ไก่ชนไทย
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   พระเครื่อง     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

เว็บบอร์ด ซื้อ-ขายไก่ชน

วัคซีนใหม่ ป้องกันโรคนิวคาสเซิล - กัมโบโร ในไก่ทั่วไป คนไทยผลิตได้แล้ว
โรคภัยไข้เจ็บของไก่นั้นมีมากมาย เราจะเห็นได้ว่า บางทีเห็นไก่หงอยเหงา เจ็บป่วยไม่กี่วันก็ตาย เป็นเพราะไก่ได้รับเชื้อโรคที่ร้ายแรงมากทำให้ทนไม่ไหวเกิดล้มตายไปได้อย่างรวดเร็ว
วัคซีนที่ป้องกันโรค นิวคาสเซิล และโรคกัมโบโร ชนิดใหม่ดังกล่าวนี้ มีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด คือ
1. วัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อเป็น (La Sota strain) ( Live Newcastle Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่
2. วัคซีนกัมโบโรเชื้อเป็น (Cu 1 M strain) ( Live Gumboro Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนป้องกันโรคกัมโบโรในไก่
3. วัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อตาย ( La Sota strain ) ( Killed Newcastle Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีสื่อเป็นน้ำมัน ใช้ป้องกัน โรคนิวคาสเซิลในไก่
4. วัคซีนกัมโบโรเชื้อตาย ( Cu 1 M ) ( Killed Gumboro Disease Vaccine )
สรรพคุณ เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีสื่อเป็นน้ำมัน ใช้ป้องกัน โรคกัมโบโรในไก่

สำหรับวัคซีนทุกชนิดที่ผลิตขึ้นมาเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานของ USDA, OIE, European Pharmacopoeia หรือ NIASเนื่องจากขบวนการผลิตวัคซีนเป็นไปตามแบบครบวงจร นับตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ ซึ้งก็ได้แก่ ไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อโรคตามระบุ (SPF ) ซึ่งใช้ผลิต วัคซีนสัตว์ปีกภายในสภาวะห้องปลอดเชื้อ ( cleanroom ) ที่ได้มาตรฐานตามกฎเกณฑ์ของ GMP พร้อมด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์อันทันสมัย ในระบบปิด ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่า วัคซีนชนิดนี้จะต้องมีความบริสุทธิ์เป็นที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์แน่นอน พร้อมกันนั้นก็จะต้านไวรัสตามมาตรฐานอีกด้วย สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล สเตรน โซต้า สามารถกระตุ้นให้ไก่สร้างความคุ้มกันโรคได้เร็ว มีการผลิตทั้งชนิดเชื้อเป็นและชนิดเชื้อตาย โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็นสามารถเอามาใช้ได้หลายวิธี เป็นต้นว่า ใช้หยอดตา หยอดจมูก หรือละลายกับน้ำดื่มก็ได้ รวมทั้งพ่นเป็นระอองฝอยก็ได้ด้วย ส่วนวัคซีนกัมโบโร นับว่าเป็นวัคซีนชนิดใหม่ที่กรมปศุสัตว์นำมาผลิต ซึ่งได้เลือกซื้อไวรัสกัมโบโรสเตรน ชนิดรุนแรงปานกลาง ชื่อ ซียูวันเอ็มมาใช้ มีการผ่านขั้นตอนเพื่อทำให้เชื้ออ่อนกำลังไม่ทำอันตรายกับไก่ และสามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคภายใน 7 วันเชื้อไวรัสจะเข้าสู่ระบบภูมิคุ้มกันโรคเฉพาะ ที่ต่อมเบอร์ซ่าก่อน จากนั้นร่างกายจึงจะเกิดภูมิต้านทานในกระแสเลือด ในการใช้วัคซีนกัมโบโร และนิวคาสเซิลชนิดเชื้อตายที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน จะต้องใช้กับไก่อายุ 18-22 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะก่อนไข่ ภายหลังการฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกายจะสร้างความต้านทานในกระแสเลือดอย่างช้าๆ แต่ความคุ้มกันโรคจะอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้จึงมักให้วัคซีนเชื้อตายภายหลังการฉีดวัคซีนเชื้อเป็นแล้ว เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันโรคนี้สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกไก่ได้ ซึ่งทำให้ลูกไก่มีภูมิต้านทานโรคในระยะต้นนาน 2-3 สัปดาห์

ข้อดี ข้อเสีย การใช้วัคซีน ป้องกันโรคระบาดไก่
วัคซีนมีผลดี ผลร้ายอย่างไรกับไก่ป่วย
วัคซีนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าใช้ถูกวิธีมีผลดี ถ้าใช้ผิดวิธีก็มีผลร้ายต่อไก่ เช่น ขณะไก่ไม่สบาย ไก่กำลังป่วย ห้ามทำการรักษาโดยใช้วัคซีนฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แทนที่จะเป็นการรักษาไก่กลับเป็นการไปเพิ่มโรค เร่งให้ไก่ตายเร็วขึ้น เป้นผลเสียไม่ควรฉีดวัคซีน ขณะไก่ป่วย จะเกิดด้วยโรคใดก็ตาม"วัคซีนถือเป็นข้อห้าม"
ข้อดี ข้อเสียของวัคซีน
ข้อดีการใช้วัคซีน

