เรื่องของสมุนไพรไก่ชนสมุนไพรสำคัญสำหรับคนและสัตว์สมุนไพรที่เอามาใช้กับคนก็ไม่แตกต่างอะไรกับสมุนไพรที่ใช้กับสัตว์ เช่นไก่ชนเลย เพียงแต่มีความแตกต่างกันบ้างในสมุนไพรบางอย่าง ที่อาจจะน้อยหรือมากกว่าของคนเราเท่านั้น รวมกับขนาด ปริมาณ ที่จะต้องเอามาใช้ด้วย เพราะขนาดรูปร่าง น้ำหนัก ของไก่ที่แตกต่างกว่ารูปร่าง น้ำหนักของมนุษย์เท่านั้น
สมุนไพรกับไก่ชนใช้กันมาช้านาน
สมุนไพรไก่ชน มีอยู่แล้วในสมัยโบราณ เพราะบรรพบุรุษไทยเราท่านนำเอาไก่ชนมาตีกัน ชนกัน เป็นกีฬามาช้านาน ตั้งแต่ยุคสมัยเก่าก่อนยุคสมัยของสุโขทัยเมื่อไก่ชนเกิดอาการเจ็บ ป่วยขึ้นมาจำเป็นจะต้องเอาสมุนไพรมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น
สมุนไพรไก่ชนน่าสนใจ น่ารู้ และน่ารวบรวมเอามาเพื่อบรรดานักเล่น นักเลี้ยงไก่ชนทั้งหลาย จะได้เข้าใจ และรู้จักมากขึ้น เอาไปใช้ประโยชน์ได้ดี ได้ผล เพื่อเป็นการใช้กันอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามวิธีการที่สืบทอดต่อเนื่องกัน
สัตว์เล็กๆ มีประโยชน์
ในสมัยก่อนนั้น นอกจากเอาข้าวเปลือกให้ไก่ชนได้กินอย่างดีแล้ว สิ่งที่เป็นอาหารชั้นดีของไก่ชนก็จะต้องเป็นแมลงต่างๆ สัตว์ตัวเล็กๆที่มีอยู่เป็นต้นว่า เขียดตัวเล็กๆหอยบางชนิด ที่แกะเอาแต่เนื้อมาให้ไก่กิน
จิ้งจก จัดว่าเป็นอาหารไก่ชนชั้นเยี่ยมในยุคสมัยโบราณเอาให้ไก่กินเสมอๆไก่ชนของท่านที่เลี้ยงไว้จะร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงกำลังดีแข็งแกร่งฉกรรจ์ยิ่งนักทีเดียว
ปลวก การเอาตัวปลวกมาให้กินนับว่ายอดเยี่ยมยิ่งนัก ขุดเอาดินจอมปลวกที่มีปลวก เอามาสับๆไก่ชนจะชอบเป็นพิเศษนี่ก็ได้พลังร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแกร่งมาก
กระดูกก็สำคัญสำหรับไก่ชน
กระดูกไก่เล็กๆ โครงไก่ เอามาสับละเอียด ให้ไก่กินก็เยี่ยมเช่นกัน เป็นอาหารสดที่มาจากเนื้อสัตว์ที่ดี ได้แคลเซียมยมจากกระดูกสัตว์ดังกล่าวอีกด้วย การเอาสมุนไพรบางอย่างมาผสมกับอาหารไก่ชนก็เป็นเรื่องที่ดีมากอีกอย่างหนึ่ง โดยการเอาสมุนไพรที่เหมาะสมมาโขลกละเอียดเสียก่อน แล้วเอามาผสมกับอาหารซึ้งแล้วแต่ว่าผู้เลี้ยงไก่แต่ละราย จะต้องการอย่างไร อาจจะเอาสมุนไพรบางอย่างที่โขลกหรือบดละเอียดมาผสมเข้าไปด้วย เช่น ใส่ผสมลงไปกับโครงไก่สับ ผสมรวมกันคลุกเคล้ารวมกันไปกับลำข้าวก็ยังได้อีกด้วย เป็นการกินอาหารไป พร้อมกับกินสมุนไพรที่เอาไปบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือช่วยย่อย คุมธาตุ ทำให้ระบบการย่อยอาหารเป็นไปได้ด้วยดี หากการกินอาหารหลักเพียงอย่างเดียว เช่นข้าวเปลือก อาการขาอ่อนก็จะเกิดขึ้น ร่างกายอาจจะขาดสารอาหารบางอย่างก็ได้ ยิ่งถ้ากักขังเอาไว้ในเล้า ในสุ่ม ไก่ชนไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่ได้จิกตัวแมลงกิน ไก่ชนก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เมื่อเลี้ยงเป็น เลี้ยงดี ก็ทำให้ไก่ชนได้รับอาหารที่มีคุณค่า มีสารอาหารที่ดีมาเสมอรวมกับได้รับยาสมุนไพรที่เป็นประโยชน์อีกทำให้มีภูมิต้านทานโรคที่สูงท้องไส้ระบบการย่อยอาหารก็ดีเป็นปกติ เพราะกินยาสมุนไพรคุมธาตุช่วยย่อยขับถ่ายดีเพราะมีการ ระบายด้วย อาหาร และยาสมุนไพรไปในตัวเวลากินอาหาร ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงดีมาก เพราะมีโอกาสกินยาสมุนไพรบำรุงเข้าไปรวมกับอาหารอาหารสดๆที่กล่าวมานั้น เป็นอาหารจากธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมในการเอามาให้ไก่ชนกิน เพราะมีคุณค่ามากมายในโภชนาการที่เป็นอยู่
พืชสมุนไพรสำคัญสำหรับไก่ชน
พืชสมุนไพรทั้งหลายนั้น จะต้องทราบด้วยว่าจะเอาส่วนใดมาปรุงเป็นยาได้บ้าง
หัว หรือ เหง้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น เหง้ากระชาย เหง้าข่า เหง้าขิง เหง้าขมิ้น ฯลฯ
ราก ของยาสมุนไพรก็เอามาปรุงเป็นยาได้ด้วยเช่น รากต้นถั่วพู รากต้นมะพร้าว รากไทรย้อย รากชะพลู ฯลฯ
เมล็ด เป็นส่วนหนึ่งของพืชสมุนไพร ที่เอาเมล็ดมาปรุงเป็นยาสมุนไพรก็ได้ เช่น เมล็ดพริกไทยดำ เมล็ดข่อย เมล็ดแมงลัก ฯลฯ
แก่น ของต้นสมุนไพรก็เช่นเดียวกัน มีหลายชนิด เช่น แก่นสัก แก่นขนุน แก่นขี้เหล็ก แก่นจำปา ฯลฯ
ใบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพืชสมุนไพรได้ดี ใบจากพืชสมุนไพรมีมากมายหลายชนิดทีเดียว เป็นต้นว่า ใบฝรั่ง ใบมะกรูด ใบชะพลู ใบพลับพลึง ใบเตยหอม ฯลฯ
ยอดอ่อน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นพืชคือ ยอดอ่อนนั้นเอง เป็นต้นว่า ยอดแค ยอดผักบุ้งนา ยอดกระเฉด ยอดกระถิน ฯลฯ
ผล ของพืชสมุนไพรก็มีอยู่เช่น ผลมะตูม ผลสมอ ผลมะระ ผลมะยม ฯลฯ
เกสรดอกไม้ เอาส่วนของเกสรดอกไม้มาใช้ประโยชน์ก็ได้เช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า เกสรบัวหลวง เกสรดอกคำฝอย เป็นต้น
พืชสมุนไพรต่างๆนั้น เอายังสดๆ หรือตากแห้งแล้วก็ได้ บางทีเอามาใช้อย่างอ่อน หรืออย่างที่แก่ก็ได้ ใบอ่อน ใบแก่ ฝักอ่อน ฝักแก่ ส่วนมากแล้วจะระบุเอาไว้อย่างชัดเจนทีเดียว อย่างขิงก็เช่นเดียวกัน เป็นขิงอ่อน หรือ ขิงแก่จะต้องบ่งบอกเอาไว้ในตำรายาเสมอ เพื่อให้ผู้ปรุงยาได้ทราบอย่างถูกต้องตรงตามตำหรับยาเสมอ สมุนไพรบางอย่างนั้น บางทีจะต้องทำให้อ่อนลงมาเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็มีสรรพคุณที่แรงมากเกินไปได้อาจจะเกิดอันตรายขึ้นมาทำให้ผู้ป่วยเมาหรือเกิดพิษอย่างเช่น