฟอร์ ไมโครสวิช และลวดร้อน เวเฟอร์มีรูปร่างกลม ๆ ทำด้วยแผ่นทองเหลืองบางสองชั้นปะกบกันและบัดกรีด้วยตะกั่วป้องกันไม่ให้มีรอยรั่ว ทั้งสองด้านของเวเฟอร์อัดให้เป็นร่องและสันนูนทรงกลม 3-4 วง ภายในระหว่างแผ่นทองเหลือง 2 ชั้นของเวเฟอร์อัดด้วยสารระเหยพวกอีเธอร์เช่นไดเมธิอีเธอร์ จำนวน 0.5 ซีซี. สารอีเธอร์มีลักษณะเหลวเมื่ออุณหภูมิต่ำแต่จะกลายเป็นสารระเหยหรือไอเมื่ออุณหภูมิสูงมากกว่า 25 องศา C ในขณะที่สารอีเธอร์กลายเป็นไอนี้จะเกิดความดันขึ้น จะดันมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่ระเหยและอุณหภูมิที่ใส่เข้าไป ไมโครสวิชเป็นสวิชที่ปิด-เปิดกระแสไฟฟ้าไปยังลวดร้อน ไมโครสวิชมีหลายขนาดเลือกใช้ตามขนาดของลวดร้อนไฟฟ้าที่ใช้ถ้าตู้ฟักไข่ขนาด 1,000 ฟอง ขึ้นไปใช้ไมโครสวิชขนาด 10-15 A ตู้เล็กขนาด 100-500 ฟอง ใช้ไมโครสวิชเล็ก 3-5A ถ้าลวดร้อนใหญ่ ไมโครสวิชเล็ก ไมโครสวิชจะไหม้เมื่อใช้ไปนาน ๆ ทั้งไมโครสวิชและเวเฟอร์จะประกอบอยู่บนโครงยึดอันเดียวกัน โดยให้ไมโครสวิชอยู่ด้านหน้าเวเฟอร์ ทั้งชุดจะถูกยึดไว้ในตู้ให้โผล่คันปรับอุณหภูมิออกมาข้างนอกตู้ฟักตรงจุดที่ผู้สร้างบอกว่าเป็นที่ปรับอุณหภูมินั่นเอง ต่อจากไมโครสวิชจะมีสายไฟต่อไปยังลวดร้อนไฟฟ้า การทำงานโดยหลักการแล้วเริ่มจากเดิมเครื่องฟักไข่ พัดลมจะหมุน ไมโครสวิชจะปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านไปยังลวดร้อน ลวดร้อนจะร้อนขึ้น พัดลมจะกระจายความร้อนให้ทั่วตู้ลวดร้อนจะยังคงทำงานต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้อากาศในตู้ฟักมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงจุด 25 องศา อีเธอร์ ภายในเวเฟอร์จะระเหยกลายเป็นไอมีแรงดันให้แผ่นทองเหลืองขยายตัวออก (เพราะไม่มีรูให้ระเหยออก) และจะพองตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนไปดันไมโครสวิชให้ตัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้เข้าลวดร้อน ลวดร้อนเย็นลงอุณหภูมิในตู้ฟักไข่เย็นลง อีเธอร์จะกลับสภาพกลายเป็นเหลวทำให้สะพานไฟในไมโครสวิชต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าผ่านไปยังลวดร้อนอีก การทำงานจะเริ่มต้นอีกเช่นนี้ตลอดระยะเวลาของการฟักไข่
การควบคุมอุณหภูมิด้วยเวเฟอร์ไมโครสวิชนี้จะมีปัญหาเฉพาะในกรณีเวเฟอร์มีรอยรั่วอีเธอร์ระเหยออกได้ ทำให้การควบคุมอุณหภูมิไม่ได้หรือไม่ก็ไมโครสวิชไหม้เนื่องจากใช้งานมานานหรือว่าหน้าทองขาวในไมโครสวิชมีเขม่าไฟจับหนาทำให้ไฟฟ้าเดินไม่สะดวก หรือไม่ก็มีคนไปหมุนให้ตำแหน่งเติมของเวเฟอร์เคลื่อนที่ทำให้อุณหภูมิผิดไปจากเดิมวิธีตรวจสอบว่าเวเฟอร์รั่วหรือไม่ โดยการจุ่มเวเฟอร์ลงไปในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 90-100 องศา F แล้วสังเกตเห็นเวเฟอร์พองตัว ถ้าหากมีรูรั่วจะเห็นฟองอากาศผุดขึ้นมา ถ้าหากไม่มีอากาศผุดขึ้นมาแต่เวเฟอร์ฟองตัวแสดงว่ายังมีคุณภาพดีอยู่ส่วนเวเฟอร์ตัวที่ไม่มีการพองตัวขึ้นเลยแสดงว่าเสีย เพราะอีเธอร์ระเหยออกไปหมดแล้ว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเวเฟอร์ใหม่ หรือส่งไปอัดน้ำยาใหม่ที่กลุ่มงานสัตว์ปีก ส่วนไมโครสวิช ถ้าไหม้ก็ให้เปลี่ยนใหม่ถ้าหากไฟเดินไม่สะดวกให้นำไปเขย่าในน้ำมันเบนซิน เพื่อล้างละลายเขม่าออกก็เป็นใช้ได้ การทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิในตู้ฟักไข่ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ เริ่มจากปิดสวิชเดินเครื่องตู้ฟักไข่ พัดลมจะหมุนทำงานตลอดเวลา Selenoi จะปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังลวดร้อน (Heater) ความร้อนจะเกิดขึ้นพัดลมจะกระจายความร้อนให้ทั่วตู้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นทำให้ปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ขยายตัวตามสัดส่วนของอุณหภูมิในตู้ และปรอทจะขยายตัวไหลในรูของเทอร์โมมิเตอร์ผ่านเส้นลวดแพทตินัมเล็ก ใต้ปลอกตะกั่วอันต่ำสุด และขยายตัวไปจนถึงลวดแพทตินั่มใต้ปลอกตะกั่วอันบนสุด ทำให้กระแสไฟไหลผ่านระหว่างขั้วล่างและขั้วบนได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นกระแสที่มีปริมาณน้อยมาก เป็นมิลิแอมแปร์ของไฟ DC 24 V กระแสจะไหลผ่านแผงอิเล็กทรอนิคทำให้ไม่เกิดการ Spark ขึ้นที่ปรอทป้องกันปรอทไหม้จากนั้นกระแสจะไหลไปยัง Selenoi ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กขึ้นที่นี่และแม่เหล็กใน Selenoi จะดูดให้สวิชที่เป็นสะพานไฟฟ้าไปยังลวดร้อนให้ห่างออกจากกันไฟฟ้าแรงสูง 220 V 700-1500 A จะไม่ผ่านไปยังลวดร้อน ความร้อนก็ไม่เกิด อุณหภูมิภายในตู้จะลดลง ปรอทในเทอร์โมมิเตอร์จะหดตัวทำให้ปรอทและลวดแพทตินั่มอันบนขาดจากกันกระแสไฟฟ้า DC 24 V ไม่ไหลผ่านทำให้ Selenoi ไม่มีกระแสไฟจึงหมดสภาพเป็นแม่เหล็ก ไม่มีแรงดูด เลยเป็นโอกาสของลวดสปริงบนสวิทดันให้สวิทออกมาทำให้วงจรไฟฟ้าแรงสูง 220 V ไปยังลวดร้อนต่ออีกครั้งและทำให้เกิดความร้อนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การทำงานจะหมุนเวียนเป็นระบบครบวงจรอย่างนี้ตลอดไปด้วยระบบเดียวกันเราก็สามารถประยุกต์ไปใช้กับการควบคุมความชื้นได้ด้วยโดยต่อไปจากซีลีนอย (Selenoi) ไปยังวาวปิด-เปิดก๊อกน้ำไฟฟ้า และดัดแปลงเทอร์โมมิเตอร์ให้สามารถวัดความชื้นได้ โดยการใช้ผ้าสำลีหรือผ้าฝ้ายยาวประมาณ 6 นิ้ว หุ้มกระเปาะปรอทยึดมัดให้ติดแน่นพอประมาณ แล้วแช่ปลายผ้าอีกด้านหนึ่งไปในขวดน้ำสะอาดเป็นน้ำฝนได้ยิ่งดีขวดน้ำเล็ก ๆ แขวนไว้ห่างกันเทอร์โมมิเตอร์ประมาณ 2 นิ้ว น้ำจะซึมผ่านผ้าไปยังก้นเทอร์โมมิเตอร์ทำให้เปียกชื้นอยู่เสมออุณหภูมิที่ผ่านได้เราเรียกว่าอุณหภูมิตุ้มเปียก อ่านออกมาเป็นองศา F ใช้วัดความชื้นในอากาศตู้ฟักไข่ได้ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของตู้ฟักไข่ด้วยเทอร์โมมิเตอร์มีจุดที่จะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขในกรณีที่เกิดมีปัญหาการทำงานของตู้ผิดปกติคือ
1. ตรวจสอบตัวเทอร์โมมิเตอร์ อาจจะเสียบไม่สนิทกับขาเสียบทำให้ไฟเดินไม่สะดวก หรือขาเสียบเป็นสนิม หรือไม่ก็ปรอทขาดเป็นท่อน ๆ ทำให้ไฟฟ้าผ่านไม่ได้ ปรอทมีคุณสมบัติเป็นโลหะที่มีสภาพเป็นของเหลว ดังนั้นถ้าหากมันขาดไฟก็เดินผ่านไม่ต่อเนื่องวิธีการแก้ไขคือ นำเทอร์โมมิเตอร์ไปแช่ในตู้เย็นช่องน้ำแข็ง ให้ปรอทหดตัวและต่อกันใหม่อีกอย่างปรอทอาจจะไหม้ทำให้ปรอทขาดและสั้นกว่าเก่า จะทำให้อุณหภูมิของตู้ฟักสูงกว่าที่กำหนดสาเหตุเนื่องมาจากแผงอิเล็กทรอนิคเสียไม่ทำงานหรือการต่อกระแสไฟฟ้าผ่านเทอร์โมมิเตอร์โดยตรงสำหรับเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ควบคุมความชื้นจะต้องทำความสะอาดผ้าฝ้ายหุ้มกระเปาะทุก ๆ สัปดาห์ซักฟอกเอาหินปูนออก ทำให้การดูดซึมและระเหยของน้ำถูกต้องยิ่งขึ้น
2.แผงอิเล็กทรอนิคโดยปกติไม่มีปัญหาอาจจะเสียบไม่แน่นหรือแผงเคลื่อนที่ในกรณีแผงไหม้ก็ต้องให้ช่างวิทยุเป็นคนตรวจสอบให้หรือส่งไปที่กลุ่มงานสัตว์ปีก ในขณะที่ส่งไปนั้นให้ใช้แผงสำรองทำงานแทนถ้าแผงผิดปกติส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความร้อนและความชื้นจะไม่ทำงานเลย 3. Selenoi ทำหน้าที่สวิชตัด-ต่อไฟไปยังลวดร้อน หรือวาวปิด-เปิดน้ำทำความชื้น ถ้า Selenoi ไหม้อุณหภูมิจะร้อนจัด ไข่ฟักจะตายหมดถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะลวดร้อนทำงานไม่หยุดร้อนตลอดเวลาต้องเปลี่ยน Selenoi ใหม่ บางครั้งขา Selenoi เสียบปลั๊กตัวเมียไม่แน่นและอีกประการหนึ่งที่คนไม่เคยสนใจคือหน้าทองขาวของสะพานไฟ หรือสวิทมีเขม่ามากหรือทองขาวไหม้อันเกิดจากไฟฟ้า Spark ทุกครั้งที่เกิดจากการตัด-ต่อไปยังลวดร้อน หรือวาวก๊อกน้ำ เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวใช้กระแสไฟจำนวนมาก จึงทำให้หน้าทองขาวร้อนจัดบางครั้งถึงกับทำให้ละลายเชื่อมติดกัน นับเป็นอันตรายอย่างยิ่ง จึงควรตรวจสอบอยู่และควรจะเดือนละ 1-2 ครั้ง ในกรณีที่เป็นเขม่าก็เปิดออกมาเช็ด และขัดด้วยกระดาษทราย
การผสมไก่ให้ได้ผล การดูแลลูกไก่ การปฏิบัติต่อแม่ไก่ขณะฟักไข่ ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่