ไก่ชนไทย
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   พระเครื่อง     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

เว็บบอร์ด ซื้อ-ขายไก่ชน

 การผสมพันธุ์ไก่ชนให้ได้ผล  การฟักไข่  การดูแลลูกไก่   ไก่ตัวเมีย-แม่ไก  
การปฏิบัติดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
แม่ไก่ที่อยู่ในระหว่างการฟักไข่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเป็นอย่างดี แม่ไก่บางตัวตั้งใจฟักไข่ไม่ค่อยลงมาหาอาหารกินทำให้ร่างกายซูบผอม จะต้องวางอาหารและน้ำเอาไว้ใกล้ๆกับรังฟัก ควรดูแลไข่และลูกไก่ให้ใกล้ชิดอีกด้วย ควรปฏิบัติดังนี้
1. ขณะที่แม่ไก่กำลังไข่ ไม่ควรที่จะให้วัคซีนหรือยาใดๆทั้งสิ้น ถ้าจะให้ควรให้ก่อนแม่ไก่จะไข่ ถ้าให้ในระหว่างแม่ไก่กำลังไข่ อาจจะทำให้หยุดไข่ได้
2. ถ้าแม่ไก่ออกไข่มากจนเกินไป ควรแบ่งไข่ออกไปกินบ้าง ถ้ามากเกินไปอัตราการฟักออกเป็นตัวจะน้อยมากแม่ไก่หนึ่งตัวควรฟักไข่ไม่เกิน 12 ฟอง
3. ควรจะต้องมั่นส่องไข่ เพื่อให้แม่ไก่ฟักเฉพาะไข่ที่มีเชื้อ ถ้าไม่มีเชื้อก็คัดออกมา ถ้าให้ฟักไปไข่ก็เสียเปล่าๆ
4. เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วควรแยกลูกไก่ไปเลี้ยงในคอกอนุบาล ปล่อยให้แม่ไก่ได้ฟื้นตัวเร็วๆ จะได้ไข่ใหม่เร็วๆเพราะแม่ไก่ไม่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกเล็กๆร่างกายไม่โทรมได้พักฟื้นเต็มที่ ร่างกายแข็งแรงทำให้สามารถผสมพันธุ์และไข่ได้เร็ว
5. ระยะกกลูกไก่ควรใช้หัวอาหารอาหารสำเร็จรูปแล้วค่อยๆเติมอาหารธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงสัปดาห์ที่3 จึงปล่อยไก่ลงเลี้ยงแบบพื้นบ้านได้
6. ระยะกกลูกไก่ 3 สัปดาห์ ให้ผู้เลี้ยงทำวัคซีนได้ ถึง 4 ครั้ง
7. ลูกไก่ระยะกก ควรดุแลให้ความอบอุ่น เช่น น้ำ อาหาร อย่าให้ขาด ควรดูแลและเติมตลอดเวลา
8. รังไข่ควรมีจำนวนพอกับแม่ไก่ถ้าน้อยเกินไปจะเกิดปัญหาแม่ไก่แย่งรังไข่กันแม่ไก่ 5 ตัวควรมีรังไข่ 5 รังม่ควรมากกว่านี้ แม่ไก่บางตัวอาจไข่ทีเดียวสองรัง
9. คอกไก่ ควรทำความสะอาดเสมอ ควรพ่นยากำจัดไรที่พื้นคอกเดือนละครั้ง เพื่อไม่ให้ไรรบกวนไก่ที่อยู่ในคอก นอกจากจะรำคาญแล้วยังทำให้ไก่เจ็บป่วยได้ง่าย
10. แม่ไก่ที่ไข่และฟักเกิน 4 รุ่น ควรคัดออก ใช้แม่ไก่ใหม่แทน ที่คัดออกเพราะแม่ไก่แก่เกินไป ผลผลิตที่ได้ไม่เท่าแม่ไก่รุ่นใหม่ๆ


การเลี้ยงลูกไก่อ่อน
          เมื่อลูกไก่ออกจากไข่สามารถเดินได้แล้ว ลูกไก่อยู่ในช่วงอายุ 1-7 วัน ช่วงนี้ลูกไก่ยังอ่อนแอ และเป็นช่วงที่อันตรายมาก ไม่ควรให้แม่ไก่นำลูกออกมาเดินคุ้ยเขี่ยอาหาร ต้องกักขังแม่ไก่เอาไว้ แยกลูกไก่เอาไว้ในคอกอนุบาล ลูกไก่ที่แยกออกมานี้ต้องเลี้ยงและเอาใจใส่เป็นพิเศษให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่ด้วยการกก ทำได้หลายวิธี วิธีง่ายๆคือ นำสุ่มมาครอบลูกไก่เอาไว้ เอาผ้าคุลมบนสุ่มและรอบๆสุ่มเอาไว้ กลางคืนจุดตะเกียงน้ำมันก๊าดวางไว้ใกล้ๆหรือจะใช้หลอดไฟขนาด 60-100 แรงเทียน ห้อยเอาไว้เหนือสุ่ม หรือใช้โคมไฟอ่านหนังสือตั้งไว้ข้างนอก เปิดไฟส่องไปในสุ่มไก่ให้ถูกตัวลูกไก่อุณหภูมิเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าอุณหภูมิปกติ พอเหมาะ ลูกไก่จะกระจายวิ่งเล่น กินน้ำกินอาหาร ภายในสุ่มต้องปูพื้นด้วยแกลบ ขี้เลื่อย ฟางสับ ปูให้หนาประมาณ 5 เซนติเมตร เกลี่ยเรียบให้ทั่ว รางน้ำและอาหารต้องจัดเอาไว้เพื่อให้ลูกไก่หัดกิน ลูกไก่บางตัวกินน้ำไม่เป็น ควรจับปากลูกไก่จุ่มลงในน้ำ รางอาหาร ใส่รำละเอียด ควรใช้ถาดตื้นๆ กว้างๆ ให้อาหารทีละน้อยๆก่อน เพื่อให้ลูกไก่หัดจิกกิน ควรระวังอย่าให้ลมโกรกลูกไก่ในกรณีที่เลี้ยงไก่เอาไว้ไม่กี่แม่อาจให้แม่ไก่กกลูกเองก็ได้ เมื่อลูกไก่ออกจากไข่หมดแล้ว ให้ย้ายทั้งแม่และลูกไก่ลงมาขังรวมกันในสุ่ม ครอบเอาไว้ทั้งแม่และลูกประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้ลูกไก่แข็งแรงดี ช่วงนี้ควรให้อาหาร เช่น รำ ปลายข้าว น้ำสะอาด ตั้งไว้ในสุ่มตลอดเวลา เมื่อได้ประมาณ 2 อาทิตย์ ให้ปล่อยแม่ไก่พาลูกไปหาอาหารกินตามธรรมชาติ อย่าปล่อยไก่ออกไปในตอนเช้านัก นอกจากจะเกิดอันตรายแล้วยังทำให้ลูกไก่เป็นหวัดไม่สบาย ต้องรอให้น้ำค้างแห้งเสียก่อนค่อยปล่อยออกไป นั่นหมายความว่าแดดออกแล้วนั่นเองแสงแดดอุ่นๆทำให้ลูกไก่รู้สึกสบายตัวมาก ควรปล่อยแม่และลูกไก่ไปในที่ลานกว้างๆกลางแจ้งมีแสงแดดส่องทั่วถึง ถ้าเป็นลานหญ้าได้ยิ่งดี เพราะลูกไก่จะได้วิ่งไล่จับแมลง เป็นการหัดหาอาหารกินเองตามธรรมชาติและออกกำลังกายไปในตัวด้วย
การให้อาหารอีกวิธีหนึ่งก็คือ หาปลวกมากกะเทาะให้ลูกไก่กิน จะทำให้ลูกไก่โตเร็วมาก เพราะปลวกมีโปรตีนสูง กินง่ายลูกไก่จะชอบมากกลางคืนควรให้ลูกไก่นอนตามความชอบ แต่ต้องนอนตามคอนเตี้ยๆ อย่าให้นอนที่ลานเด็ดขาดจะทำให้เสียสุขภาพ ถ้าเป็นไปได้กลางคืนควรเอาใส่สุ่มเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ต่างๆ อาจจะหาไม้มาเสียบตามช่องสุ่มเพื่อเป็นคอนให้ไก่เกาะนอนในเวลากลางคืน


