โรคของไก่กับการป้องกัน
ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่
ลูกไก่แรกเกิด จนอายุล่วงมาถึง 7 วันต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคนิวคาสเซิล
ลูกไก่อายุ 14 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ
ลูกไก่อายุ 21 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
ลูกไก่อายุ 30 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรค อหิวาต์
โรคของไก่กับการป้องกัน
อย่าลืมว่าไก่ทั้งหลายนั้นมีโรคติดต่อที่ร้ายแรงมาก เกิดระบาดขึ้นมาเมื่อไรแล้วไก่ก็จะติดเชื้อ เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ระบาดไปทั่วบริเวณใกล้เคียงและอาจระบาดไปได้ไกลๆ ข้ามจังหวัดก็ได้ เพราะคนเราติดเชื้อแล้วเดินทางไปไหนมาไหนกันอยู่แล้ว จึงพาเอาเชื้อโรคระบาดของไก่นี้ไปด้วย เที่ยวไปปล่อยเอาไว้ที่นั้นที่นี่ได้โดยง่าย
โรค นิวคาสเซิล
ถ้าเป็นโรคของไก่แล้วละก็โรค นิวคาสเซิล เป็นโรคที่ร้ายแรงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นไก่บ้าน หรือไก่พื้นเมือง หรือไก่แจ้
อาการของโรค เมื่อไก่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ไม่ช้า ไม่นานก็เริ่มออกอาการ เงื่องหงอย เหงา ซึม ยืนนิ่งเฉย ปีกตกลู่ลงมา หงอน เหนียงก็ซีดเซียว จากนั้นก็เป็นสีคล้ำผิดปกติ เวลาขี้ออกมาจะเห็นได้ทันทีว่าเป็นสีเขียวๆ ชาวบ้านเรียกว่า โรคขี้เขียว หากไก่เกิดมีอาการขี้เขียวขึ้นมาเมื่อไรก็หมายความว่าเกิดโรคร้ายแรงมากขึ้นแล้ว เพราะโรคขี้เขียว นี้ไม่ปราณีชีวิตไก่ตัวไหนเลย
ไก่ที่เป็นโรคนี้ บางตัวนั้นจะมีอาการหัวตกลงเบื้องล่าง โงหัวไม่ขึ้นเลยหรือบางทีแหงนคอแล้วบิดมาทางเบื้องหลังก็ได้ โรคนิวคาสเซิล นี้จำเป็นจะต้องมีการป้องกันเอาไว้ก่อนเท่านั้น หากเกิดเป็นขึ้นมาก็หมายความว่าจะต้องทำให้ไก่ล้มตายขึ้นเท่านั้น ป้องกันเอาไว้ก่อนที่ไก่จะแสดงอาการออกมา ป้องกันด้วยวัคซีนเท่านั้น ไม่มียาอะไรมารักษาไก่ที่เจ็บป่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นมาได้เลย ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอาไว้ก่อน ให้วัคซีนไก่ตั้งแต่เป็นลูกไก่ ก่อนที่จะเอามาเลี้ยงให้เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่หากเกิดเลี้ยงลูกไก่ที่เจ็บออดๆ แอดๆ มองดูเซื่องซึม หงอยเหงาเอาไว้ ก็จะต้องเสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกไก่ขี้โรคเอาไว้เพื่อทำให้ลูกไก่อื่นๆ ที่เลี้ยงรวมกันอยู่เกิดมีอันเป็นไปด้วยกัน อาจจะเกิดโรค นิวคาสเซิล ขึ้นมาก็ได้ เพราะลูกไก่ที่ผิดปกติ สุขภาพไม่ดี เงื่องหงอยนั้นแหละที่จะนำเชื้อโรคดังกล่าวมาติดต่อกับลูกไก่ตัวอื่นๆ อย่าเอามาเลี้ยงรวมกับลูกไก่ที่มีสุขภาพดีเป็นอันขาด ให้แยกออกไปห่างๆ เอาไปทำลายเสียก่อนที่โรคระบาดจะเข้ามา เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเอาลูกไก่มาเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นไก่อะไรก็ตาม จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเสียก่อนทุกๆตัวทีเดียว
