ไก่ชนไทย
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   พระเครื่อง     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

เว็บบอร์ด ซื้อ-ขายไก่ชน

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)
น.สพ.วีระชัย ศักดาจิวะเจริญ
ฝ่ายระบาดวิทยาโรคสัตว์ติดคน
กองสัตวแพทย์สาธารณสุข
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดเชือ้ไวรัสที่ทำอันตรายต่อสัตว์ปีกมานานหลายปี มักพบในไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่งวง ไก่ต๊อก เป็ด ห่าน นกกระทา นกทะเล นกตามชายฝั่ง และสัตว์ปีกอื่นๆ โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ ที่มีการอพยพระหว่างประเทศ (นกเป็ดน้ำจะมีความต้านทานต่อโรคไข้หวัดนกสูงกว่าสัตว์ปีกชนิดอื่น)
ความหมายของเชื้อ

  • โรคไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตระกูล Othomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัส มีเปลือกหุ้ม และส่วนที่ยื่นออกมาของ glycoprotein ซึ่งเป็น surface antigen เรียกว่า Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N) ในปัจจุบันพบว่า มี Hemagglutinin จำนวน 15 ชนิด และ Neuraminidase จำนวน 9 ชนิด
  • เชื้อชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่ม influenza type A (ปกติจะมี 3 type) การกำหนดว่าเป็นชนิดอะไร (A B C) ขึ้นอยู่กับ M protein บนเปลือกหุ้มไวรัส และ neucleoprotien
  • influenza type A เกิดขึ้นในสัตว์เกือบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์
  • influenza type B C ไม่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
    การติดต่อของเชื้อ
    ส่วนมากนกเป็ดน้ำจะเป็นพาหนะนำโรค โดยที่เชื้อจะอยู่ในส่วนของลำไส้ และแพร่กระจายออกมากับอุจจาระ น้ำมูก สิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดิน พืช สัตว์ปีกทุกชนิดสามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก ทางเยื่อบุต่างๆ หรือทางบาดแผล เชื้อมักปนเปื้อนมากับน้ำ อาหาร หรือกระจายฟุ้งไปในอากาศ
    การติดเชื้อในสัตว์ปีกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
  • 1. Highly Pathogenic Avian Influenza (HPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดรุนแรง พบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H5 และ H7 บางตัว บางตัว อาทิ H5N1, H7N7
  • 2. Low Pathogenic Avian Influenza (LPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง มักพบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H1 – H15
    ระยะฟักตัว
    มีตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง จนถึง 3 วัน ในสัตว์ปีก หรืออาจถึง 14 วัน ในฝูงสัตว์ขนาดใหญ่
    ลักษณะการแพร่กระจายของเชื้อ
  • 1. การแพร่กระจายระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
    เชื้อจะพบในอุจจาระของสัตว์ที่ติดเชื้อมาแล้วนาน 7-14 วัน หรือ มากกว่า 14 สัปดาห์ เชื้อชอบสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น และอุณหภูมิต่ำ จะสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะใน ปุ๋ยคอก การแพร่กระจายระหว่างฟาร์ม เกิดจาก การเดินเข้าออกในฟาร์มโดยไม่ผ่านการล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การทิ้งขยะ หนู สัตว์ฟันแทะอื่นๆ แมลงวัน นกป่า โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ นอกจากนี้เชื้ออาจถูกพบบนเปลือกไข่ทั้งชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งอาจแพร่เชื้อระหว่างการนำเข้าไปยังตู้ฟักได้ การพัดของลมไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังฟาร์มอื่นได้ ส่วนใหญ่การแพร่เชื้อระหว่างฟาร์มเกิดจากการเคลื่อนย้ายรถ คน เครื่องมืออุปกรณ์ระหว่างฟาร์ม
  • 2. การแพร่กระจายระหว่างสัตว์ปีก
    การแพร่โรคระหว่างสัตว์ปีกหรือในฝูงสัตว์ปีก มักพบผ่านทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายในอากาศ ซึ่งมาจากน้ำคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้ยังมาจากการสัมผัสอุจจาระสัตว์ป่วย
  • 3. กระแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คน
    มนุษย์สามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก บาดแผลผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเชื้อมักจะปนเปื้อนมากับอุจจาระ น้ำคัดหลั่งของสัตว์ป่วย กลุ่มเสี่ยงได้แก่คนที่ทำงานในฟาร์ม คนเชือดไก่ คนเลี้ยงสัตว์ปีก คนเชือดไก่ คนที่เดินผ่านตลาดซื้อขายสัตว์ปีก คนที่สัมผัสเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน คนที่สัมผัสไข่ไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อ สามารถได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
    อาการของสัตว์ป่วย
  • ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่สามารถสังเกตอาการได้
  • มีน้ำมูก ไอจาม หลอดลมอักเสบ ผอมแห้ง เบื่ออาหาร ท้องเสีย
  • ไข่ลด ไข่นิ่ม มีรูปร่างผิดปกติ
  • เหนียงบวม หงอนบวม หน้าบวม เปลือกตาบวม ข้อบวม หลอดลมบวมน้ำ
  • มีจุดเลือดออกสีแดงคล้ำบริเวณ เหนียง หงอน และขา ของสัตว์ปีก
  • การเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชักกระตุก
    การกำหนดชนิดของเชื้อ
    โดยฉีดเชื้อ ( Inoculation) ใน 9-11วันตัวอ่อนของไก่ในไข่
  • เพื่อทำ Haemagglutination
  • Immunodiffusion test
  • Subtype determination with mono specific antisera
  • Strain virulence evaluation : evaluation of the
  • intravenous pathogenicity index (IVPI) in 4-8 week old chicken
    ปัจจุบันมักใช้วิธี ELISA , F.A.test , PCR , DNA CHIP
    คำแนะนำสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก
    การควบคุมและป้องกันโรค

    เมื่อเกิดการระบาดของโรคในฟาร์ม ต้องทำลายไก่ทั้งฟาร์มและในรัศมี 5 กม. เพื่อควบคุมโรคระบาด สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคให้ประกาศเป็น เขตพื้นที่ควบคุมโรคระบาด ห้ามเคลื่อนย้ายไก่ในพื้นที่ที่มีการระบาดในรัศมี 50 กม. และต้องมีมาตรการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด
    แนะนำ 3 มาตราการหลักควบคุมโรคระบาดมีดังนี้
    1. Isolation การแยกจากสภาวะภายนอก
      1.1 ป้องกันการนำสัตว์ปีกเข้าไปเลี้ยงใหม่ในฟาร์ม หรือ กักกันโรคก่อน 2-3 สัปดาห์และต้องมีการคัดกรองโรคก่อนนำสัตว์เข้าฟาร์ม
      1.2 ทำความสะอาด วัชพืช ต้นไม้ รอบๆฟาร์มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส รวมทั้งโรงเรือนเก็บอาหารเพื่อทำลายแหล่งรังโรค
      1.3 กำจัดพาหนะนำโรคต่างๆ อาทิ แมลงวัน หนู สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีกอื่นๆ โดย
      • เพิ่มสิ่งกีดขวางป้องกันนกป่า นกกระจอก บินเข้าสู่ฟาร์ม
      • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ด้วยการโรยยากำจัดหนอนแมลงและพ่นน้ำยาฆ่า
      • แมลงรอบๆฟาร์ม และโรยปูนขาวรอบๆบริเวณฟาร์ม
      • กำจัดสัตว์ฟันแทะทุกชนิดภายในฟาร์ม

      1.4 กำจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งอาศัยของนกเป็ดน้ำซึ่งเป็นพาหนะนำโรค หรือดึงดูดพวกนกป่าหรือนกตามชายฝั่ง
      1.5 กำจัดแหล่งอาหารของพวกนกป่า ขอนไม้เกาะต่างๆในบริเวณรอบๆฟาร์ม
      1.6 ให้ความรู้คนงานในฟาร์ม ถึงอันตรายของโรคระบาดและงดติดต่อเดินทางระหว่างฟาร์ม
      1.7 จัดหาชุดสวมป้องกันโรคให้กับบุคลากรที่ทำงานในฟาร์ม อาทอ เสื้อป้องกัน หน้ากาก ถุงมือ รองเท้าบู๊ท แว่นตากระจกป้องกัน
      1.8 ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรทำฟาร์เลี้ยงไก่ระบบปิด หรือที่เรียกว่า อีแว็บ
    2. Traffic Control
      2.1 ถ้าฟาร์มของท่านตรวจพบโรคระบาดห้ามติดต่อยุ่งเกี่ยวกับฟาร์มอื่นและต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบเพื่อเข้าดำเนินการควบคุมโรค
      2.2 งดการให้บุคลากรจากที่อื่นเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม
      2.3 การติดต่อระหว่างฟาร์มควรใช้ทางโทรศัพท์
      2.4 ห้ามบุคคลภายนอกที่สงสัยว่าสัมผัสเชื้อเข้าฟาร์ม
      2.5 งดเดินทางระหว่างฟาร์ม
      2.6 ไม่อนุญาตให้รถบรรทุก หรือรถทุกชนิด เข้าออกภายในฟาร์ม ถ้าจำเป็นต้องทำความสะอาดล้อรถ ตัวรถด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดร่างกายผู้ขับขี่ด้วย
      2.7 จัดให้มีเครื่องนุ่งห่มที่สะอาดฆ่าเชื้อโรคให้มีการผลัดเปลี่ยนก่อนเข้าฟาร์มและทำความสะอาดร่างกายด้วยสเปร์ย ฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
      2.8 ทำลายสัตว์ปีกที่ตายแล้วให้ฝังลึกประมาณ 10 เมตร แล้วโรยกลบด้วยปูนขาว
      2.9 หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการระบาดของโรค ไม่จำเป็น
    3 Sanitation การจัดการสุขาภิบาลที่ดี

      3.1 ทำความสะอาดเครื่องมือ โรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าไวรัสหรือใช้ความร้อน แล้วทำให้แห้ง นอกจากนี้ควรใช้สารกำจัด Organic material ในฟาร์มเพื่อทำลายแหล่งเก็บโรค
      3.2 ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์และพาหนะทุกครั้งที่ใช้ ก่อนเข้าฟาร์มและและอุปกรณ์ภายในฟาร์มทุกชิ้นต้องสเปรย์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดทุกอาทิตย์
      3.3 จำเป็นต้องพักเล้าหลังจากมีการแพร่ระบาดและสเปรย์ฆ่าเชื้อเป็นเวลา 21 วัน

    สำหรับน้ำยาฆ่าเชื้อที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้แก่

      1. One-Stroke Environ
      2. Any detergent
      3. Formaldehyde
      4. Bleach
      5. Ammonia
      6. Acid
      7. ความร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง , 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
      8. Dying
      9. Iodine containing solution
      10. phenol (TEK-TROL)

    มาตราการป้องกันโรคในตลาดค้าสัตว์ปีก
    โรคHPAI สามารถแพร่กระจายได้ ในตลาดค้าสั้ตว์ปีกโดยเฉพาะในมหานครใหญ่ ดังนั้นจึงควรมีมาตรการป้องกันโรค ดังนี้
    1. ใช้ลังพลาสติกทดแทนลังไม้สำหรับใส่ไก่
    2. ทำความสะอาดบริเวณพื้นและตาชั่งทุกครั้งหลังจำหน่ายสัตว์ปีก
    3. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์, ลังใส่ไก่ ,พาหนะ ก่อนนำกลับเข้าฟาร์มทุกครั้ง
    4. ควรแยกสัตว์ปีกที่มาจากต่างฟาร์มไว้คนละบริเวณกัน
    5. ห้ามนำสัตว์ปีกที่ขายไม่หมดกลับเข้าไปในฟาร์ม
    6. ถ้ามีการแพร่ระบาดมากๆให้สั่งปิดตลาดซื้อขายสัตว์ปีกชั่วคราว
    7. กรณีสงสัยสัตว์ปีกเป็นโรคระบาดให้ติดต่อสัตวแพทย์เพื่อควบคุมโรคระบาด
    8. อนุญาตให้สัตว์ปีกมีชิวิตที่ผ่านการรับรองฟาร์มมาตรฐานเท่านั้นมาจำหน่ายได้
    9. อนุญาตให้จำหน่ายสัตว์ปีกที่ชำแหละแล้วที่ผ่านการรับรองจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
    คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่

      1. เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้งเนื้อไก่และไข่ไก่ โดยทั่วไปรับประทานเนื้อที่ปรุงให้สุกเท่านั้น เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ จะถูกทำลายไปด้วยความร้อน
      2. เนื้อไก่และไข่ไก่ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดในขณะนี้ ถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องรับประทานเนื้อไก่และไข่ที่ปรุงสุกเท่านั้น งดการประทานอาหารที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ
      3. เลือกรับประทานไข่ที่ปรุงสุกอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาโรคระบาดในไก่
    คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบอาหาร
    ผู้ประกอบอาหารทั้งที่เพื่อการจำหน่ายและแม่บ้านที่เตรียมอาหารในครัวเรือน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อจากอาหาร กระทรวงสาธารณสุขขอเน้นการป้องกัน ดังนี้
      1. ควรเลือกซื้อเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่จากแหล่งที่มีการรับรองมาตรฐาน หรือร้านค้าประจำ และเลือกซื้อไก่สดที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ เช่น มีเนื้อมีสีคล้ำ มีจุดเลือดออก เป็นต้น สำหรับไข่ ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่และไม่มีมูลไก่ติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด
      2. ไม่ใช้มือที่เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา และปาก และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจับต้องเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์
      3. ควรแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อไก่ และมีเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือผัก ผลไม้ โดยเฉพาะ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน

    ผู้ชำแหละไก่
    ผู้ชำแหละไก่อาจมีความเสี่ยงจากการติดโรคจากสัตว์ จึงควรระมัดระวังขณะปฏิบัติงาน ดังนี้
      1. ต้องไม่ซื้อไก่ที่มีอาการผิดปกติจากการติดเชื้อ เช่น ซึมหงอย ขนฟู หน้า หงอน หรือเหนียงบวมคล้ำ มีน้ำมูก หรือขี้ไหล เป็นต้น หรือไก่ที่ตายมาชำแหละขาย
      2. ไม่ขังสัตว์ปีกจำพวก ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ ที่รอชำแหละไว้ในกรงใกล้ ๆ กัน เพราะจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เชื้อโรคกลายพันธุ์ จนอาจเกิดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เป็นอันตรายทั้งต่อคนและสัตว์ได้
      3. ควรทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำผงซักฟอก และนำไปผึ่งกลางแดดจัด ๆ นอกจากนั้นอาจราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเดือนละ 1- 2 ครั้ง
      4. หากสัตว์ที่ชำแหละมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีจุดเลือดออก มีน้ำหรือเลือดคั่ง หรือจุดเนื้อตายสีขาวที่เครื่องใน หรือเนื้อมีสีผิดปกติ ต้องไม่นำไปจำหน่าย และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาตรวจสอบทันที่ เพราะอาจเป็นโรคระบาด
      5. ต้องล้างบริเวณชำแหละสัตว์ให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก และควรราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการชำแหละไก่
      6. ผู้ชำแหละไก่ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบู๊ท และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
      7. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิม พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