การให้อาหารลูกไก่
การให้อาหารลูกไก่สำคัญมาก เพราะลูกไก่ต่างอายุกัน ย่อมมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน วิธีให้อาหาร คือ
1. ลูกไก่อายุ 1 วัน เมื่อเอาลงมาจากรังไข่ ยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกไก่มีอาหารสำรองอยู่ในกระเพาะแล้ว ควรให้กินแต่น้ำสะอาด กวาดทรายเม็ดเล็กๆ ตั้งไว้เพื่อให้ลูกไก่หัดจิกกิน
2. ลูกไก่อายุ 2-7 วันควรให้กินปลายข้าวผสมกับหัวอาหาร ให้ทั้งเช้าและเย็น แต่ควรให้กินครั้งละน้อยๆเท่าที่ลูกไก่กินหมดภายใน 3-5นาทีเท่านั้นตั้งน้ำสะอาจ กวาดทรายเล็กๆ ตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา
3. ลูกไก่อายุ 2 อาทิตย์ ช่วงนี้ลูกไก่สามารถหาอาหารอย่างอื่นกินได้บ้างแล้ว แต่ก็ควรให้ปลายข้าวผสมหัวอาหาร อาหารหยาบ เช่น รำละเอียดผสมกับปลายข้าว กากถั่ว ข้าวโพดบด ปลาป่น กระดูกป่น เปลือกหอยป่น โดยผสมตามสูตรดังนี้กระดูกป่น 0.1 กิโลกรัม เปลือกหอยป่น 0.2 กิโลกรัม อาจผสมเกลือแกงลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ผสม พรีมิกซ์ไวตามินลงไปด้วยสักเล็กน้อยควรหาเศษผัก หรือหญ้าสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โปรยให้ไก่กินวันละ 1-2 ครั้ง ที่สำคัญมากที่สุดก็คือน้ำสะอาดต้องมีตลอดเวลา คอยมั่นทำความสะอาดบริเวณที่นอนของลูกไก่ อย่าให้สกปรก หมักหมม ควรให้ลูกไก่ถูกแสงแดดบ้างทั้งเช้าและเย็น
4. ลูกไก่อายุย่างเข้า 3-6 อาทิตย์ ลูกไก่ที่อยู่ในระยะนี้ขนจะขึ้นสมบูรณ์แล้ว และที่สำคัญจะเริ่มมีการจิกกัน อาหารผักสดยังคงให้เหมือนเดิม อาจจะเพิ่มกวาด ทรายให้กินเป็นอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
5. ลูกไก่อายุ 7-8 สัปดาห์ ไก่ในช่วงเวลานี้จะเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม ควรแยกตัวผู้ และ ตัวเมียออกจากกัน ถ้าต้องการจะนำตัวผู้ไปตอนก็ควรทำเสียตอนนี้เลย ควรให้วัคซีน นิวคาสเซิลครั้งที่ 2 โดยการฉีด การเลี้ยงดูควรให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ คอยทำความสะอาดกรงหรือโรงเรือนอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นไก่จะไม่สบายตัว
6. ไก่อายุ 30-70 วัน ระยะนี้การให้อาหารง่ายมาก ควรให้กินอาหารข้าวกล้อง ข้าวเปลือกได้แล้ว วันต่อไปให้กินเฉพาะข้าวเปลือกอย่างเดียววันละครั้งในตอนบ่าย ปล่อยไว้ที่ลานซึ่งเป็นพื้นดินและพื้นหญ้า ควรปล่อยให้หาอาหารเองตามธรรมชาติ ควรเสริมอาหารเมื้อเช้าและเมื้อเที่ยงให้ด้วยมื้อเช้าให้จำพวกผัก เนื้อสัตว์ตอนเที่ยงควรเป็นข้าวสารมื้อเย็นเป็นข้าวเปลือกเมื่อย่างเข้าฤดูร้อนและฤดูฝนไก่มักขาดสารอาหารควรให้อาหารเสริม เช่น ใบกระถินโดยนำไปตากแห้ง แล้วนำไปแช่ลงในน้ำสะอาด 1 วัน เพื่อลดสารพิษ เป็นการช่วยเสริมสารอาหารแก่ไก่เป็นอย่างดี
7. ไก่ใหญ่ อายุ 70 วัน หรือ 2.5 เดือนเป็นต้นไป ไก่อายุขนาดนี้ อยู่ในระยะที่ให้ผลผลิต คือ ไข่ไก่ เมื่อโตถึงขั้นนี้แล้วจะมีความสามารถหาอาหารตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แต่ระยะนี้ไก่ให้ผลผลิตเพื่อสืบพันธุ์ไก่จึงมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ควร ให้ปลายข้าว รำ ข้าวเปลือกเปลือกหอย กระดองปู เพื่อให้มีการเสริมธาตุ อาหารแคลเซียมยมและฟอสฟอรัส เมื่อได้มาแล้วให้นำมาทุบให้ละเอียดใส่ภาชนะตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินได้ตลอดจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของไก่