โรค อหิวาต์ไก่
นับว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่ง เพราะสามารถสร้างความหายนะให้แก่ไก่ที่เลี้ยงได้มากมายเช่นกัน
อาการของโรค โดยมากมักจะไม่แสดงอาการอะไรออกมา แล้วลุกเงียบ ไก่จะเฉยๆไม่เห็นมีอะไรผิดปกติเลย อาการเช่นนี้สำคัญมาก เพราะเป็นโรคที่มาเงียบๆ ไก่จะเกิดล้มตายทันทีเมื่อเกิดมีอาการมาก ได้รับเชื้อเข้ามามากจะไม่เหลือเลย
หากอาการของไก่ที่เจ็บป่วยไม่มีอาการรุนแรงนักจะเห็นได้ว่าไก่ที่เลี้ยงเอาไว้จะมีอาการเงื่องหงอยผิดปกติ ซึม ปีกตก หางตก หงอนเหนียงซีดลงอย่างเห็นได้ชัด คอไก่จะพับไปทางเบื้องหลังอย่างประหลาด ไก่จะขี้ออกมาเป็นสีขาวๆ ไก่ไม่กินอาหารเลย ไม่อยากกินเพราะอาการของโรคที่เกิดขึ้น บางตัวอาจจะส่งเสียงหายใจออกมาดังครอกๆในลำคอก็ได้เวลานอนบนคอน สังเกตให้ดีคือ ขี้ขาว ผิดธรรมดา
วิธีการป้องกันโรคนี้ก็ด้วยการฉีดวัคซีน ฉีดเมื่อไก่อายุได้ 3 เดือน ฉีดให้ไก่ที่เลี้ยงทุกตัว
โรคฝีดาษไก่
ไก่ก็เป็นโรค ฝีดาษไก่ ได้ซึ่งจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเช่นเดียวกัน ปล่อยปละละเลยไม่ได้เป็นอันขาด มิฉะนั้น เมื่อไก่เกิดเจ็บป่วยขึ้นจะลำบาก เพราะเชื้อโรคจะระบาดไปกันใหญ่ ป้องกันเอาไว้ดีกว่าแก้ไข ซึ้งทางแก้ไขไม่มีเอาเลย มีแต่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการให้วัคซีนแก่ไก่เมื่อยังเล็กๆอยู่เท่านั้น
โรคไก่ก็มีอีกได้แก่โรคพยาธิ
เพราะไก่นั้นคุ้ยเขี่ยอาหารไปตามที่ต่างๆ หรือกินอาหารที่อาจจะมีไข่พยาธิปนเปื้อนสะสมอยู่ ไก่จึงเกิดมีพยาธิขึ้น จะต้องใช้ยาถ่ายออกมาอย่างถูกต้อง และระวังการติดต่อกันกับไก่ตัวอื่นๆ ปฏิบัติให้ดีที่สุด ระวังเรื่องการติดต่อของโรคให้มากเพื่อความไม่ประมาท อย่าให้ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเข้าไปในเล้าไก่ หรือในบริเวณที่เลี้ยงไก่เด็ดขาด เพราะอาจจะนำเชื้อโรคบางอย่างเข้าไปทำให้ไก่เจ็บป่วยได้อย่างนึกไม่ถึง รองเท้าที่สวมใส่ก็เป็นสิ่งสำคัญมากห้ามบุคคลภายนอกเดินไปในเล้าไก่ และบริเวณที่เลี้ยงไก่เด็ดขาด หากต้องการจะเข้าไปจะต้องเปลี่ยนรองเท้าที่ใช้ เปลี่ยนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่จัดให้ใหม่ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่เป็นจำนวนมากๆ ในฟาร์มใหญ่ๆทั่วไปไม่จำเป็นแล้วจะเข้าไปไม่ได้
