โรคไข้หวัดนก
ในระยะเวลา2-3ปีที่ผ่านมาได้มีการระบาดของโรคจากสัตว์มาสู่คน เช่นโรควัวบ้า โรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันอย่างรุนแรง[ SARS] ในปี 1997 ได้มีการระบาดของไข้หวัดนกที่ประเทศฮ่องกง และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อ ทำให้มีการหวาดกลัวไปทั่วโลก เนื่องจากว่าอัตราการตายสูงมาก และหากเชื้อสามารถติดต่อระหว่างจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่ายเหมือนไข้หวัดใหญ่ จะทำให้เกิดการระบาดทั่วโลกและมีอัตราการตายสูง
เชื้อที่เป็นสาเหตุFamily Orthomyxoviridae Genus: Influenza ตัวเชื้อมีขนาด 80-120 nm ลักษณะเป็น filament Types: A, B, and C การจำแนกชนิดของเชื้ออาศัย antigen ซึ่งอยู่ที่เปลือก(virus envelope) และแกนกลาง ( nucleoprotein ) Influenza A virus ทำให้เกิดโรคในคน สัตว์ปีก หมู ม้า สัตว์ทะเลInfluenza B virus เกิดโรคเฉพาะในคน Influenza C virus ทำให้เกิดโรคในคนและม้า แต่เป็นอย่างไม่หนัก การระบาดของไข้หวัดนกส่วนใหญ่เกิดเชื้อชนิด Type A ที่เปลือกของเชื้อยังมี antigen อีกสองชนิดคือ Hemagglutinin(H )และ neuraminidase(N) - Type A จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15,ส่วน N antigen มีอยู่ 9 ชนิดคือ N1-N9
- ชนิด H5,H7
จะเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรง
การระบาดของเชื้อโรคเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดได้แก่ Influenza A virus ซึ่งมีวิธีการระบาดได้สองวิธีคือ
- highly pathogenic avian influenza (HPAI) คือการระบาดชนิดรุนแรงซึ่งทำให้เกิดอัตราการตายสูงเกิดจากเชื้อ H5,H7
- low-pathogenic avian influenza (LPAI) เป็นการระบาดอย่างไม่รุนแรง
- การระบาดเชื่อว่าเกิดจากนกน้ำ หรือนกที่อพยพจากแหล่งอื่นที่เป็นภาหะของโรคนำเชื้อโรคมาที่ฟาร์ม์
ความเป็นอยู่ของเชื้อโรค- เชื้อนี้สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน ในน้ำที่อุณหภูมิ 22 องศาเชื้อสามารถอยู่ได้นาน 4 วัน ที่อุณหภูมิ 0 องศาเชื้อสามารถอยู่ได้นาน 30 วัน
- วิธีการทำลายเชื้อ
- ความร้อนที่ 56 องศาเป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือ 60 องศาเป็นเวลา 30 นาที
- สภาวะที่เป็นกรด
- มีสาร oxidizing agents เช่น sodium dodecyl sulfate, lipid solvents, and B-propiolactone
- สารฆ่าเชื้อเช่น Iodine,fomalin
แหล่งอาศัยของเชื้อโรคพวกนกน้ำ หรือเป็ดป่าจะเป็นพาหะของโรค เมื่อมันอพยพไปที่ใดก็จะนำเชื้อไปด้วย หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่นอากาศเย็นก็จะทำให้มีการแพร่พันธ์ไปยังสัตว์เลี้ยง สัตว์ปีกทั้งหลายที่เป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อได้รับเชื้อโรคจะทำให้เกิดโรค สัตว์ต่างๆได้แก่
- Chickens
- ไก่งวงTurkeys
- เป็ด Ducks
- นกกระทา Partridges
- ไก่ฟ้า Pheasants
- นกพิราบ Pigeons
- นกกระจอกเทศ Ostriches and other ratites
- ห่าน Geese
- ไก่ต๊อกGuinea fowl
เชื่อว่าการอพยพของนกเป็ดน้ำ หรือนกจะเป็นตัวพาเชื้อแพร่กระจาย พวกนกน้ำจะมีความต้านทานต่อเชื้อโรคนี้และเป็นพาหะของโรค
การระบาดของเชื้อโรคทางเข้าของเชื้อโรค
- ทางปากโดยเชื้อที่ปนเปื้อนในเสมหะ หรือน้ำลาย หรืออุจาระของนกที่ป่วย
- เยื่อบุตา
- ทางเดินหายใจ
วิธีการระบาดของเชื้อโรค- การระบาดของไข้หวัดนกเริ่มแรกจะระบาดจากการที่นกน้ำ นกนางนวลหรือนกป่านำเชื้อมาสู่ฟาร์ม์โดยที่นกนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าไปในฟาร์ม์ แต่อาจจะถ่ายอุจาระ หรือสารคัดหลั่งลงในน้ำธรรมชาติ เมื่อสัตว์เลี้ยงดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาด
- การระบาดในระยะที่สองเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากไก่ที่ติดเชื้อไปสู่ฟาร์ม์อื่นโดยทางอาหาร รัง ถาดไก่ คน
การป้องกันการระบาดโดยการฉีดวัคซีน
เมื่อมีการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มก็จะมีการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม การทำลายสัตว์ที่ติดเชื้อ การกักกันสัตว์ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อ ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจจะไม่พอที่จะควบคุมการระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์มาก และการทำลายสัตว์ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมายจึงได้มีแนวความคิดในการควบคุมการระบาดโดยการฉีดวัคซีน