แม่ไก่เลี้ยงลูกเอง
          เมื่อลูกไก่ออกจากไข่หมดแล้วควรให้แม่ไก่เลี้ยงลูกเองโดยการย้ายทั้งแม่ไก่และลูกไก่ลงมาขังในสุ่มหรือกรงบนพื้นดินที่แห้ง ในระยะแรกควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าวหรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่กิน และมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา เมื่อลูกไก่อายุประมาณ 2 อาทิตย์ ลูกไก่แข็งแรงดีแล้วก็เปิดสุ่มออกปล่อยให้ลูกไก่ไปหากินกับแม่ไก่ได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแม่ไก่จะเลี้ยงลูกประมาณ 1-2 เดือน จึงจะแยกจากลูกเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ใหม่ หรือถ้าต้องการให้แม่ไก่เตรียมตัวไข่รุ่นต่อไปเร็วขึ้น หลังจากปล่อยให้เลี้ยงลูกได้ 2 อาทิตย์ ก็ให้แยกลูกออกจากแม่นำไปเลี้ยงในกรงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พักตัวแล้วเตรียมตัวไข่รุ่นต่อไปลูกไก่อายุ 2 อาทิตย์ที่แยกจากแม่ใหม่ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ต้องเลี้ยงในกรงต่างหากเพื่อให้ลูกไก่แข็งแรง ปราดเปรียวจนอายุได้เดือนครึ่งถึงสองเดือนจึงจะปล่อยเลี้ยงได้ ลูกไก่ระยะนี้เป็นช่วงที่ล่อแหลมมาก มักจะมีการตายมากที่สุดเจ้าของต้องดูแลเอาใสใส่อย่างใกล้ชิดเรื่องน้ำ อาหารและการป้องกันโรค ในกรณีที่มีแม่ไกเลี้ยงลูกขนาดต่าง ๆ กันหลายแม่ ควรจะมีสุ่มที่ขนาดตาถี่หรือตาห่างหลายๆ ขนาด มีอาหารและน้ำใส่ไว้ข้างในเพื่อเป็นการป้องกันไก่เล็กถูกเหยียบหรือเตะตาย เพราะไก่เล็กจะเข้าสุ่มที่มีรูเล็ก ลูกไก่รุ่นใหญ่ก็จะเข้าสุ่มที่มีตาใหญ่ ไก่รุ่นโตแล้วจะอยู่ข้างนอกเข้าไปไม่ได้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการช่วยให้ลูกไก่เล็กได้กินอาหารเต็มที่ โตเร็วขึ้นและตายน้อยลง กรณีที่เกษตรกรมีไก่รุ่น อายุ 3-4 เดือน จำนวนมาก ๆ ควรนำมาเลี้ยงขังกรงขุนให้กินอาหารเต็มที่ลัก 1 เดือน จะทำให้ไก่อ้วนขายได้ราคาดีซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.gaichon.com , www.kaichon.com
 
เนื้อหาสาระ - วิชาการ
เริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
ไข้หวัดนกและบทความ
ตำนานไก่ชนกับพระนเรศวร
การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การเพาะพัฒนาพันธุ์ไก่ชน

ไก่ตัวเมีย-แม่ไก่
ไก่ตัวเมียและแม่ไก่
การดูแลแม่ไก่ระหว่างฟักไข่
การฟักไข่

การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ชน
อาหารที่ดีของไก่ชน
การเลี้ยงลูกไก่ชน
การดูแลลูกไก่ชน
การผสมไก่ให้ได้ผล
การเลี้ยงไก่ให้ได้ผล
เทคนิคการฝึกไก่ชน
วิธีเลี้ยงไก่สำหรับชน
ข้อควรทำในการเลี้ยงไก่ชน
โรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก - น.สพ.วีระชัย
ไข้หวัดนก-ในใจ
ทำไมต้องใช้วัคซีน
"แอ๊ด" โวยโดนปิดบ่อนไก่ชน
"แอ๊ด" บุกทำเนียบป้องไก่ชน
เทคนิคการเลี้ยงไก่ชน
การดูลักษณะไก่ชน
สารพันทางเทคนิค
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่ามีดีอย่างไร
การเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อน
การเลี้ยงไก่ออกชน
การเปรียบไก่
การดูบาดแผลและการแก้ไข
การดูแลไก่ชน หลังชนมา
ลักษณะไก่เก่งตอนเล็ก
เทคนิคเซียน
สีของไก่ชน
แม่ไม้เชิงไก่
เกล็ดและแข้ง
นิ้วงามตามตำรา
เกล็ดนั้นสำคัญไฉน
ลักษณะไก่ที่ใช้ไม่ได้
การดูการวางแข้ง
การดูแผลตี
ทีเด็ดลูกตี
เลือกซื้อไก่หนุ่ม(มือใหม่)
เลี้ยงปล้ำให้เจ๋งเพื่อชนะ
เทคนิคการวางไก่
เทคนิคเซียนไก่
รู้เหลี่ยมกลโกง
ยอดมือน้ำ
เรื่องโรคและการป้องกัน
เรื่องของสมุนไพร
สารพันสาระน่ารู้
โรคระบาดไก่ชน
วัคซีนฝีมือคนไทย
ข้อปฏิบัตให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อดีข้อเสียของการใช้วัคซีน
โรคของไก่กับการป้องกัน
หมอไก่
เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน
สมุนไพรและสรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าแตงกวาน้ำผึ้ง
รูปภาพสมุนไพร
การพัฒนาพันธุ์ไก่ชน
ไก่ชนไทย
ไก่ชนพม่า
เรื่องของไก่แพ้
การดูแลไก่หลังชน
รู้เหลี่ยมกลโกง