วัคซีนเป็นยาน้ำ ที่ออกฤทธิ์ไวชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณทางยามากใช้รักษา ป้องกันโรคสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงได้ดีทุกประเภท
ข้อเสีย
จะเห็นได้ว่าบางครั้งใช้รักษา-ป้องกันโรคสัตว์ปีก ไม่ได้ผลอาการเจ็บป่วยของโรคไม่ทุเลา สาเหตุใหญ่มาจากวัคซีนเสื่อม ด้อยคุณภาพ

ข้อ 1. เกิดจากการเก็บรักษาตัวยาไม่ดี หรือเก็บไว้นานหมดอายุการใช้งาน การนำมาใช้จึงไม่ได้ผล
ข้อ 2. การเก็บรักษานานๆ มีโอกาสเสื่อมคุณภาพทางยาสูงนั้น อาจเกิดจากแหล่งต้นผลิตที่ขณะเก็บรักษาเครื่องทำความเย็น อุณหภูมิต่ำเกิดการเสีย ไฟดับไปชั่วขณะ หรือทั้งวันทั้งคืน หรือไฟดับไปนานๆ วัคซีนก็มีโอกาสเสีย เสื่อมคุณภาพลง เมื่อเอาไปรักษาก็ไม่ได้ผล รักษาไม่หายเป็นต้น
ข้อ 3. วัคซีนอาจเสื่อมค่าลงในระหว่างเดินทางกลับหรือเก็บรักษาไว้ไม่ดีพอ เครื่องทำความเย็นมีปัญหา ฤทธิ์ยาก็เสื่อมค่า หรือด้อยคุณภาพ ใช้ทำการรักษา-ป้องกันโรคอะไรไม่ได้เลย
ข้อ 4. บางครั้งจำพวกร้านค้าที่เห็นแก่ได้ ทั้งที่รู้ว่าเสื่อมหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว แต่ยังเอามาหลอกขาย การป้องกัน-รักษาโรคจึงไม่ได้ผลตามข้อมูลดังกล่าว
ข้อควรทราบ และข้อควรปฏิบัติ ก่อนการใช้วัคซีน
1. ทำวัคซีนให้แก่ สัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงและไม่เป็นโรคเท่านั้น
2. ศึกษารายละเอียดการเก็บรักษา และการทำวัคซีนตามคำแนะนำเฉพาะของวัคซีน
3. ใช้วัคซีนตามคำแนะนำของสัตวแพท์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดโรคระบาดในบริเวณใกล้เคียง
4. วัคซีนสามารถใช้จนถึงวันหมดอายุ ที่ระบุไว้ข้างขวด
5. อย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงแดด และต้องให้วัคซีนครบตามขนาดที่กำหนดไว้
6. หลังให้วัคซีนแก่สัตว์ที่กำลังจะนำไปส่งโรงฆ่า ควรเว้นช่วงเวลาตามคำแนะนำของวัคซีนแต่ละชนิด
7. วัคซีนที่เหลือจากการใช้ควรทิ้ง เพื่อหลีกเลี้ยงจากการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคอื่น ซึ่งจะทำให้คุรภาพวัคซีนลดลง และเป็นอันตรายในการนำไปใช้ครั้งต่อไป
8. ขวดบรรจุวัคซีน หรือภาชนะที่ใช้ในการผสมวัคซีน เมื่อใช้แล้วควรต้มหรือเผาทำลายเชื้อก่อนทิ้ง โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น
9. ต้องให้วัคซีนซ้ำ เมื่อหมดระยะความคุ้มกันโรค ของวัคซีนแต่ละชนิด
10. วัคซีนแบบที่ต้องผสมกับน้ำยาละลาย เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมงระหว่างนั้นต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง
11. สัตว์บางตัวอาจเกิดการแพ้หลังใช้วัคซีนดังนั้นควรสังเกตอาการสัตว์ภายหลังใช้วัคซีนแล้วประมาณ1ชั่วโมงถ้าเกิดอาการแพ้ให้รักษาด้วยแอตรีนาลีนหรือแอนติฮีสตามีน
12. วัคซีนที่เสื่อมคุณภาพ หมดอายุ มีการปนเปื้อน หรือสีของวัคซีนเปลี่ยนไป ห้ามนำมาใช้
13. การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่ สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้าน ยิ่งปริมาณสัตว์ที่ได้รับปริมาณมาก ระดับภูมิคุ้มโรคในหมู่ฝูงยิ่งสูง โอกาสที่จะเกิดโรคระบาดจึงมีน้อย
14. การใช้วัคซีน เพื่อสร้างระดับความคุ้มโรคในแม่พันธุ์ สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันให้ลูกในระยะแรกเกิด
15. สัตว์จะป่วยหลังจากได้รับเชื้อโรคหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย หากเชื้อโรคมีปริมาณและความรุนแรงมากอาจทำให้สัตว์เป็นโรคได้
16. ไม่ควรหวังผลจากการฉีดวัคซีน แต่เพียงอย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่งอื่น การจัดการและการสุขาภิบาลที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด
การเตรียมอุปกรณ์ก่อนทำวัคซีน
1. อุปกรณ์ในการทำวัคซีน เช่น เข็มและกระบอกฉีดยา ต้องต้มให้สะอาด ให้เดือดนาน 15 นาที ก่อนและหลังการใช้ ห้ามแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
2. วัคซีนชนิดเป็นน้ำ หรือน้ำมันพร้อมฉีดจะต้องทำความสะอาดจุกยาง และคอขวดด้วยสำลีแอลกอฮอล์ เขย่าวัคซีนให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่ต้มสะอาดแล้ว ดูดวัคซีนออกมาตามขนาดที่จะใช้
3. วัคซีนที่จะต้องผสมก่อนใช้ ต้องใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาที่ต้มสะอาดดูดน้ำยาละลายที่เตรียมไว้สำหรับฉีดวัคซีนแต่ละชนิด ฉีดเข้าไปในขวดบรรจุวัคซีนเขย่าให้เข้ากันประมาณ 2-5 นาที แล้วดูดวัคซีนออกมาตามขนาดที่จะใช้ วัคซีนที่ละลายแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่งโมง ระหว่างการใช้จะต้องเก็บวัคซีนในกระติกน้ำแข็ง สำหรับหลอดบรรจุวัคซีน และอุปกรณ์ในการทำ เมื่อใช้แล้วควรต้มทำลายเชื้อก่อนทิ้งหรือเก็บไว้ โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น
ตำแหน่งบนตัวสัตว์ที่จะใช้วัคซีนสัตว์ปีก
1. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้เข็มเบอร์ 20-21 ยาว 0.5 นิ้ว บริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกหรือกล้ามเนื้อโคนขาหลัง ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอกจะมีความปลอดภัยสูงกว่าฉีดเข้ากล้ามขาหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อขาหลังมีเส้นประสาทใหญ่พาดผ่าน
2. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ใช้เข็มเบอร์ 20-21 ยาว 0.5 นิ้ว บริเวณหลังคอ
3. หยอดตา ดึงหนังตาล่าง หยดวัคซีนด้วยหลอดหยดลงที่ตา
4. หยอดจมูก ใช้นิ้วมือปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วหยดวัคซีนที่รูอีกข้างหนึ่ง เมื่อสัตว์สูดวัคซีนแล้ว จึงปล่อยนิ้วโรคของไก่กับการป้องกัน ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่ โรคระบาดไก่ชน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com
 