เมล็ดสลอดยางของต้นสลัดได (กระบองเพชร ) ชะมดเช็ด เป็นต้น สมุนไพรบางชนิดอาจจะเสื่อมคุณภาพลงไปก็ได้ เช่น เก็บเอาไว้นานเกินสมควรคุณภาพก็เปลี่ยนแปลงไป อ่อนสรรพคุณลง ออกฤทธิ์ไม่ได้นานเท่าที่ควรอย่างที่เป็นสมุนไพรใหม่ๆ การเอาสมุนไพรมาปรุงเป็นยาจึงต้องระมัด ระวัง อย่างมากสมุนไพรไก่ชนสำคัญมากต้องใช้ "จะต้องเอามาใช้อย่างดี ถูกต้อง เพราะความถูกต้องนั้นคือหัวใจของการใช้สมุนไพรที่ดี "
การเก็บเอาเหง้าหรือหัวของสมุนไพรใต้ดิน
ก่อนอื่น จะต้องมีความระมัดระวังอย่าให้หัวหรือเหง้าของพืชสมุนไพรที่กำลังขุด เกิดการฉีก ขาด เสียหาย ชอกช้ำ เป็นอันขาด แม้การเอาสมุนไพรชนิดที่เป็น เหง้าหรือหัวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจจะมีความละเอียดอ่อนมากกว่าการไปเอา ใบ เปลือก ดอกเสียด้วยซ้ำการขุดจะต้องพิจารณาดูให้ดีขุดโดยรอบเป็นบริเวณกว้างเสียก่อนจึงค่อยๆขุดเข้าไปหาเหง้าหรือส่วนหัวทีละน้อย อย่าง ปราณีต บรรจง เพื่อป้องกันการเสียหายดังกล่าว เมื่อได้มาแล้วก็นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด ต้องระวังอย่าให้เปลือกนอกชอกช้ำเป็นอันขาด เกิดริ้วรอยตำหนิขึ้นมาแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ดีเลย
เหง้า หัว สมุนไพรบางอย่างอาจจะต้องเอามาตากแห้งอีก เพื่อให้น้ำที่อยู่ภายในระเหยออกไปให้หมด แล้วจึงเก็บเอาไว้ในโหล ภาชนะปิดฝาสนิทแน่น ถ้าเกิดเป็นเหง้า หัว ที่มีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาอาจจะต้องเอามาหั่น เอามาฝาน เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ก่อนก็ได้การเก็บสมุนไพรทั้งหลายนี้ มีข้อกำหนดว่า หากเป็นพืชสมุนไพรที่เป็น เหง้า หัว ถ้าจะให้ดีถูกต้องตามตำราโบราณ ควรขุดเอาตอนที่สมุนไพรกำลังออกดอก ซึ้งมีความหมายถึงพืชสมุนไพรนั้นแก่จัด สรรพคุณทางยามากมายที่สุด
การเก็บเอาดอกของพืชสมุนไพรมาปรุงยาอย่างถูกต้องตามตำราโบราณระบุเอาไว้ว่า สมควรเลือกเก็บเอาดอกไม้ที่เป็นดอกสมุนไพรทั้งหลายในเวลาที่กำลังเริ่มเบ่งบานออกมา เรียกว่ากำลังแรกแย้มออกมาจะดีที่สุดเป็นเวลาที่พืชกำลังแก่จัด มีสรรพคุณทางยาที่ดีมากที่สุด มีสารสำคัญทางยาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในช่วงเวลานี้ ดอกที่ตูมก็ไม่ดีดอกที่บานจนมากที่สุดแล้วก็ไม่ดีพอ ดอกที่บานจนโรยราก็ไม่ดีอีกเช่นกัน
ใบพืชสมุนไพรตำราระบุเอาไว้ว่า ให้เก็บเอาใบพืชสมุนไพรที่เรียกว่า เพสลาด มาใช้ประโยชน์ ก็จะต้องเก็บเอาตามนั้น ใบเพสลาด ก็หมายถึงใบที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อ่อนไปก็ไม่เหมาะแก่เกินไปก็ไม่ดี สรรพคุณทางยาอ่อนลงไปแล้ว จึงกำหนดเอาใบที่ไม่แก่ ไม่อ่อนจนเกินไปเท่านั้น จะได้สรรพคุณทางยาที่เต็มเม็ด เต็มหน่วยมากกว่า