่นื่องจากการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันได้ต่างเดิม เช่นจำนวนสัตว์ในแต่ละฟาร์ม์มีจำนวนเพิ่มขึ้น ช่วงในการเลี้ยงแต่ละครอกลดลง การทำลายสัตว์ที่สงสัยจะติดเชื้อเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดความรู้สึกทารุนสัตว์ จึงมีแนวความคิดในการควบคุมการระบาดโดยการฉีดวัคซีน แต่การฉีดวัคซีนก็จะมีปัญหาเรื่องการแยกสัตว์ซึ่งติดเชื้อและสัตว์ซึ่งได้รับวัคซีน ซึ่งอาจจะทำให้มีการแพร่เชื้อโรคหากมีการส่งออก
การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสู่คน
เชื้อไข้หวัดใหญ่ Influenza ได้มีการระบาดใหญ[Pandemic]่มาแล้ว 4 ครั้งในปี คศ 1918[H1N1] ,1957[H2N2], 1968[H3N2],1977[H3N1] เชื่อในการระบาดทั่วโลกแต่ละครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้ออย่างมากที่เรียกทางการแพทย์ว่า Antigenic shift สำหรับการระบาดย่อยตามภูมิภาค(epidermic)จะมีการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื่อไม่มากที่เรียกว่า antigenic drift เมื่อมีการระบาดย่อยหลายๆครั้งจะเกิดการระบาดใหญ่
วิธีการติดต่อ
- ได้รับสารคัดหลั่งเช่น น้ำลาย อุจาระจากนกที่ติดเชื้อ
- การเคลื่อนย้ายของสัตว์ที่เป็นโรคจากเล้าหนึ่งไปยังอีกเล้าหนึ่ง
- ปนเปื้อนจากอุปกรณ์การเลี้ยงเช่น รังสำหรับวางไข่ รางอาหาร เสื้อผ้าและรองเท้าคนเลี้ยง
- ได้รับเชื้อจากนกที่อพยพ สัตว์ป่า ไก่ป่า
- น้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจาระของสัตว์ที่เป็นโรค
- แมลงจากกองขยะที่มีเชื้อโรค
- การติดต่อทางอากาศหากนกใกล้ชิดกันมาก
การระบาดของโรคไข้หวัดนกการระบาดของไข้หวัดนกไปสู่คนในแต่ละครั้งก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตคน และเศรษฐกิจอย่างมากมาย ในอรบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมามีการระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลกหลายครั้ง
- Spanish Flu ปี คศ.1918 ได้เกิดการระบาดของไข้หวัดนกซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายประมาณว่าเกิดการติดเชื้อร้อยละ20-40ของประชากรโลกและมีผู้เสียชีวิต20 ล้านคน เฉพาะในประเทศอเมริกามีผู้เสียชีวิตไป 500000 คน คนที่เป็นโรคจะมีอายุ 20-50 ปี
- Asian Flu ในปี คศ.1957 เดือนกุมภาพันธ์ได้มีการระบาดของไข้หวัดนกที่ทางตะวันออกไกล การระบาดครั้งนี้มีความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรกเนื่องจากมีความรู้เพิ่มขึ้น และสามารถผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน และหยุดระบาดเดือนธันวาคม แต่มีการระบาดเล็กน้อยอีกในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ในปี 1958
- Hong Kong Flu ปี 1968 เริ่มต้นระบาดที่ฮ่องกง และลามเข้าอเมริกาทำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่ความเสียหายไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากเชื้อตัวนี้มีลักษณะคล้าย Asian Flu ประชากรมีภูมิคุ้มกันบางส่วนหลงเหลืออยู่ และมีการดูแลรวมทั้งยาปฏิชีวนะที่ดี
- Swine Flu Scare ปี คศ.1976 ได้มีการค้นพบเชื้อไวรัสชนิดใหม่ที่เมือง Fort Dix ผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าจะเกิดการระบาดใหญ่และเกิดความเสียหายเหมือน Spanish Flu แต่เชื้อก็ไม่ได้ระบาดออกนอกเมือง
- Russian Flu Scare ปี คศ.1977 ได้มีการระบาดของเชื้อ influenza A/H1N1 เกิดการกระจายไปทั่วโลกเป็นมากในคนอายุน้อยกว่า 23 ปีเนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่า 23 ปีมักจะมีภูมิต่อเชื้อไวรัสAsian Flu
- Avian Flu Scare ปี คศ.1997เกิดการระบาดของไข้หวัดนก avian A/H5N1 flu virus ทำให้มีคนติดเชื้อ 18 คนเสียชีวิต 6 คนติดเชื้อนี้จากไก่ แทนที่จะติดจากหมูเหมือนอดีต ยังไม่มีรายงานว่าคนติดจากคน
- ปี 1983 ได้มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธ์ H5 ทำให้มีสัตว์ตาย 17 ล้านตัว
- ปี 1997 ได้มีการระบาดไข้หวัดนกสายพันธ์ H5N1สู่คนที่ประเมศฮ่องกงทำให้มีคนเสียชีวิตไป 6 คนและป่วย 18 คนและสัตว์ตายไป 1.5 ล้านตัว