ภูมิคุ้มกันในไก่
ในการให้ภูมิคุ้มกันโรคในไก่นี้จำเป็นจะต้องใช้วัคซีน เช่นเดียวกับคนเราเช่นเดียวกัน
ไก่ที่ดี สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะต้องมีความต้านทานโรคดี ไม่เจ็บป่วยง่ายๆ
ระบบการป้องกันของไก่นั้นมาจากอวัยวะ หรือต่อมที่สำคัญ 2 พวก
- ระบบที่มาจากต่อมเบอร์ซ่า ฟาบริเซียส
- ระบบที่มาจากต่อมธัยมัส
ระบบดังกล่าว หากระบบใด ระบบหนึ่งเกิดสูญเสียไปแล้ว ก็จะทำให้ระบบการคุ้มกันโรคหรือความต้านทานของโรคในไก่ไม่ดีไปด้วย สุขภาพจะเสียไป บางทีก็เกิดโรคขึ้นได้โดยง่าย แทนที่จะไม่เป็นอะไรเลยก็เกิดเป็นโรคขึ้นมาจนได้
บางทีไก่เกิดไปอยู่ในสถานที่เปียกแฉะ โอกาสเจ็บป่วยก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย อาจจะเป็นบิดขึ้นมาก็ได้ แม้ว่าในอาหารของไก่จะมียาป้องกันเชื้อโรคบิดอยู่แล้วก็ตาม แต่ยาก็ป้องกันเป็นบิดได้ ในกรณีที่ไม่มีเชื้อบิดมากเกินขนาดเท่านั้น ไม่ใช่ป้องกันได้เต็ม 100 % โอกาสที่ไก่จะเกิดป่วยเป็นโรคนี้ก็มีอยู่วัคซีนนั้นนอกจากจะช่วยให้ไก่รู้จักกับระบบความคุ้มกันโรคได้ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังสถานที่อื่นๆอีกด้วย เช่นจากเล้านี้ต่อเนื่องไปสู่เล้าโน้นและเรื่อยๆไป ไม่มีที่สิ้นสุด ป้องกันไม่ให้เกิดการเพาะเชื้อให้เกิดขึ้นในเล้าไก่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยถ่ายทอดภูมิคุ้มกันจากไก่ทางไข่แดงได้ดีมากในการให้วัคซีนไก่นั้นเป็นการช่วยป้องกันโรคหลายๆอย่างที่มักจะสร้างความเสียหายให้กับลูกไก่อายุน้อยๆ ไม่ถึง 3 สัปดาห์ได้มากมาย อีกประการหนึ่ง หากไก่เกิดเป็นโรคขึ้นในระหว่างไข่ ปริมาณของไข่ไก่ก็จะลดลง เพราะแม่ไก่สุขภาพไม่ดีพอ วัคซีนที่ฉีดป้องกันโรคไก่ ทำให้ไก่เกิดมีภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงมีสุขภาพดีที่เป็นปกติ ไม่เป็นโรคอะไรได้ง่ายๆ
ระวังอย่าให้ไก่ถูกพิษ แอฟฟล่า
สารแอฟฟล่านั้นเป็นสารพิษที่ร้ายแรงนัก หรือที่เรียกรวมกันว่า แอฟฟล่าท็อกซิน เป็นสารที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในผลิตผลทางการเกษตรที่นำเอามาเป็นอาหารของคนและสัตว์ ดังที่ได้พบเห็นกันมาแล้ว และมีการพูดกันมาว่า สารพิษแอฟฟล่านี้จะมีอยู่ใน ถั่วลิสงเมล็ดแห้ง ในถั่วลิสงที่คั่วบดหรือป่นละเอียด ป่นหยาบๆ เมื่อเก็บเอาไว้นานๆ เชื้อราแอฟฟล่านี้ก็เจริญงอกงามขึ้นมาได้ในถั่วลิสง ซึ่งเราอาจมองไม่เห็น ในเมื่อเชื้อราที่เป็นสารพิษนี้แอบแฝงอยู่นอกจากนี้ในถั่วเหลือง ในเมล็ดข้าวโพด หัวหอม หัวกระเทียม พริกขี้หนูแห้ง พริกแห้งเม็ดใหญ่ พริกชี้ฟ้าแห้ง หรือในปลาแห้ง ปลาป่น ปลาเค็ม ปลากรอบ เครื่องเทศทั้งหลายมักมีสารพิษนี้อยู่โดยทั่วไป มากบ้าง