การทำให้พืชสมุนไพรแห้งอย่างถูกวิธีไม่มีอะไรดีไปกว่าการตากแดดให้แห้ง
การอบ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง อบให้แห้งแล้วก็ทำลายเชื้อต่างๆที่อาจจะมีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆ แล้วเก็บสมุนไพรนั้นเอาไว้นานๆโดยไม่เสียหาย ไม่เสียสรรพคุณทางยาไปไหน เพียงแต่เป็นการไล่น้ำที่มีอยู่ให้ระเหยออกไปเท่านั้น เหลืออยู่แต่สารที่สำคัญของสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างเข็มข้น สามารถนำมาใช้ปรุงยาได้อย่างมีสรรพคุณที่ดีเสมอ เพียงเก็บเอาไว้อย่างดี อย่าให้เกิดความชื้น ขึ้นรา เกิดมีตัวมอดมากัดกิน หรือมีฝุ่นละอองเข้าไปสร้างความสกปรกเข้าเท่านั้น
เก็บพืชสมุนไพรที่ถูกต้อง ทำอย่างไร ? เมื่อได้สมุนไพรที่ดีมาแล้วอย่างถูกต้องสมุนไพรที่แห้งสนิท ผ่านการตาก หรืออบแห้งมาแล้ว ในทางที่ควร ให้บรรจุลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแน่นอากาศผ่านเข้าไปไม่ได้ ภาชนะก็แห้งสนิท ปราศจากความชื้น ทำให้พืชสมุนไพรที่เก็บเอาไว้มีสรรพคุณทางยาที่ดีอยู่เสมอไม่เสื่อมคุณภาพโดยง่าย
ระวังเรื่องแมลงหรือสัตว์บางชนิดมารบกวน แสงแดด แสงสว่าง เป็นอันตรายแก่สมุนไพรได้ พืชสมุนไพรที่ตาก หรืออบแห้งดีแล้วนั้น หากเก็บเอาไว้ในที่สว่างมากหรือมีแสงแดดส่องถึงอยู่ทุกวันๆนั้น ทำให้เสื่อมสลายลงไปได้ คุณภาพจะด้อยลงไปเรื่อยๆ การเก็บควรเอาไว้ในที่มืดๆจะดีกว่าในที่สว่างมากๆ
การเก็บสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยก็สำคัญ ต้องเก็บเอาไว้อย่างมิดชิด ป้องกันการระเหยของน้ำมัน เก็บเอาไว้ในภาชนะเช่น ขวดโหล ภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแน่นจริงๆ
เปลือกของพืชสมุนไพรก่อนอื่นจะต้องอย่าลืมว่าจะต้องได้เปลือกที่จัดได้ว่าเป็นต้นแก่เพียงพอแล้ว ไม่ใช่เอามาจากต้นอ่อนๆ ยังไม่มีสรรพคุณทางยาที่มากมายเพียงพอในการไปเอาเปลือกสมุนไพรที่มีชื่อว่าต้นตะโกนา จะต้องปฏิบัติตามตำราเอาไว้ ต้นโต ต้นสูงมากแล้ว อายุนั้นจัดได้เลยว่าจะต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะเอามาใช้ผลได้ดี ปรุงยาได้สรรพคุณแน่นอน
การเอาเปลือกสมุนไพรมาจากลำต้นก็เป็นเรื่องสำคัญทีเดียว ในการเอาเปลือกสมุนไพรมาจากต้นที่แก่ได้ที่แล้วนั้นมีวิธีการสำคัญ ควรเลือกเอาในเวลาตอนบ่ายแก่ๆจะดีที่สุด ในเวลาที่อากาศร้อนๆนั้นแหละวิเศษหนักหนามองเห็นแสงแดดสาดส่องไปที่ลำต้นนั้นอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นเวลาที่ต้นไม้เกิดการสังเคราะห์กับแสงแดดอยู่พอดีตามธรรมชาติที่เป็นอยู่กับออกซิเจนส่วนของใบก็กำลังมีขบวนการชีวะสังเคราะห์ปรุงอาหารอยู่อีกด้วย เพราะรากของต้นไม้ก็ดูดซึมดูดเอาน้ำเลี้ยงอันเป็นยอดอาหารขึ้นมาจากรากใต้ดินขึ้นมาทางลำต้น ทางเปลือกไม้โดยรอบลำต้น ต่อเนื่องกันมาถึงกิ่งก้าน จนไปสู่ใบทีเดียว เปลือกของลำต้นไม้สมุนไพรกำลังมีสารสำคัญปรากฏอยู่มากตามธรรมชาติ สรรพคุณทางยามีมากก็อยู่ในเวลานี้ด้วย การกรีดเปลือกจะต้องเอามีดคมๆ กรีดลงที่เปลือกต้นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวๆ ลงไปตามลำต้น ห้ามกรีดขวั้นรอบๆลำต้นเด็ดขาด กรีดเปลือกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดึง ลอกเอาเปลือกออกไปทันที แล้วเอาปูนแดงทาเอาไว้ที่แผลเปลือกที่ถูกลอกเอาไปให้ทั่ว ป้องกันเชื้อราไม่ให้มาทำอันตรายต้นไม้ที่บาดแผลนี้ได้ง่ายๆ
สำหรับการไปเอาเปลือกสมุนไพรในเวลาสายๆก็เป็นไปได้ สมควรลอกเอาเปลือกในเวลาก่อนเที่ยงวันก็จะดี เช่นในเวลา11.00 น.เลือกเอาในส่วนที่สัมผัสกับแสงแดดจะได้สรรพคุณทางยาได้มากกว่าที่อื่นๆ
วิธีการเอาเปลือกสมุนไพรที่บริเวณกิ่ง วิธีการก็ได้แก่ กรีด ลอก เอาเปลือกมาจากส่วนโคนกิ่งใหญ่ จัดการล้างน้ำให้สะอาด เอาเศษผง เศษความสกปรกออกไปให้หมดสิ้น ขูดด้วยคมมีดเอาส่วนที่เป็นผิวของเปลือกที่เป็น ขุย เป็นเศษผงสกปรกพอกอยู่เอาออกไปด้วย ล้างทำความสะอาดให้ดี แล้วเอามาหั่นเป็นชิ้นบางๆ หั่นในเวลาสดๆจะสะดวก ง่ายดายกว่ามาก
วิธีนึ่งให้สุก คือการเอามานึ่งให้สุก นึ่งเพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ให้หมดไป แล้วเอามาตากแดดให้แห้งสนิทอีกครั้ง หรือจะเอาไปอบแห้งก็ได้ แล้วเก็บเอาไว้ในภาชนะที่เหมาะสม ปิดมิดชิด
เถาสมุนไพร ควรเก็บเอามาทำอย่างไรดี ? พืชสมุนไพรที่เป็นเถา มีอยู่มากมาย เช่น บอระเพ็ด เถาวัลย์เปรียง พลู โคคลาน คนทีสอขาว โคกกระออม คัดเค้า ชะเอมไทย ชะเอมจีน ตีนเป็ดเครือ ทองระอา สะค้านส้มป่อย สีฟันเครือการเอาพืชสมุนไพรที่เป็นเถามาใช้ประโยชน์ จะต้องเลือกเอาที่มีอายุมากเพียงพอถึงจะมีสรรพคุณทางยาที่มาก อย่างน้อยก็น่าจะมีอายุมากเกินกว่า 3 ปี การเก็บรักษาก็เหมือนๆกัน
สมุนไพรที่เป็นเหง้า หัว เล็กๆ เมล็ดพริกไทยเป็นสรรพคุณทางยาที่ดีในด้านขับลม ช่วยย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อท้องขึ้นได้ดี วิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน
เมล็ดข่อยสมุนไพรที่เป็นเม็ดคล้ายๆกับเม็ดพริกไทย วิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน เอามาปรุงผสมผสานกับตัวยาอื่นๆได้เสมอ เรื่องความสะอาดสำคัญมากในการปรุงยา
รอบรู้สมุนไพร2