- ปี 1999 ได้มีการระบาดไข้หวัดนกสายพันธ์H7N1 ที่ประเทศอิตาลีได้มีการทำลายไก่งวงไป 30000ตัว
- ปี1998 ได้มีการระบาดไข้หวัดนกสายพันธ์H5N2
- เดือนกุมภาพันธ์ปี 2003 ได้มีการระบาดไข้หวัดนกสายพันธ์H5N1 ที่ฮ่องกง และมีรายงานเป็นครั้งแรกว่าคนติดเชื้อไข้หวัดนกโดยการติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน และมีผู้เสียชีวิต 1 คน
- ปี2003ได้มีการระบาดที่ประเทศฮอลแลนด์เป็นเชื้อสายพันธ์ H7N7มีนกตายไป 28 ล้านตัว และมีคนติดเชื้อไขหวัดนก 83 คนเสียชีวิต 1 คน
- เดือนธันวาคมปี2003 ได้มีการระบาดที่ประเทศเกาหลีใต้ สัตว์เสียชีวิตไป 1.8 ล้านตัว
- เดือนมกราคม 2004ได้มีการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธ์ H5N1 ได้มีการทำลายสัตว์ไป70000 ตัวเด็กติดเชื้อ 13 คน ผู้ใหญ่ติดเชื้อ 1 คน มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 12 คนเป็นผู้ใหญ่ 1 คนและเด็ก 11 คนผู้เสียชีวติ 3 คนมีเชื้อไข้หวัดนก ผู้ป่วย 5 คนเป็นญาติกับผู้ที่เสียชีวิต ความกังวลของ WHO เชื้อนี้จะมีการกลายพันธ์สูง และได้รับพันธุกรรมจากเชื้อไข้หวัดที่เกิดในคน องค์การอนามัยโลกเกรงว่าหากควบคุมไม่ดีจะเป็นการเริ่มการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัด
- เดือนมกราคม 2004 ได้มีการระบาดที่ประเทศญี่ปุ่น
- 23 เดือนมกราคม กระทรวงสาธารณะสุขได้รายงานผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไข้หวัดนก 2 ราย(ยุติการโกหกของกรมปศุสัตว์)
ข้อที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือสัตว์ที่ไม่ตายจะยังคงแพร่เชื้อโรคอีก 10 วัน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการกำจัดแหล่งที่มีการระบาดของเชื้อโรคอย่างรวดเร็วจะป้องกันการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสสายพันธ์ฬหญ่เพราะจากสถิติพบว่าทุก100 ปีจะมีการระบาด 3-4 ครั้งวิธีป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกมีขั้นตอนดังนี้
- ต้องกำจัดแหล่งติดเชื้ออย่างรีบด่วน
- คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่นคนงานที่ทำในฟาร์ม์ ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดเพื่อป้องกันไม่ให้ไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่มาเกิดในคนเคียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการกลายพันธ์
- คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อต้องได้รับประทานยาต้านไวรัส
อาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนก
เนื่องจากยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากทำให้ยังมีความรู้เรื่องนี้น้อย ผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ไอ ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจหอบเนื่องจากมีอาการปอดบวม
ไข้หวัดนกกับอาวุธทางชีวภาพ
มีการหวาดกลัวจะนำเชื้อไข้หวัดนกมาใช้ทำอาวุธสงครามเพราะ
- เชื้อนี้ติดต่อง่าย
- อัตราการตายสูง
- ทำให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก เพราะทำให้สัตว์ตายมาก ป้องกันหรือควบคุมลำบาก เนื้อสัตว์แพงขึ้น
- เชื้อมีการกลายพันธ์สูง ตัวอย่างที่ฮ่องกงเชื้อสามารถติดต่อสู่คน
อาการแสดงของสัตว์ที่ติดเชื้อ- ระยะพักตัว 3-7 วัน
- อาการที่สำคัญ
- ในรายที่ได้รับเชื้อชนิดรุนแรงจะตายเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเตือน
- สัตว์จะซึม ขนจะยับและยุ่ง
- เบื่ออาหาร
- ไข่ลดลง อาจจะออกไข่โดยที่ไม่มีเปลือกไข่ ต่อมาจะไม่ไข่
- คอและเท้าจะบวม
- เหนียงและหงอนจะบวมและเขียว
- มีจุดเลือดออก
- หิวน้ำ
- ท้องร่วงแรกๆจะสีเขียวต่อมาถ่ายเหลวสีขาว
- เลือดออกที่ข้อเท้าและขา
- น้ำมูกและน้ำตาไหล
- ไอจาม
- ทรงตัวไม่อยู่ เดินเซ ต่อมาหัวจะตกติดพื้น
- อัมพาต
- อัตราการตาย
- 100%
- อาจจะตายก่อนเกิดอาการ หรือหลังเกิดอาการแล้ว 1 สัปดาห์ส่วนใหญ่ตายใน 48 ชั่วโมง
ผลการตรวจสัตว์ที่ตาย- สำหรับนกที่อายุน้อยอาจจะตรวจไม่พบความผิดปกติ
- กล้ามเนื้อจะมีเลือดคั่งมาก
- เยื่อบุตาจะบวมและมีจุดเลือดออก
- มีเสมหะจำนวนมากในหลอดลม
- หลอดลมจะมีเลือดออก
- มีจุดเลือดออกในช่องท่อง
- ไตบวม
- เลือดออกในกระเพาะ ลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง
- เลือดออกในรังไข่
การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัย
สัตว์ที่ตายให้นำเอาอวัยวะส่วน สมอง ม้าม ปอด หลอดลม ตับอ่อน ถุงลม ส่งตรวจสัตว์ที่มีชีวิต
- นำสารคัดหลังเช่น เสมหะ อุจาระ
- เจาะเลือดตรวจ
การฉีดวัคซีนได้มีการทดลองใช้วัคซีนฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในไก่และไก่งวงพบว่าสามารถลดอัตราการตายและการติดเชื้อ แต่ข้อเสียของวัคซีนคืออาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในนกบางประเภทและไม่สามารถป้องกันไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่น ทำให้สัตว์นั้นไม่เป็นโรคแต่จะเป็นพาหะของโรคทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก
การรักษายังไม่มียาที่ใช้รักษา
การป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์ม์ไก่
- ป้องกันฟาร์ม์จากสัตว์ป่า เช่นนกเป็ดน้ำ นกน้ำหรือนกที่อพยพจากประเทศอื่น
- อย่านำสัตว์ซึ่งยังไม่ได้ตรวจหรือกักโรคเข้าฟาร์ม์
- สำหรับผู้ดูแลฟาร์ม์ต้องใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม เช่น เสื้อคลุม ถุงมือ หน้ากากอนามัย หมวก และการทำความสะอาดร่างกาย
- ทำความสะอาดและทำให้ฟาร์ม์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
- ใช้ระบบ all-in/all-out production system
- ไม่ควรใช้แหล่งน้ำธรรมชาติเพราะอาจจะปนเปื้อนเชื้อโรคจากสัตว์ป่า
- ควรจำกัดการเข้าออกของรถ
- ควรทำความสะอาดรถและอุปกรณ์ก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม์
- อย่างใช้รถ หรืออุกรณ์การเลี้ยงร่วมกัน
- ไม่ควรไปฟาร์มอื่น ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนชุด ทำความสะอาดร่างกายใส่รองเท้าก่อนเข้าฟาร์ม์
- อย่าน้ำนกหรือสัตว์ปีกเข้าฟาร์ม
การควบคุมตลาดค้าสัตว์ปีก- ใช้ลังพลาสติกแทนไม้เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด
- กำจัดขนและอุจาระสัตว์ให้สะอาด
- ทำความสะอาดรถและอุปกรณทุกชนิด์ก่อนเข้าฟาร์ม์
- ทำความสะอาดตลาดทุกวัน
- ไม่นำสัตว์ที่ขายไม่หมดเข้าฟาร์ม
- แยกสัตว์ที่มาใหม่จากสัตว์ที่ขายไม่หมด
การควบคุมการระบาด- ทำลายสัตว์ที่สงสัยว่าจะติดโรค
- ทำความสะอาดรถ และอุปกรณ์ที่สัมผัสสัตว์ที่ป่วย
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
- หลังจากทำลายสัตว์และทำความสะอาดฟาร์ม์แล้วอย่างน้อย 21 วันจึงจะเริ่มเลี้ยงใหม่
การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก- รักษาร่างกายให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย ผักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
- เมื่อไม่สบายไม่ควรจะเข้าที่ชุมชนหรือที่อากาศไม่ถ่ายเท
- ไม่สัมผัสกับสัตว์ปีกที่มีชีวิต
- ล้างมือหลังสัมผัสสัตว์
- เด็กไม่ควรจะสัมผัสกับไก่หรือนก
การป้องกันเชื้อไข้หวัดนกกลายพันธุ์โดยปกติเชื้อไข้หวัดนกจะติดเฉพาะสัตว์ปีกจนกระทั่งในปี คศ.1997 ได้มีการระบาดของไข้หวัดนกกับไก่ในฮ่องกง และมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 18 คนและเสียชีวิต 6 คน ทำให้ผู้เชื่ยวชาญเกี่ยวกับไข้หวัดเชื่อว่าจะมีการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกทั่วโลกในเร็ววันนี้ จึงได้มีคำแนะนำเพื่อป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก
- การกำจัดแหล่งแพร่เชื้อโรคอย่างเร่งด่วนเพื่อกำจัดเชื้อโรค และป้องกันการกลายพันธุ์ุ์
- สำหรับคนเลี้ยงไก่ให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันมิให้คนเลี้ยงได้รับเชื้อไข้หวัดไก่และไข้หวัดนกซึ่งจะทำให้เชื้อเกิดการกลายพันธุ์
- คนเลี้ยงต้องสวมใส่เครื่องป้องกันการติดเชื้อ
- คนเลี้ยงต้องได้รับยาต้านไวรัส
คำแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์ปีก
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
19 มกราคม 2547
จากสถานการณ์การระบาดของโรคในไก่ในขณะนี้ กรมปศุสัตว์ได้เข้าดำเนินการตรวจสอบและควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดอย่างใกล้ชิดแล้ว รวมทั้งห้ามไม่ให้มีการนำไก่ที่ป่วยหรือตายออกจำหน่ายในท้องตลาดอย่างเด็ดขาด ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคในคนอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยเฉพาะโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ในขณะนี้ยังไม่พบการเจ็บป่วยที่อาจติดต่อมาจากสัตว์แต่อย่างใดจากสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าประชาชนทั่วไปจะมีความเสี่ยงน้อยต่อการติดโรค จึงไม่ควรตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด กรมควบคุมโรคขอแนะนำ ดังนี้