น้อยบ้างตามสภาพความเก่าเก็บและความชื้นมากน้อยที่มีอยู่อาการที่ไก่ได้รับสารพิษแอฟฟล่าเข้าไปมากๆ ไก่จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนมากคือ เริ่มแรกๆไก่จะมีการจิกที่ก้นกันอยู่เสมอๆจิกกันไปจิกกันมา ตามจิกกันอยู่เสมอน่ารำคาญ จากนั้นก็จะเริ่มมีอาการเศร้า ซึม หงอยเหงา ไม่ค่อยจะกินอาหารดังปกติ ปีกตก หน้าซีดเซียว สังเกตได้ชัดเจนมาก เส้นขนก็ยุ่งเหยิง มองดูไม่สมบูรณ์ตามปกติ เติบโตช้า หากพบว่าไก่ได้รับสารพิษนี้เข้าไปแน่นอน ก่อนอื่นต้องเอาอาหารซึ่งมีอยู่ที่ให้ไก่กินแล้วเกิดเรื่องนี้ ให้ทำลายเสียทันที แล้วเอาอาหารชุดใหม่มาให้แทน อย่าให้อาหารเก่านั้นอีก เพื่อไก่ที่เลี้ยงจะได้หายป่วยจากสารแอฟฟล่าที่เกิดมาจากเชื้อรานี้ ไก่ก็จะเจริญเติบโตได้ดีเป็นปกติ กินอาหารได้มาก ร่าเริงสดชื่น เป็นปกติ
โรคบิด
โรคบิด ที่เกิดกับไก่นั้นรุนแรงนัก สามารถทำให้ไก่ ล้มตายได้อย่างที่เรียกว่า ตายเป็นเบือความจริงแล้วโรคบิดที่เกิดขึ้นกับไก่นี้ก็เหมือนๆกับโรคพยาธิลำไส้ทั่วไป แต่โรคบิดของไก่นี้จะทำให้ไก่กินอาหารได้น้อยลง กินน้ำมากขึ้นจนเกิดอาการผิดปกติในร่างกายไก่จะมีอาการ หงอยเหงา ซึม ถ่ายอุจจาระแบบอาการท้องร่วง ปีกก็ตกลงด้วย เวลาถ่ายก็มีเลือดปนออกมา ซึ่งอาจจะเป็นสีแดง สีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลก็ได้ มีอาการบิดไส้ตันจนอักเสบ เลือดไหลออกมาเป็นสีคล้ำ ไก่อาจจะมีอาการมาก จะตายมากหรือตายน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นในการที่จะวิจัยว่าไก่เป็นโรคบิดหรือไม่นั้นมีหลักการพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ
1. ไก่มีอาการแสดงว่าเกิดป่วยขึ้นมาแล้ว มี อาการท้องร่วง ถ่ายอุจจาระแบบท้องร่วง
2. อาจจะมีไก่บางตัวเกิดอาการหนักจนตาย เอามาผ่าซากไก่ดูร่องรอยของโรคที่ลำไส้ หรือที่ไส้ตันก็จะทราบดี
3. เอาอุจจาระของไก่มาตรวจดู หรือขูดเอาเยื่อเมือกของลำไส้ หรือเอาไส้ตันของไก่ที่ป่วย มาตรวจดู
การป้องกันโรคบิดในไก่ที่ดีที่สุดมีวิธีปฏิบัติอยู่ 2 วิธีด้วยกัน
วิธีแรก เป็นการใช้วัคซีน
วิธีต่อมา ก็เป็นการเอายาผสมลงไปในอาหารให้ไก่กิน วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้ผลดีมากด้วย เนื่องจากมียาชนิดที่ใช้ทำลายเชื้อได้ดี ก็ได้แก่ยาจำพวก เค็กคอก คอยเคน และ ไซโคสเต็ด แล้วก็มียาชนิดอ่อนที่ใช้ป้องกันอีก คือ แอมโปรล พลัส คอแบน และ อาวาเท็ก ซึ่งจะไม่ทำลายเชื้อหมด แต่จะเหลือไว้จำนวนหนึ่งในปริมาณมากพอที่จะ
กระตุ้นให้ไก่สร้างภูมิคุ้มกันโรคไก่ได้