    การใช้วัคซีนป้องกันโรค
    ปัจจุบันวัคซีนของโรนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาสายพันธุ์ที่สามารถคุ้มโรคได้ ที่นิยมคือการใช้เชื้อLPAI มาทำวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งมีการทดลองวัคซีนที่เป็น Heterologous vaccine พบว่าสามารถป้องกันโรค HPAI ได้ผลดีเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก แต่ประสิทธิภาพในการใช้ป้องกันโรคขณะเกิดโรคระบาดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
    ผลกระทบของโรคระบาดในไก่ต่อเศรษฐกิจของประเทศ
    ปัจจุบันการส่งออกไก่ไทยจัดว่าเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่ทำรายได้เข้าประเทศถึงปีละ 5 หมื่นล้าน ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท ต่อปี คาดว่าจะเป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2549 แต่สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบันอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทั้งระดับมหภาคและระดับจุลภาค ผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่อาจมีผลกระทบบ้าง แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่รายย่อยส่งผลกระทบอย่างรุนแรง จากโรคระบาดที่กรมปศุสัตว์ยืนยันว่าเป็นโรคอหิวาห์ไก่และหลอดลมอักเสบติดต่อ ที่ผ่านมาพบว่ามีไก่ติดโรคตายเป็นจำนวน 29,000- 30,000 ตัว และกรมปศุสัตว์ได้สั่งทำลายไก่ไปแล้วประมาณ 800,000-900,000 ตัว และคาดว่าจะถึง 1,500,000 ตัว ตามมาตรการป้องกันโรคระบาด จากผลกระทบดังกล่าวทำให้กลุ่มเกษตรกรเคลื่อนไหวร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งมีข่าวว่าทางภาครัฐจะชดเชยเงินให้แก่เกษตรกรสำหรับไก่ตัวละ 40 บาท ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคจะสงบลงเมื่อไร นอกจากนี้รัฐยังออกมาตรการช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่เกษตรกรโดยจัดงบประมาณสนับสนุนไปชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรเมื่อไปกู้เงินจากธนาคาร SMEs เพื่อนำไปปรับปรุงสภาพโรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบเปิดให้เป็นระบบปิด หรือที่เรียกว่า ระบบอีแว๊ป ซึ่งจะสามารถควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือน และเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่ให้ดีขึ้นในระยะยาวได้

    ล่าสุดมาตรการที่ออกมาจากกรมปศุสัตว์ คือจะมีการควบคุมพื้นที่ห้ามมีการเคลื่อนย้ายจนกว่าจะมีการตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการแปรรูป โดยจะมีการกำหนดเส้นทางการขนส่งที่ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายไปสู่โรงงานแปรรูปจำนวน 25 โรงงาน ซึ่งการเคลื่อนย้ายจะมีด่านจุดตรวจจำนวน 3 จุด เพื่อความปลอดภัย โดยได้กำหนดเส้นทางการเคลื่อนย้ายไก่สู่โรงงานแปรรูป ให้มีด่านตรวจทั้งหมด 3 ด่าน คือ ด่านหน้าโรงงาน 1 แห่ง ด่านตรวจบริเวณ 25 กม. และด่านตรวจบริเวณ 50 กม. ทุกด่านจะต้องตรวจเชื้อโรคก่อนว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเซ็นรับรองใบขนส่งกำกับทุกครั้ง ที่เรียกว่า ใบกำกับการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (Movement Doccument) จากกรมปศุสัตว์ทุกครั้ง
    ภาวะคุกคามต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
    แม้ว่าโรคระบาดในไก่ของไทยยังไม่มีรายงานพบว่ามีการระบาดของโรคไข้หวัดนก แต่กระแสความสนใจของประชาชนต่อโรคระบาดและจากการเกิดการระบาดของโรคไข้วัดนกในเวียดนามเพื่อนบ้านของเรา และมีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 5 ราย ทำให้นักวิชาการหลายท่านกังวลใจว่าโรคระบาดในสัตว์ที่อาจกลายพันธุ์เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เนื่องจากยังไม่มีใครมีข้อมูลมากพอที่จะอธิบายได้ว่าโรคเหล่านี้แพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนได้อย่างไร ซึ่งไข้หวัดนกที่ระบาดอยู่ในต่างประเทศหากสามารถรวมตัวกับไข้หวัดในคนได้แล้ว อาจจะก่อวิกฤติการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นทั่วโลกก็เป็นได้ ดูเหมือนว่าไวรัสพยายามวิวัฒนาการตนเองไปสู่การกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพร่จากสัตว์สู่คนและคนสู่คนได้ในอนาคต จึงพอสรุปสถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกที่คุกคามชีวิตมนุษย์ได้ดังนี้

  • ธันวาคม 2540 พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกเป็นครั้งแรกในฮ่องกง 18 ราย ตาย 6 ราย
  • เมษายน 2542 มีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกที่ไม่รุนแรง 2 รายขณะที่จีนยอมรับว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก 6 ราย
  • กุมภาพันธ์ 2546 ฮ่องกงรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 2 ราย และเสียชีวิต
  • เมษายน 2546 โรคไข้หวัดนกระบาดในเนเธอร์แลนด์มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และล้มป่วยจำนวน 83 ราย
  • ธันวาคม 2546 มีเด็กชายวัย 6 ขวบในฮ่องกงติดเชื้อไข้หวัดนกเกาหลีใต้สั่งกำจัดสัตว์ปีกนับล้านตัว เพื่อควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาด
  • มกราคม 2547 ไข้หวัดนกคร่าชีวิตชาวเวียดนามแล้ว 5 ราย

  • ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com
     
    เนื้อหาสาระ - วิชาการ
    เริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
    ไข้หวัดนกและบทความ
    ตำนานไก่ชนกับพระนเรศวร
    การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
    การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
    การเพาะพัฒนาพันธุ์ไก่ชน

    ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่
    ไก่ตัวเมียและแม่ไก่
    การดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
    การฟักไข่

    การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
    อาหารที่ดีของไก่ชน
    การเลี้ยงลูกไก่ชน
    การดูแลลูกไก่ชน
    การผสมไก่ให้ได้ผล
    การเลี้ยงไก่ให้ได้ผล
    เทคนิคการฝึกไก่ชน
    วิธีเลี้ยงไก่สำหรับชน
    ข้อควรทำในการเลี้ยงไก่ชน
    โรคไข้หวัดนก
    ไข้หวัดนก - น.สพ.วีระชัย
    ไข้หวัดนก-ในใจ
    ทำไมต้องใช้วัคซีน
    "แอ๊ด" โวยโดนปิดบ่อนไก่ชน
    "แอ๊ด" บุกทำเนียบป้องไก่ชน
    เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน
    การดูลักษณะไก่ชน
    สารพันทางเทคนิค
    ไก่ชนไทย
    ไก่ชนพม่ามีดีอย่างไร
    การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
    การเลี้ยงไก่ออกชน
    การเปรียบไก่
    การดูบาดแผลและการแก้ไข
    การดูแลไก่ชน หลังชนมา
    ลักษณะไก่เก่งตอนเล็ก
    เทคนิคเซียน
    สีของไก่ชน
    แม่ไม้เชิงไก่
    เกล็ดและแข้ง
    นิ้วงามตามตำรา
    เกล็ดนั้นสำคัญไฉน
    ลักษณะไก่ที่ใช้ไม่ได้
    การดูการวางแข้ง
    การดูแผลตี
    ทีเด็ดลูกตี
    เลือกซื้อไก่หนุ่ม(มือใหม่)
    เลี้ยงปล้ำให้เจ๋งเพื่อชนะ
    เทคนิคการวางไก่
    เทคนิคเซียนไก่
    รู้เหลี่ยมกลโกง
    ยอดมือน้ำ
    เรื่องโรคและการป้องกัน
    เรื่องของสมุนไพร
    สารพันสาระน่ารู้
    โรคระบาดไก่ชน
    วัคซีนฝีมือคนไทย
    ข้อปฏิบัตให้ภูมิคุ้มกันโรค
    ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน
    โรคของไก่กับการป้องกัน
    หมอไก่
    เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
    ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน
    สมุนไพรและสรรพคุณ
    กล้วยน้ำว้าแตงกวาน้ำผึ้ง
    รูปภาพสมุนไพร
    การพัฒนาพันธุ์ไก่ชน
    ไก่ชนไทย
    ไก่ชนพม่า
    เรื่องของไก่แพ้
    การดูแลไก่หลังชน
    รู้เหลี่ยมกลโกง