ผู้บริโภคไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่
1. เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้งเนื้อไก่และไข่ไก่ โดยทั่วไปจึงควรรับประทานเนื้อที่ปรุงให้สุกเท่านั้น เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ จะถูกทำลายไปด้วยความร้อน
2. เนื้อไก่ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดในขณะนี้ ถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องรับประทานเนื้อไก่สุกเท่านั้น งดการประทานเนื้อไก่กึ่งสุกกึ่งดิบ สำหรับไก่ที่ประชาชนเตรียมไว้ใช้ในพิธีเซ่นไหว้ในช่วงตรุษจีนที่จะถึงนี้ เนื่องจากมักนิยมต้มแบบไม่ให้สุกมากนัก ดังนั้นก่อนจะนำมารับประทาน จึงควรนำมาปรุงให้สุกอีกครั้งหนึ่ง 3. สำหรับไข่ไก่ ควรเลือกฟองที่สดใหม่และไม่มีมูลไก่ติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด และปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่
เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ รวมทั้งผู้เลี้ยงสัตว์ และผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการะบาด เป็นกลุ่มประชาชนที่เสี่ยงต่อการติดโรคจากสัตว์ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังนี้ 1. เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ ต้องป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งนก เข้ามาให้โรงเรือน เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามา นอกจากนั้นจะต้องรักษาความสะอาดในโรงเรือนให้ดีอยู่เสมอ และหากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที ต้องไม่นำไก่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่าย และทำการกำจัดทิ้งตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อมาสู่สัตว์หรือคน 2. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์หรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการระบาด ไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจับต้องสัตว์ป่วย หรือซากสัตว์ที่ตาย 3. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ เสื้อผ้าชุดเดิม พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง4. ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดี โดยการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน รวมทั้งผักและผลไม้ งดบุหรี่และสุรา นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นพอในช่วงอากาศเย็น5. หากมีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ เป็นต้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งแพทย์ด้วยว่าทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ : โทร. 0-2590-3333 และ โทร. 0-2590-3194 คำแนะนำความรู้เรื่องไข้หวัดนกของกรมควบคุมโรคติดต่อ
คำแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก
กระทรวงสาธารณสุข 23 มกราคม 2547
จากสถานการณ์การระบาดของโรคในไก่รวมถึงไข้หวัดนก (Avian influenza) ในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคในคนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และได้ประสานงานกับกรมปศุสัตว์ ซึ่งเข้าดำเนินการควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดทุกแห่งแล้ว รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการนำไก่ป่วยหรือตายออกจำหน่ายในท้องตลาดอย่างเด็ดขาด ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปมีความเสี่ยงน้อยต่อการติดโรค การรับประทานไก่และไข่ที่ปรุงสุกไม่ทำให้ติดโรค จึงไม่ควรตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุขขอแนะนำความรู้เรื่องโรคและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่อของสัตว์ประเภทนก ตามปกติโรคนี้ติดต่อมายังคนได้ไม่ง่ายนัก แต่คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นโรคอาจติดเชื้อได้ มีรายงานการเกิดโรคในคนเป็นครั้งแรกในปี 2540 เมื่อเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีกในฮ่องกง โรคไข้หวัดนกเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ ที่พบในนก ซึ่งเป็นแหล่งรังโรคในธรรมชาติ โรคอาจแพร่มายังสัตว์ปีกในฟาร์ม คนติดโรคได้โดยการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย เชื้อที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และมูลของสัตว์ป่วย อาจติดมากับมือ และเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของจมูกและตา ทำให้เกิดโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีระยะฟักตัว 1 ถึง 3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ ผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจมีภูมิคุ้มกันไม่ดี และมีอาการรุนแรงได้ โดยจะมีอาการหอบ หายใจลำบาก เนื่องจากปอดอักเสบรุนแรง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในฟาร์มสัตว์ปีก ผู้ที่ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีก ในพื้นที่ที่เกิดโรคไข้หวัดนกระบาด โรคไข้หวัดนกต่างจากไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ ในปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยจากการติดต่อของไข้หวัดนกจากคนสู่คน
แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก
ผู้บริโภคไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่
1. เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้งเนื้อไก่และไข่ไก่ โดยทั่วไปจึงควรรับประทานเนื้อที่ปรุงให้สุกเท่านั้น เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ จะถูกทำลายไปด้วยความร้อน
2. เนื้อไก่และไข่ไก่ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดในขณะนี้ ถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องรับประทานเนื้อไก่และไข่ที่ปรุงสุกเท่านั้น งดการประทานอาหารที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ
3. เลือกรับประทานไข่ที่ปรุงสุกอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาโรคระบาดในไก่
ผู้ประกอบอาหาร ผู้ประกอบอาหารทั้งเพื่อการจำหน่ายและแม่บ้านที่เตรียมอาหารในครัวเรือน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อจากอาหาร กระทรวงสาธารณสุขขอเน้นการป้องกัน ดังน
ี้1. ควรเลือกซื้อเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่จากแหล่งที่มีการรับรองมาตรฐาน หรือร้านค้าประจำ และเลือกซื้อไก่สดที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ เช่น มีเนื้อมีสีคล้ำ มีจุดเลือดออก เป็นต้น สำหรับไข่ ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่และไม่มีมูลไก่ติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด
2. ไม่ใช้มือที่เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา และปาก และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มีมูลสัตว์เปื้อน
3. ควรแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อไก่ และมีเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือผัก ผลไม้ โดยเฉพาะ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน
ผู้ชำแหละไก่ผู้ชำแหละไก่อาจมีความเสี่ยงจากการติดโรคจากสัตว์ จึงควรระมัดระวังขณะปฏิบัติงาน ดังนี้
1. ต้องไม่ซื้อไก่ที่มีอาการผิดปกติจากการติดเชื้อ เช่น ซึมหงอย ขนฟู หน้า หงอน หรือเหนียงบวมคล้ำ มีน้ำมูก หรือขี้ไหล เป็นต้น หรือไก่ที่ตายมาชำแหละขาย
2. ไม่ขังสัตว์ปีกจำพวก ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ ที่รอชำแหละไว้ในกรงใกล้ ๆ กัน เพราะจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เชื้อโรคกลายพันธุ์ จนอาจเกิดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เป็นอันตรายทั้งต่อคนและสัตว์ได้
3. ควรทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำผงซักฟอก และนำไปผึ่งกลางแดดจัด ๆ นอกจากนั้นอาจราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเดือนละ 1- 2 ครั้ง
4. หากสัตว์ที่ชำแหละมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีจุดเลือดออก มีน้ำหรือเลือดคั่ง หรือจุดเนื้อตายสีขาวที่เครื่องใน หรือเนื้อมีสีผิดปกติ ต้องไม่นำไปจำหน่าย และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาตรวจสอบทันที่ เพราะอาจเป็นโรคระบาด
5. ต้องล้างบริเวณชำแหละสัตว์ให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก และควรราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการชำแหละไก
่6. ผู้ชำแหละไก่ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบู๊ท และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
7. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิม พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
ผู้ขนย้ายสัตว์ปีกผู้ขนย้ายสัตว์ปีกควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ติดโรคจากสัตว์ และป้องกันการนำเชื้อจากฟาร์มหนึ่งไปยังแพร่ยังฟาร์มอื่น ๆ จึงควรเน้นการปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
1. งดซื้อสัตว์จากฟาร์มที่มีสัตว์ตายมากผิดปกติ
2. เมื่อขนส่งสัตว์เสร็จในแต่ละวัน ต้องรีบล้างทำความสะอาดรถให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก สำหรับกรงขังสัตว์ควรราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
3. ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ รองเท้าบู๊ท และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
4. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิมและเครื่องป้องกันร่างกาย ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ รวมทั้งผู้เลี้ยงสัตว์ และผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการะบาด เป็นกลุ่มประชาชนที่เสี่ยงต่อการติดโรคจากสัตว์ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
1. เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ ต้องป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งนกทุกชนิด และสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู เป็นต้น เข้ามาในโรงเรือน เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามาแพร่ให้ไก่ได้ นอกจากนั้นจะต้องรักษาความสะอาดในโรงเรือนให้ดีอยู่เสมอ และหากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที ต้องไม่นำไก่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่าย และทำการกำจัดทิ้งตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด เช่น อาจฝังให้ลึกแล้วราดน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือปูนขาว หรือนำไปเผา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อมาสู่สัตว์หรือคน
2. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์หรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการระบาด ไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบู๊ท และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจับต้องสัตว์ป่วย หรือซากสัตว์ที่ตาย
3. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ เสื้อผ้าชุดเดิม พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
การป้องกันโรคให้แก่เด็ก
1. เนื่องจากเด็กมักมีนิสัยชอบเล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงรวมทั้งไก่และนก และหากติดเชื้อไข้หวัดนกมักป่วยรุนแรง ดังนั้นในช่วงที่มีโรคระบาดในสัตว์ปีก มีสัตว์ตายมากผิดปกติ พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรระมัดระวังดูแลเด็กให้ใกล้ชิด และเตือนไม่ให้เด็กอุ้มไก่หรือนก จับต้องซากสัตว์ที่ตาย และต้องฝึกสุขนิสัยที่ดี โดยเฉพาะการล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องสัตว์
2. หากเด็กมีอาการป่วย สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว
โดยทั่วไปเมื่อได้รับการรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง เด็กจะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นภายใน 2 ถึง 7 วัน ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น มีอาการหอบ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันทีคำแนะนำทั่วไปในการรักษาสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
1. ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดี โดยการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน รวมทั้งผักและผลไม้ งดบุหรี่และสุรา นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และในช่วงอากาศเย็น ควรสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
2 หากมีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ เป็นต้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งแพทย์ด้วยว่าทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือมีประวัติสัมผัสซากสัตว์
ข้อแนะนำขั้นตอนการล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในช่วงการเกิดโรคระบาด
1. ในบริเวณที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ควรล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. กวาดหยากไย่ หรือ เศษสิ่งสกปรกที่ติดบน ฝาผนัง โคมไฟ พัดลม
3. เจ้าของแผงทำความสะอาดแผง และร่องระบายน้ำเสีย กวาดเศษขยะไปรวมทิ้งไว้ในบริเวณพักขยะ หรือในที่ที่จัดไว้ รวมทั้งกำจัดแมลงและสัตว์นำโรคที่อาศัยอยู่ในบริเวณตลาดด้วย
4. บนแผงหรือพื้นที่ที่คราบไขมันจับ ใช้น้ำผสมโซดาไปราดลงบนพื้นหรือแผง ทิ้งไว้นาน 15-30 นาที และใช้แปรงลวดถูช่วยในการขจัดคราบไขมัน ส่วนบริเวณอื่นใช้ผงซักฟอกช่วยในการล้างทำความสะอาด (โซดาไฟ ใช้ชนิด 96% ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1/2 ปีป ในบริเวณที่ไขมันจับตัวหนา และ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1/2 ปีป ในบริเวณที่ไขมันน้อย)
5. ใช้น้ำสะอาดฉีดล้างบนแผง ทางเดิน ฝาผนังและกวาดล้างลงสู่ร่องระบายน้ำเสีย เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก โซดาไฟหรือผงซักฟอกให้หมด
6. ใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีน (ใช้ผงปูนคลอรีน 60% ในอัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปีป) ใส่ลงในบัวรดน้ำ และรดบริเวณแผง ทางเดิน ร่องระบายน้ำเสียให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น ส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาวให้ใช้หัวน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้เจือจาง แล้วราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว โดยเฉพาะแผงขายสัตว์ปีก ควรฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนทุกวัน
7. บริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะ และก๊อกน้ำสาธารณะที่ใช้ในตลาด ต้องล้างทำความสะอาดโดยใช้ผงซักฟอกช่วยและล้างด้วยน้ำสะอาด
8. บริเวณที่พักขยะต้องเก็บรวบรวมขยะไปกำจัดให้หมด แล้วล้างทำความสะอาดและทำการฆ่าเชื้อ เช่นเดียวกับข้อ 6
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค : โทร. 0-2590-3333
และเว็ปไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ www.moph.go.th
แหล่งข้อมูล : กรมควบคุมโรค กรมอนามัย และกรมปศุสัตว์
การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ทำลายไก่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกจากฟาร์ม์ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดนก การสัมผัส เสมหะ น้ำลาย สารคัดหลั่ง อุจาระของสัตว์ที่เป็นโรคอาจจะทำให้คนติดเชื้อโรค จึงมีคำแนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ผู้ที่เคลื่อนย้ายหรือผู้ที่ทำลายสัตว์จะต้องมีเครื่องป้องกันการติดเชื้อดังนี้ เสื้อคลุมถึงปลายแขน,เสื้อพลาสติกกันน้ำสำหรับคลุมบนเสื้อคลุม,ถุงมือใช้แล้วทิ้งเลย,หน้ากากอนามัย(ถ้าใช้ N95 จะดีมาก)แว่นตา,รองเท้าบูท
- ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรคควรจะล้างมือบ่อยๆ สำหรับผู้ที่ทำการเคลื่อนย้ายหรือทำลายไก่ควรจะล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคหลังจากเสร็จงาน
- ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำลายไก่
- ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยหรือฟาร์ม์ที่เป็นโรคต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ที่ทำลายไก่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งไวัรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดไก่ ในการติดตามโรคต้องติดตามสมาชิกในครอบครัวด้วย ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีภูมิต่ำ อายุ 60 ปีไม่ควรทำงานในฟาร์ม
- ต้องมีการตรวจเลือดหาภูมิต่อไข้หวัดนก