เนื้อหาสาระ - วิชาการ
เริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
ไข้หวัดนกและบทความ
ตำนานไก่ชนกับพระนเรศวร
การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การเพาะพัฒนาพันธุ์ไก่ชน

ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่
ไก่ตัวเมียและแม่ไก่
การดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
การฟักไข่

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
อาหารที่ดีของไก่ชน
การเลี้ยงลูกไก่ชน
การดูแลลูกไก่ชน
การผสมไก่ให้ได้ผล
การเลี้ยงไก่ให้ได้ผล
เทคนิคการฝึกไก่ชน
วิธีเลี้ยงไก่สำหรับชน
ข้อควรทำในการเลี้ยงไก่ชน
โรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก - น.สพ.วีระชัย
ไข้หวัดนก-ในใจ
ทำไมต้องใช้วัคซีน
"แอ๊ด" โวยโดนปิดบ่อนไก่ชน
"แอ๊ด" บุกทำเนียบป้องไก่ชน
เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน
การดูลักษณะไก่ชน
สารพันทางเทคนิค
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่ามีดีอย่างไร
การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
การเลี้ยงไก่ออกชน
การเปรียบไก่
การดูบาดแผลและการแก้ไข
การดูแลไก่ชน หลังชนมา
ลักษณะไก่เก่งตอนเล็ก
เทคนิคเซียน
สีของไก่ชน
แม่ไม้เชิงไก่
เกล็ดและแข้ง
นิ้วงามตามตำรา
เกล็ดนั้นสำคัญไฉน
ลักษณะไก่ที่ใช้ไม่ได้
การดูการวางแข้ง
การดูแผลตี
ทีเด็ดลูกตี
เลือกซื้อไก่หนุ่ม(มือใหม่)
เลี้ยงปล้ำให้เจ๋งเพื่อชนะ
เทคนิคการวางไก่
เทคนิคเซียนไก่
รู้เหลี่ยมกลโกง
ยอดมือน้ำ
เรื่องโรคและการป้องกัน
เรื่องของสมุนไพร
สารพันสาระน่ารู้
โรคระบาดไก่ชน
วัคซีนฝีมือคนไทย
ข้อปฏิบัตให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน
โรคของไก่กับการป้องกัน
หมอไก่
เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน
สมุนไพรและสรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าแตงกวาน้ำผึ้ง
รูปภาพสมุนไพร
การพัฒนาพันธุ์ไก่ชน
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่า
เรื่องของไก่แพ้
การดูแลไก่หลังชน
รู้เหลี่ยมกลโกง