การใช้ยาป้องกันโรคบิด ก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาถึงข้อดีกันอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อความแน่นอน เพื่อความถูกต้อง เนื่องจากว่าการให้ไก่กินยาป้องกันโรคนี้ จะต้องให้ไก่กินโดยตลอดเวลาด้วย ในระยะเวลาที่เลี้ยงไก่ 7-8 สัปดาห์ นอกจากนี้แล้วก็สมควรเป็นยาที่ไม่ผิดสำแดง เมื่อใช้รวมกับยาอื่นๆ แล้วก็จะต้องมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรคบิดอีกด้วย
การป้องกันและรักษาโรคไก่วิธีป้องกันและควบคุมโรคและพยาธิ วิธีที่ดีที่สุดคือ
* การสุขาภิบาลที่ดี *
การให้วัคซีนป้องกันโรค โดยสม่ำเสมอ การสุขาภิบาล เป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันโรคและพยาธิไก่
เพราะถ้าการสุขาภิบาลไม่ดีจะเป็นสาเหตุให้ไก่สุขภาพเลวลง ไม่แข็งแรงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ข้อแนะนำมีดังนี้
1.ควรดูแลทำความสะอาดเล้าและภาชนะต่างๆที่วางไว้ในเล้าไก่และบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอย่าปล่อยให้เล้าชื้นแฉะ เพราะจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค
2. สร้างเล้าให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรกรอบ ๆ บริเวณบ้าน เล้าไก่ และใกล้เคียง
4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพดี อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าเสีย
5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
6. ถ้ามีไก่ป่วยไม่มากนัก ควรกำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อยจะช่วยกำจัดโรคได้เป็นอย่างดี
7. อย่าทิ้งซากไก่ลงแหล่งน้ำเป็นอันขาด เพราะเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปได้
8. กำจัดซากไก่โดยวิธีเผาหรือฝัง ไม่ควรนำไปจำหน่าย เพราะจะทำให้เกิดโรคแพร่ระบาดได้
9. วิธีป้องกันโรคอีกอย่างหนึ่งก็คือเราไม่ควรซื้อไก่สดจากตลาดหรือหมู่บ้านอื่นมากิน เพราะไก่พวกนี้อาจเป็นโรคมาแล้วก็ได้
10. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขี้น เจ้าของไก่ควรติดต่อหารือกับสัตวแพทย์โดยเร็ว
การใช้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่ ถึงแม้ว่าเราจะได้มีการสุขาภิบาลที่ดีแล้ว
แต่โดยปกติในสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่เป็นโรคได้ทุกเวลา เราจึงต้องสร้างความต้านทานโรคให้กับไก่ของเรา โดยการใช้วัคซีนป้องกันโรค ควรให้ตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำตามตารางที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการป้องกันโรคที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และได้ผลค่อนข้างดี ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่ วัคซีนฝีมือคนไทย โรคระบาดไก่ชน ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน